เชียร์ 51

ข่าวเด็ด

วันเสาร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2551

การปกครองประเทศต่างๆ

วันนี้ทางผู้เขียน จะนำการปกครองของประเทศต่างๆมาให้ท่านผู้ชบรับทราบกันนะครับ มีหลากหลายแนวนะครับ





เริ่มแรกที่ประเทศทางตะวันออกกลางเลยนะครับ คือ ประเทศอิหร่าน




สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน






ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ซึ่งประกาศใช้เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) และแก้ไขเพิ่มเติมเมื่อปี พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) กำหนดให้อิหร่านเป็นสาธารณรัฐอิสลาม โดยมีโครงสร้างดังนี้ครับ


ประมุขสูงสุด (Rahbar)


ประมุขสูงสุดของอิหร่านคนปัจจุบันคือ อาลี คาเมเนอี Ayatollah Seyed Ali Khamenei (เกิดเมื่อ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2482) เป็นผู้นำสูงสุดทั้งฝ่ายศาสนาจักรและอาณาจักร ได้รับเลือกโดยสภาผู้ชำนาญการ(Assembly of Expert ประกอบด้วยสมาชิก 360 คน ซึ่งได้รับเลือกโดยตรงจากประชาชนและจากนักบวชอาวุโสในศาสนาอิสลามทั่วประเทศ)

ประธานาธิบดี (Ra'is-e Jomhoor)
เป็นตำแหน่งที่ได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนทุก ๆ 4 ปี และจะได้รับเลือกตั้งได้ไม่เกิน 2 สมัย ทำหน้าที่หัวหน้าฝ่ายบริหาร ถึงแม้ประธานาธิบดีจะได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนก็ตาม แต่อาจถูกถอดถอนจากตำแหน่งโดยประมุขสูงสุดได้ นั่นก็คือ Rahbar สามารถถอดถอน ประธานาธิบดีได้ครับ


โดยประธานาธิบดี อิหร่านคนปัจจุบันก็คือ Mahmoud Ahmadinejad ครับ

รองประธานาธิบดี
มีตำแหน่งรองประธานาธิบดี 6 คน และคณะรัฐมนตรี 20 คน ที่ได้รับความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (Majlis)
ประกอบด้วยสมาชิกที่ได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนทุก ๆ 4 ปี จำนวน 290 คน ทำหน้าที่ออกกฎหมายและควบคุมฝ่ายบริหาร


เมื่อก่อนหน้าที่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของอิหร่านจะมี Upper House คล้ายๆ สว บ้านเราหล่ะครับ แต่เปลี่ยนใหม่เป็น สภาผู้พิทักษ์ (Guardian Council) ประกอบด้วยสมาชิก 12 คน โดยประมุข สูงสุดจะแต่งตั้งจากนักบวชผู้เชี่ยวชาญทางศาสนาอิสลาม 6 คน และจากสภา Majlis 6 คน สภานี้ทำหน้าที่กลั่นกรองและให้ความเห็นชอบร่างกฎหมายที่ผ่านสภา Majlis แล้ว รวมทั้งพิจารณาว่า กฎหมายฉบับใดขัดต่อรัฐธรรมนูญและ/หรือหลักศาสนาอิสลามหรือไม่ รวมทั้งมีอำนาจตรวจสอบคุณสมบัติและให้ความเห็นชอบผู้ที่จะสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีและสมาชิกสภา Majlis ด้วย


ส่วนในฝ่ายตุลาการก็จะมี สภาตุลาการสูงสุด (Supreme Judicial Council) ทำหน้าที่ฝ่ายตุลาการตัดสินคดีต่างๆครับ


การแบ่งเขตการปกครองของอิหร่าน ประเทศอิหร่านแบ่งออกเป็น 30 จังหวัด (provinces - ostanha) แต่ละจังหวัดปกครองโดยผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งมาจากการแต่งตั้ง (استاندار: ostāndār)


ก็ผ่านไปสำหรับเรื่องของการปกครองของอิหร่านนะครับซึ่งถือได้ว่า เป็นรัฐศาสนา ครับ



ประเทศต่อไปนะครับ คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นชาติมหาอำนาจชาติหนึ่งของโลกเลย






ชื่อประเทศ ชื่อเต็ม United States of America เรียกว่า สหรัฐอเมริกา
ชื่อย่อ United States เรียกว่า สหรัฐฯ อักษรย่อ US หรือ USA
ระบอบการปกครอง สหพันธรัฐ (Federal Republic); แบบประชาธิปไตย โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขและเป็นหัวหน้ารัฐบาล (Chief Executive) ภายใต้รัฐธรรมนูญ
เมืองหลวง กรุงวอชิงตัน (Washington,D.C.)
ประทศสหรัฐก็จะมีการแบ่งการปกครอง ประกอบด้วย 50 มลรัฐและ 1 District (District of Columbia ซึ่งเป็นที่ตั้งของ กรุงวอชิงตัน) ได้แก่ Alabama, Alaska (เป็นมลรัฐที่ใหญ่ที่สุด), Arizona, Arkansas, California, Colorado, Connecticut, Delaware, District of Columbia, Florida, Georgia, Hawaii, Idaho, Illinois, Indiana, Iowa, Kansas, Kentucky, Louisiana, Maine, Maryland, Massachusetts, Michigan, Minnesota, Mississippi, Missouri, Montana, Nebraska, Nevada, New Hamshire, New Jersey, New Mexico, New York, North Carolina, North Dakota, Ohio, Oklahoma, Oregon, Pennsylvania, Rhode Island (เป็นมลรัฐที่เล็กที่สุด), South Carolina, South Dakota, Tennessee, Texas, Utah, Vermont, Virginia, Washington, West Virginia, Wisconsin, Wyoming



เขตการปกครองอื่น ๆ American Samoa, Baker Island, Guam, Howland Island, Jarvis Island, John Atoll, Kingman Reef, Midway Islands, Navassa Island, Northern Mariana Islands, Palmyra Atoll, Puerto Rico, Virgin Islands, Wake Island


ระบบกฎหมาย อยู่บนรากฐานของกฎหมายจารีตประเพณีของอังกฤษ
สิทธิในการเลือกตั้ง อายุ 18 ปีขึ้นไป
ประมุขของประเทศ นาย George Walker Bush เป็นประธานาธิบดี คนที่ 43 และหัวหน้ารัฐบาล เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2548 สังกัดพรรครีพับริกัน และมีนาย Richard B. Cheney เป็นรองประธานาธิบดี
โครงสร้างทางการเมือง


สหรัฐฯ มีพรรคการเมืองใหญ่ 2 พรรค คือ พรรครีพับลิกัน (Republican) และพรรคเดโมเเครต (Democrat)
การปกครองแบบสหพันธรัฐ แบ่งแยกอำนาจออกเป็น 3 ฝ่าย ภายใต้บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ แต่ละฝ่ายได้รับเลือกในลักษณะที่แตกต่างกัน และมีการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน (checks and balances) ดังนี้
ฝ่ายบริหาร มีประธานาธิบดีเป็นประมุข ได้รับเลือกจากการเลือกตั้งทั่วไป ร่วมกับรองประธานาธิบดีทุก 4 ปี ในวันอังคารแรกของเดือนพฤศจิกายน ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งผ่านคณะผู้เลือกตั้ง ( Electoral College ) จำนวน 538 คน ดำรงตำแหน่งไม่เกิน 2 สมัย สมัยละ 4 ปี ประธานาธิบดีจะเป็นผู้ร่างรัฐบัญญัติต่อรัฐสภา และทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้ทำสนธิสัญญาต่างๆ ตลอดจนแต่งตั้งผู้พิพากษา เอกอัครราชทูตและตำแหน่งต่างๆของฝ่ายบริหารตั้งแต่ระดับรองผู้ช่วยรัฐมนตรี (Deputy Assistant Secretary) ขึ้นไป


ฝ่ายนิติบัญญัติ ประกอบด้วย 2 สภา คือ
วุฒิสภา มีสมาชิกจากแต่ละมลรัฐ มลรัฐละ 2 คน รวมเป็น 100 คน ดำรงตำแหน่งสมัยละ 6 ปี โดยสมาชิกจำนวน 1 ใน 3 ครบวาระทุก 2 ปี วุฒิสภามีอำนาจให้ความเห็นชอบหรือปฎิเสธบุคคลที่ประธานาธิบดีแต่งตั้ง รวมทั้งคณะรัฐมนตรี และให้สัตยาบันสนธิสัญญา รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ เป็นผู้ดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภาโดยตำแหน่ง (President of the Senate) คือนาย Richard B. Cheney หัวหน้าฝ่ายเสียงข้างมาก (Majority Leader)ในวุฒิสภา ได้แก่ นาย Bill First (R-Tennessee) หัวหน้าฝ่ายเสียงข้างน้อย (Minority Leader) ได้แก่ นาย Thomas A. Daschle (D-South Dakota)
สภาผู้แทนราษฎร มีสมาชิก 435 คน แบ่งตามสัดส่วนของประชากรในมลรัฐ คือ ประชากร 575,000 คน ต่อ สมาชิก 1 คน ดำรงตำแหน่งสมัยละ 2 ปี ประธานสภา (Speaker of the House) ได้แก่ นาย Dennis Hastert (R-Illinois) ผู้นำเสียงข้างมาก คือ นาย Tom DeLay (R-Texas) ส่วนผู้นำเสียงข้างน้อย คือ นาย Nancy Pelosi (D-California)

ฝ่ายตุลาการ ประกอบด้วย ศาลชั้นต้น (Circuit Court) ศาลอุทธรณ์ (Appeal Court)และศาลฎีกา (Supreme Court) ศาลฏีกามีอำนาจที่จะล้มเลิกกฎหมายใดๆและการปฏิบัติการของฝ่ายบริหารที่ได้วินิจฉัยแล้วว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ ในการแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลฎีกาซึ่งมีทั้งหมด 9 คนนั้น ประธานาธิบดีเป็นผู้เสนอชื่อและวุฒิสภาเป็นผู้ให้การรับรอง และดำรงตำแหน่งได้โดยไม่มีการกำหนดวาระ


นี่ก็เป็นข้อมูลคร่าวๆ ในการปกครองของประเทศสหรัฐเมริกา มหาอำนาจโลก ขั้วหนึ่งครับ



มาดูกันต่อที่ประเทศในเอชียของเราบ้างนะครับ ประเทศญี่ปุ่น นั่นเองครับ








รูปแบบการปกครองของประเทศญี่ปุ่นนะครับ ระบอบเสรีประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมีรัฐสภาเป็นสถาบันสูงสุดของรัฐ และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล นอกจากนี้ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้มีการบัญญัติไว้ว่าสมเด็จพระจักรพรรดิทรงเป็นสัญลักษณ์ของประเทศ มิใช่องค์ประมุขและไม่มีอำนาจในการบริหารประเทศ
รัฐธรรมนูญ ประกาศใช้เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2490 (ค.ศ. 1947) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
ประมุข สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ (His Majesty Emperor Akihito)
นายกรัฐมนตรี นายชินโซ อาเบะ (Shinzo Abe) (หัวหน้าพรรคเสรีประชาธิปไตย - LDP) เข้ารับตำแหน่งเมื่อ 26 กันยายน 2549 (ตอนนี้ได้ประกาศลาออกอย่างเป็นทางการแล้วนะครับ)ST@politicss
รมต. ต่างประเทศ นายทาโร อะโซ (Mr. Taro Aso) เข้ารับตำแหน่งเมื่อ 26 กันยายน 2549 (รับตำแหน่งรมต.
ต่างประเทศครั้งแรกเมื่อ 31 ตุลาคม 2548) คนที่เป็นที่คาดหมายว่าจะได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปครับ
รัฐสภา เรียกชื่อว่า “สภาไดเอท” ประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร (House of Representatives) ซึ่งมีสมาชิก 480 คน
มาจากการเลือกตั้งทั่วประเทศมีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี และวุฒิสภา (House of Councillors) ซึ่งมีสมาชิก 242 คน
มีวาระในการดำรงตำแหน่ง 6 ปี โดยเลือกตั้งจำนวนครึ่งหนึ่งสลับกันไปทุก 3 ปี
-ประธานสภาผู้แทนราษฎร (Speaker of the House of Representatives) นายโยเฮ โคโนะ (Yohei Kono)
- ประธานวุฒิสภา (President of the House of Councillors) นางจิคาเกะ โอกิ (Chikage Oogi)



การปกครองท้องถิ่น ญี่ปุ่นแบ่งเขตการปกครองท้องถิ่นออกเป็น 47 จังหวัด (Prefecture) ซึ่งรวมกรุงโตเกียว (Tokyo Metropolis) ด้วย การปกครองส่วนท้องถิ่นภายในจังหวัดแยกออกเป็น นคร เมือง และหมู่บ้าน ยกเว้นกรุงโตเกียวที่มีเขตการปกครอง เฉพาะในส่วนใจกลาง 23 เขต นอกเหนือไปจากเขตชานกรุง ซึ่งประกอบด้วย 27 นคร 5 เมือง และ 8 หมู่บ้าน รัฐบาลญี่ปุ่นได้พยายามกระจายอำนาจการปกครองไปสู่ท้องถิ่น โดยผู้ว่าราชการจังหวัด นายกเทศมนตรีของนครขนาดใหญ่ ของเมืองและของหมู่บ้านตลอดจนสมาชิกสภาส่วนท้องถิ่นทุกระดับมาจากการเลือกตั้ง
การเลือกตั้ง สภาผู้แทนราษฎรมีการเลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อ 11 กันยายน 2548 วุฒิสภามีการเลือกตั้งครั้งล่าสุด เมื่อ 11 กรกฎาคม 2547 โดยจะมีการเลือกตั้งครั้งต่อไปจำนวนครั้งหนึ่ง (141 คน) สมาชิกครึ่งหนึ่ง ในทุก 3 ปี เเละจะมีการเลือกตั้งใหม่ในช่วงกลางปี 2550


พรรคการเมือง พรรคการเมืองที่สำคัญ ได้แก่


พรรคเสรีประชาธิปไตย ( Liberal Democratic Party : LDP) เป็นพรรคแกนนำรัฐบาล มีที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร
294 ที่นั่ง (สตรี 26 คน) ในวุฒิสภา 111 ที่นั่ง (สตรี 12 คน) หัวหน้าพรรคคือนายชินโซ อาเบะ ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี


พรรคนิว โคเมโต (New Komeito) เป็นพรรคร่วมรัฐบาล มีที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร 31 ที่นั่ง (สตรี 4 คน) ในวุฒิสภา
24 ที่นั่ง (สตรี 5 คน) หัวหน้าพรรคคือนายฮากิฮิโร โอตะ (Akihiro Ota)


พรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่น (Democratic Party of Japan : DPJ : Minshuto) แกนนำฝ่ายค้าน มีที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร 113 ที่นั่ง (สตรี 10 คน) ในวุฒิสภา 82 ที่นั่ง (สตรี 11 คน) หัวหน้าพรรคคือนายอิจิโร โอซาวา (Ichiro Ozawa)


พรรคสังคมประชาธิปไตยญี่ปุ่น (Social Democratic Party of Japan : SDP) เป็นพรรคฝ่ายค้าน มีที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร 7 ที่นั่ง (สตรี 2 คน) ในวุฒิสภา 6 ที่นั่ง (สตรี 1 คน) หัวหน้าพรรคคือนางมิซูโฮะ ฟูคุชิมา (Mizuho Fukushima)


พรรคคอมมิวนิสต์ (Japan Communist Party - JCP) เป็นพรรคฝ่ายค้าน มีที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร 9 ที่นั่ง (สตรี
2 คน) ในวุฒิสภา 9 ที่นั่ง (สตรี 3 คน) หัวหน้าพรรคคือนายคาซึโอะ ชิอิ (Kazuo Shii)




สำหรับประเทศใกล้เคียงประเทศไทยอีกประเทศนึงก็คือ ประเทศจีน ครับ




การเมือง
(1) การเมืองการปกครอง
ในระบอบการปกครองของจีนพรรคคอมมิวนิสต์จะเป็นผู้กำหนดนโยบายทุกด้านให้รัฐบาลไปปฏิบัติ (รัฐบาลจึงไม่ใช่องค์กรกำหนดนโยบาย) โดยจีนมีนโยบายภายในที่สำคัญ ดังนี้
1.1 เน้นการปฏิรูปเศรษฐกิจและการเปิดประเทศเพื่อสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ และกำหนดเป้าหมายให้ GDP เพิ่มขึ้นอีก 4 เท่าตัว และทำให้จีนสร้างความกินดีอยู่ดี “เสี่ยวคาง” แก่คนจีนในระดับเดียวกับประเทศที่กำลังพัฒนาในระดับกลาง ภายในปี 2563 (ค.ศ. 2020) ในขณะเดียวกัน ก็ต้องแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำของระดับการพัฒนาระหว่างภาคตะวันออกกับภาคตะวันตก ซึ่งอาจนำมาซึ่งปัญหาการเมือง สังคม ความแตกแยกของชนชาติที่รุนแรง จึงได้กำหนดให้พัฒนาภาคตะวันตกไปในเวลาเดียวกันด้วย
1.2 จีนเน้นการปฏิรูปทางการเมืองอย่างค่อยเป็นค่อยไป ในขณะเดียวกัน เพื่อลดกระแสกดดันการเรียกร้องให้ปฏิรูปการเมือง ซึ่งพรรคคอมมิวนิสต์จีนประเมินแล้วว่าไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ในระยะ 10 ปีข้างหน้า นายเจียง เจ๋อหมิน อดีตประธานาธิบดีจีน จึงได้เสนอหลักการ 3 ตัวแทนขึ้นมาและบรรจุลงไปในธรรมนูญของพรรค หลักการ 3 ตัวแทน จะสามารถลดแรงกดดันของกลุ่มนายทุนใหม่และนักวิชาการเรื่องปฏิรูปการเมืองได้ โดยพรรคคอมมิวนิสต์เปิดกว้างให้คนเหล่านี้เข้าไปมีส่วนร่วมในพรรคและการบริหารประเทศได้ในระดับหนึ่ง ทั้งนี้ จีนได้เริ่มปล่อยให้การปกครองระดับท้องถิ่นในระดับตำบลและเมือง (อำเภอ) มีการเลือกตั้งโดยอิสระแล้วตั้งแต่ปี 2538
หลักการสามตัวแทน ได้กำหนดให้พรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นตัวแทนใน 3 ด้าน คือ
(1) ด้านการผลิต โดยดูแลการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
(2) ด้านวัฒนธรรม โดยดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมอันดีของจีน และนำวัฒนธรรมอื่นที่ดี
มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติ
(3) เปิดให้พรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นตัวแทนของประชาชนทุกชนชั้น
กล่าวคือ ได้เปิดให้กลุ่มนายทุนและนักธุรกิจ ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่
พรรคกำหนดเข้ามาเป็นสมาชิกพรรค และมีส่วนร่วมทางการเมืองเพิ่มขึ้น
ถือเป็นการเปลี่ยนภาพลักษณ์ของพรรคจากตัวแทนเชิงปฏิวัติ หรือตัวแทน
ของชนชั้นแรงงาน เป็นตัวแทนเชิงบริหาร หรือตัวแทนของประชาชนทุกชนชั้น
(2) พรรคคอมมิวนิสต์จีน
สาธารณรัฐประชาชนจีนปกครองในระบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์มีพรรคคอมมิวนิสต์จีนซึ่งมีสมาชิกประมาณ 68 ล้านคน (สถิติปี 2547) เป็นสถาบันทางการเมืองที่มีอำนาจในการกำหนดนโยบายด้านต่างๆ ของประเทศอย่างเบ็ดเสร็จตามแนวทางลัทธิมาร์กซ์-เลนิน ความคิดของอดีตประธานาธิบดีเหมา เจ๋อตง ทฤษฎีการสร้างสรรค์สังคมนิยมที่มีเอกลักษณ์แบบจีนของเติ้ง เสี่ยวผิง รวมถึงทฤษฎีสามตัวแทนที่ได้รับการบรรจุเข้าในธรรมนูญของรัฐเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2545 โดยรัฐบาลและรัฐสภามีหน้าที่คอยปฏิบัติตามมติและนโยบายที่พรรคกำหนดโดยยึดหลักประชาธิปไตยรวมศูนย์ (Democratic Centralism) ตามธรรมนูญพรรค กำหนดให้มีการประชุมสมัชชาพรรคแห่งชาติ (Party Congress) ทุก 5 ปี นับตั้งแต่ได้มีการจัดตั้งพรรคขึ้นในปี 2464 จนถึงปัจจุบัน พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้จัดให้มีการประชุมสมัชชาพรรคคอมมิวนิสต์แล้วรวมทั้งสิ้น 16 ครั้ง โดยได้จัดประชุมสมัชชาพรรคสมัยที่ 16 ไปเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2545 ซึ่งนายหู จิ่นเทา ได้รับเลือกให้เป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ คนปัจจุบัน (วาระ 5 ปี)
การเมืองภายในจีนยังคงมีเสถียรภาพภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์จีน เมื่อวันที่ 8-14พฤศจิกายน 2545 ได้มีการประชุมสมัชชาพรรคสมัยที่ 16 ซึ่งมีการถ่ายโอนอำนาจจากผู้นำรุ่นที่ 3 ซึ่งมีนายเจียง เจ๋อหมิน เป็นแกนนำ ไปยังรุ่นที่ 4 ซึ่งมีนายหู จิ่นเทา เป็นแกนนำ
ที่ประชุมได้แต่งตั้งนายหู จิ่นเทา เป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน สืบแทนนายเจียง เจ๋อหมิน พร้อมทั้งแต่งตั้งสมาชิกถาวรประจำกรมการเมือง (Members of Standing Committee of the Political Bureau of the Central Committee of CPC) อีก 8 คน ถือได้ว่าบุคคลทั้ง 9 คนนี้ เป็นผู้ที่มีความสำคัญทางการเมืองระดับสูงสุดของจีน
ระหว่างวันที่ 5-18 มีนาคม 2546 ได้มีการประชุมสภาประชาชนแห่งชาติสมัยที่ 10 ขึ้น ในการประชุมครั้งนี้ได้มีการสรุปผลการบริหารประเทศในช่วง 5 ปี พร้อมทั้งแต่งตั้งผู้นำรัฐบาลชุดใหม่ โดยได้แต่งตั้งให้ นายหู จิ่นเทา เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน เป็นประธานาธิบดี (สืบแทนนายเจียง เจ๋อหมิน) และนายเวิน เจียเป่า เป็นนายกรัฐมนตรี (สืบแทนนายจู หรงจี) ในขณะที่ นายเจียง เจ๋อหมิน ยังคงดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการทหารพรรคคอมมิวนิสต์จีนต่อไปอีกสมัย
ต่อมา ในการประชุมคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 4 ของสมัชชาพรรคสมัยที่ 6 ระหว่างวันที่ 16-19 กันยายน 2547 ได้อนุมัติให้นายหู จิ่นเทา ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการทหาร (สืบแทนนายเจียง เจ๋อหมิน) โดยจะมีผลเมื่อได้รับความเห็นชอบจากสภาประชาชนในเดือนมีนาคม 2548
ผู้นำจีน
สมัชชาพรรคสมัยที่ 16 ได้คัดเลือกบุคคลเป็นสมาชิกกรมการเมืองจำนวน 25 คน (เพิ่มจากเดิม 3 คน) และสมาชิกกรมการเมือง 25 คนนี้ ได้เลือกตั้งสมาชิกถาวรประจำกรมการเมือง (Standing Committee of the Political Bureau of the Central Committee) จำนวน 9 คน (เพิ่มขึ้นจากเดิม 2 คน) เรียงตามลำดับอาวุโส ได้แก่
(1) นายหู จิ่นเทา (Hu Jintao)
(2) นายอู๋ ปางกั๋ว (Wu Bangguo)
(3) นายเวิน เจียเป่า (Wen Jiabao)
(4) นายเจี่ย ชิ่งหลิน (Jia Qinglin)
(5) นายเจิง ชิ่งหง (Zeng Qinghong)
(6) นายหวง จวี๋ (Huang Ju)
(7) นายอู๋ กวานเจิ้ง (Wu Guanzheng)
(8) นายหลี่ ฉางชุน (Li Changchun)
(9) นายหลัว ก้าน (Luo Gan)


นี่ก็เป็นข้อมูลคร่าวสำหรับประเทศที่พัฒนาขึ้นเป็นมหาอำนาจโลก คู่คี่กับ ประเทศมหาอำนาจอื่นๆ ครับ



ประเทศสุดท้ายในคราวนี้ ก็ไม่ใช่ใครที่ไหนหล่ะครับ บ้านเราเอง ครับ ประเทศไทย

รูปแบบการปกครอง: ปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข
พระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบัน: พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร(พระนามเดิมพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช)

การเมืองการปกครอง
เดิมประเทศไทยมีการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จนกระทั่งวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 คณะราษฎรไ ด้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปัจจุบันประเทศไทยปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยแบ่งอำนาจเป็นสามฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายตุลาการ โดยฝ่ายบริหารจะมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาลซึ่งมากจากการแต่งตั้ง ฝ่ายนิติบัญญัติ ได้แก่ สภานิติบัญญัติแห่งชาติซึ่งมาจากการแต่งตั้ง และฝ่ายตุลาการ คือ ศาลยุติธรรม ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลปกครองซึ่งมาจากการปฏิรูปทางเมืองจึงเกิดศาลปกครองและศาลรัฐธรรมนูญ
เมืองหลวง: กรุงเทพมหานคร (Bangkok)


และเขตการปกครอง 76 จังหวัด ปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา


รัฐธรรมนูญ 18 ฉบับ


ระบบกฎหมาย: อิงระบบกฎหมายแพ่ง ซึ่งได้รับอิทธิพลจากฎหมายจารีตประเพณีของอังกฤษ;
ได้รับสิทธิในการเลือกตั้ง: อายุ 18 ปี; ให้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง แก่พลเมืองทั้งมวล
ฝ่ายบริหาร:

ผู้นำรัฐบาล: นายกรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรี , คณะรัฐมนตรี (Council of Ministers) หมายเหตุ: มีคณะมนตรีที่ปรึกษา (Privy Council) ด้วยเช่นกัน การเลือกตั้ง: ไม่มี, การสืบสันตติวงศ์; นายกรัฐมนตรีได้รับการแต่งตั้งจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร; หลังจากการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรเรียบร้อยแล้ว, หัวหน้าพรรคที่สามารถจัดตั้งรัฐบาลผสมได้มักจะได้เป็นนายกรัฐมนตรี
ฝ่ายนิติบัญญัติ: bicameral National Assembly หรือรัฐสภา ประกอบด้วยวุฒิสภา 150 คน สภาผู้แทนราษฏร 480 คน
ฝ่ายตุลาการ: ศาลฎีกา (ผู้พิพากษาแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์)



และนี่ก็เป็นรูปแบบการปกครองของชาติต่างๆ ที่ทางเรานำมาจัดให้ท่านผู้ชมได้ทราบกันพอสังเขปนะครับ สำหรับท่านผู้ชมคนใดที่ต้องการทราบข้อมูลประเทศอื่นก็สามารถ ส่งคำขอมาได้ที่ บล็อกของเรานะครับ หรือทาง E-mail : Titanic_duty@hotmail.com ครับ


ที่มาของภาพ จาก Google

บทความ ข้อมูล Wikipedia http://www.apecthai.org
Post By
Mr.Nuttachai Nalampang ID 5131601061
Section 1

ทุกอย่างเข้าแผนของพรรคอำมาตยธิปัตย์หมด หนอนที่เขาปล่อยไปฝังตัวตามกลุ่มผู้สนับสนุนทักษิณแต่ละกลุ่มเริ่มแตกแยกกันเอง

พอดีผมเข้าไปเจอบทความบทความนึง ที่น่าคิดนะครับ เลยนำมาให้ท่านผู้ชมดู พอดีแวะเข้าเวปพันทิพย์มาเลยหยิบยกมาฝาก


บทความมีอยู่ว่า

ทุกอย่างเข้าแผนของพรรคอำมาตยธิปัตย์หมด หนอนที่เขาปล่อยไปฝังตัวตามกลุ่มผู้สนับสนุนทักษิณแต่ละกลุ่มเริ่มแตกแยกกันเอง

"มีการปล่อยข่าวลวงข่าวหลอกกันให้มั่วไปหมด สถานีวิทยุออนไลน์ที่สนับสนุทักษิณที่มีหลายเว็บ(แตกกันตั้งแต่ต้นแล้ว)ให้ข้อมูลข่าวสารต่างกัน สับสนกันไปหมด ไม่รู้ข้อมูลข่าวสารไหนจริงไหนเท็จกองเชียร์ที่สนับสนุนทักษิณเริ่มสับสนท้อแท้ เริ่มหันปากมาด่ากันเอง บางเว็บมีการปล่อยข่าวลวงเรื่องหักหลังทักษิณให้คน พปช.ด่ากันเองสุดท้ายพรรค พปช.คงต้องแตกสลาย และทักษิณก็คงต้องเคว้งคว้างอยู่ต่างประเทศไปอีกนานแสนนานพรรคอำมาตยาธิปัตย์ก็จะได้ครองอำนาจรับใช้อำมาตย์อย่างเต็มตัวต่อไปนานเท่านานหนอนที่ฝ่ายอำมาตยาธิปัตย์ปล่อยมาครั้งนี้ทำงานเข้าเป้าได้อย่างดี หลังจากที่ก่อนหน้านี้มีการปล่อยหนอน 2 ตัว(เท่าที่ปรากฏทางสื่อ)
หนอนอย่างเตมูจิน ไทกรที่ปล่อยมานั้นทำงานผิดพลาดไม่ได้ผลเท่าที่ควรผู้ที่สนับสนุนทักษิณจะปล่อยให้ทุกอย่างเสื่อมสลายลงไปๆๆๆอย่างน่าเสียใจอย่างนั้นหรือ?
จะมานั่งชี้หน้าโทษกันเองกันไปกันมาอย่างนี้หรือ?
ไม่น่าจะเป็นทางออกที่ถูกต้องนะครับผมว่ามันไม่ได้ประโยชน์อะไรนะครับ อย่าไปหลงเชื่อหนอนทั้งหลายที่ออกมาก่อการชี้นำก่อน ขอให้หนักแน่นกันเข้าไว้ครับ อย่าให้หนอนหลอก "

อ่านข้อความจากต้นฉบับได้ที่ http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P6995954/P6995954.html

ท่านผู้ชมคิดอย่างไรกับบทความที่ทางเรายกประเด็นมานะครับ ลองมาตีความหาความหมายร่วมกันได้นะครับ

Post by

Mr.Nuttachai Nalampang ID 5131601061 Section 1


อดีต สสร.ตอกหน้า “สามเกลอ” แจงการสอนหนังสือของ “จรัญ” ไม่ผิด รธน.

นายเสรี สุวรรณภานนท์
อดีต สสร. 50 “เสรี สุวรรณภานนท์” แจงข้อกฎหมาย ตอกหน้า “สามเกลอ” ชี้ การสอนหนังสือ ถือเป็นการบริการทางวิชาการ ไม่ใช่การดำเนินธุรกิจเพื่อหวังผลกำไร ดังนั้นการเอากรณีสอนหนังสือของ “จรัญ ภักดีธนากุล” ไปเปรียบเทียบกับ การเป็นพิธีกรรายการของ “หมัก” จึงทำไม่ได้
หลังจากรายการความจริงวันนี้ ทางสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที ที่ดำเนินรายการโดยนายวีระ มุสิกพงษ์ อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ร่วมด้วยนายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วนพรรคพลังประชาชน และ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รองโฆษกสำนักนายกรัฐมนตรี โดยผู้ดำเนินรายการทั้ง 3ได้ตั้งข้อสงสัยว่านายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ อาจมีคุณสมบัติขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 207 และ 209 เนื่องจากไปดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์พิเศษ รับจ้างสอนหนังสือในมหาวิทยาลัยทั้งของรัฐและเอกชน
รวมถึงยังเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทั้งในมหาวิทยาลัยรัฐและเอกชนหลายแห่ง ซึ่งน่าจะมีลักษณะต้องห้ามคล้ายกับกรณีของนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ถูกวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่ง กรณีไปรับจ้างเป็นผู้ดำเนินรายการชิมไปบ่นไปนั้น
วันนี้ (13 ก.ย.) นายเสรี สุวรรณภานนท์ อดีตรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) 50 กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า แม้ทั้ง 2 กรณีจะมีลักษณะคล้ายคลึงกัน แต่ในข้อเท็จจริงแล้วแตกต่างกัน เพราะเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญระบุให้เห็นได้ว่า การสอนหนังสือ ถือเป็นเสรีภาพทางวิชาการ ซึ่งรัฐธรรมนูญมาตรา 50 ให้การรับรองไว้ว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพทางวิชาการ การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ ดังนั้นการสอนหนังสือดังกล่าวจึงเป็นลักษณะ ของอาจารย์พิเศษ ไม่ใช่ลูกจ้าง
ผู้สื่อข่าวถามว่ารัฐธรรมนูญจะครอบคลุมไปถึงการเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเอกชน ที่มีจุดมุ่งหมายทางธุรกิจด้วยหรือไม่ นายเสรี กล่าวว่า ถึงแม้จะเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแต่ก็เป็นสิทธิเสรีภาพทางวิชาการเช่นเดียวกัน ทั้งนี้เพราะการทำหน้าที่สอนหนังสือไม่ได้มีเป้าหมายจะทำเป็นธุรกิจมุ่งหาผลกำไร
วิเคราะห์
ดูเหมือนว่าทางพรรคพวกของท่านผู้มีจมูกอันงดงามและพรรคพวกของอดีตท่านผู้นำจะใช้คดีนี้ในการโจมตีกลับ(counter-strike)ตุลาการศาลแต่ดูเหมือนว่าจะยังหาเหตุผลไม่หนักแน่นพอ
ขอขอบคุณแหล่งข่าวจากhttp://news.adintrend.com/?group=politics
โดย นายรวมเลิศ สุภานันท์ 5131601165

“พลังแม้ว”พร้อมเคาะชื่อ“หน.ลูกกรอก”คนใหม่จันทร์นี้



“ส.สมพงษ์” เผย พปช.เตรียมลงมติเลือกตัวนายกฯ คนใหม่ จันทร์ที่ 15 ก.ย.นี้ หลังพรรคร่วมมีท่าทียอมรับ “3 ส.” ก่อนแถลงกับพรรคร่วม 16 ก.ย. “วรวัจน์”เมินพันธมิตรฯ ต้าน อ้างต้องเดินหน้ารักษาระบอบประชาธิปไตย

วันนี้(13ก.ย.) นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รองหัวหน้าพรรคประชาชน ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่า ในวันที่ 15 กันยายนนี้พรรคพลังประชาชนจะลงมติหาผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อเสนอต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร และแจ้งให้พรรคร่วมรัฐบาลทราบก่อนที่จะมีการแถลงข่าวร่วมกันในวันที่ 16 กันยายนนี้

นายสมพงษ์ กล่าวว่า พรรคร่วมรัฐบาลได้แจ้งมาแล้วว่า ไม่ขัดข้อง หากผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่จะเป็น 1 ใน 3 ส. คือนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี และนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ อย่างไรก็ตาม ทางพรรคพลังประชาชนจะเสนอชื่อนายสมพงษ์จริงหรือไม่นั้น นายสมพงษ์ ได้หัวเราะ แล้วกล่าวว่า เข้าใจผิดหรือเปล่า ตอนนี้ยังไม่ทราบและยังไม่ใช่ เป็นการประเมินกันไป ยังไม่ได้คุยกันอย่างเป็นทางการ ชื่อคนที่จะรับตำแหน่งก็อยู่ใน 3 ส.นั่นแหละ วันจันทร์ก็จะได้ข้อยุติ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันนี้ แกนนำพลังประชาชนและส.ส.ภาคเหนือของพรรค นำโดยอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย เช่น นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ นายจาตุรนต์ ฉายแสง นายสรอรรถ กลิ่นประทุม นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา นายสุธรรม แสงประทุม และนายเสริมศักดิ์ พงษ์พาณิชย์ รวมทั้งนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ในฐานะแกนนำภาคเหนือ นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล ส.ส.แพร่ และนายสันติ พร้อมพัฒน์ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะแกนนำกลุ่มเพชรบูรณ์ แนวร่วมกลุ่มเพื่อนเนวินได้ทยอยเดินทางไปยังที่ทำการพรรค อาคารไอเอฟซีที ถนนเพชรบุรี ตั้งแต่ช่วงสาย เพื่อหารือและสรรหาผู้ที่เหมาะสมจะรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรค ที่ประกาศไม่รับตำแหน่ง

นายวรวัจน์ กล่าวว่า การหารือครั้งนี้เป็นการพูดคุย เพื่อประเมินสถานการณ์ทางการเมือง หลังจากที่นายสมัครจะไม่เป็นนายกรัฐมนตรี โดยต้องหารือว่า แกนนำพรรคคนใดเหมาะสม และต้องประเมินถึงสถานการณ์ทั้งหมดว่าจะทำอย่างไรให้สังคมเกิดความสงบลง และทำให้ระบบขับเคลื่อนต่อไปได้ ส่วนการตัดสินใจนั้น เป็นอีกขั้นตอนหนึ่ง โดยบุคคลในกลุ่ม “ 3 ส.” คือบุคคลที่เหมาะสมที่สุด แต่จะเป็นใครคงต้องประเมินสถานการณ์และความเหมาะสมเป็นหลัก แต่ยอมรับว่า ไม่ว่าจะเป็นท่านใดขึ้นมาเป็นผู้นำในช่วงนี้ก็จะมีระยะเวลาไม่นานในการแก้ปัญหา เพราะมีปัญหารออยู่เต็มไปหมด

ส่วนกรณีที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยประกาศจะชุมนุมต่อไป โดยไม่ยอมรับชื่อของ 3 ส.นั้น นายวรวัจน์ กล่าวว่า การตัดสินใจของพรรคพลังประชาชนพร้อมรับผิดชอบต่อประชาชน โดยจะคงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตย วันนี้คนที่จะขึ้นมาเป็นผู้นำคนใหม่ของพรรคจะต้องประสานทุกฝ่าย แต่ก็ยอมรับว่าไม่มีทางที่เราจะไปพูดคุยกับฝ่ายที่ตั้งป้อมที่จะไม่เอาคนจากพรรค เรารู้ว่าเขาคิดอะไรอยู่ เชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตยหรือไม่ ดังนั้นสิ่งที่พันธมิตรฯ ยื่นข้อเสนอมาเราไม่สามารถรับฟังได้

วิเคราะห์

จากข่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่าไม่ว่าใครในพรรคพปช.ได้มาเป็นนายกคนใหม่ก็ไม่ช่วยให้กลุ่มพันธมิตรจะสลายตัวไปได้ดังนั้นต้องมีการปรับความเข้าใจระหว่างนักการเมืองกับกลุ่มพันธมิตร

ขอขอบคุณแหล่งข่าวจากhttp://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9510000108702

โดย นายรวมเลิศ สุภานันท์ 5131601165



อนุพงษ์ต่อสายตรงทักษิณ เบื้องหลังล้มโหวตสมัครรีเทิร์น

สื่อข่าวรายงานว่า ความพลิกผันของสถานการณ์การเมือง นำไปสู่การล้มโหวตนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 ก.ย. สืบเนื่องมาจากเมื่อกลางดึกวันที่ 11 ก.ย.ที่ผ่านมา หลังจากที่พรรคพลังประชาชนมีมติเสนอชื่อนายสมัครเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ทำให้บรรดานายทหารระดับสูงหลายคนไม่สบายใจ เกรงจะเกิดแรงต่อต้านที่รุนแรงและนำไปสู่วิกฤติความขัดแย้งที่หนักหน่วงขึ้นไปอีก

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบกได้โทรศัพท์สายตรงไปหา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เพื่อแจ้งความไม่สบายใจพร้อมกับระบุด้วยว่า สถานการณ์ จะไปไม่รอดหากเสนอชื่อนายสมัครเป็นนายกรัฐมนตรีอีก หลังจากนั้นหลายฝ่ายได้ประสานงานกัน เริ่มจากนายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช เดินทางไปร่วมหารือกับนายบรรหาร ศิลปอาชา ที่บ้านซอยจรัญสนิทวงศ์ 55 โดย มีแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลอื่นๆด้วย ทุกฝ่ายเห็นพ้องกันที่จะสนับสนุนพรรคพลังประชาชน แต่มีเงื่อนไขว่าต้องไม่ใช่นายสมัครเป็นนายกรัฐมนตรี จึงประสานไปยังแกนนำพรรคพลังประชาชนที่คัดค้านนายสมัครว่า จะไม่เข้าร่วมประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้เลื่อนโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีออกไปเป็นวันพุธที่ 17 ก.ย.ดังกล่าว



ที่มา : ไทยรัฐ


นาย สุวิทย์ แก้วเข้ม 5131601202

วันศุกร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2551

อย่าซ้ำเติมสถานการณ์ นะจ๊ะ !!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!

พอดีผู้เขียนไปเห็นบทความๆ นึง จากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ และก็เห็นว่าดี จึงเอามาฝากท่านผู้ชมหล่ะครับ น่าอ่านจิงๆนะครับลองชมครับ


การที่นายสมัคร สุนทรเวช ต้องพ้นจากตำแหน่งในทันที กลายเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรก ที่หลุดจากตำแหน่งตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ อันเนื่องมาจากการจัดรายการชิมอาหาร “ชิมไปบ่นไป” คอการเมืองอาจมองว่าเข้าลักษณะปลาตายน้ำตื้น แม้แต่ นายสมัครเองก็อาจจะคาดไม่ถึง เพราะเคยถามว่า “แค่ทำกับข้าว” จะต้องถึงกับพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเชียวหรือ?

ทันทีที่สิ้นคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ โฆษกพรรคพลังประชาชนประกาศว่า จะเลือกนายสมัครกลับมาเป็นนายกฯอีก โดยอ้างว่าไม่ได้กระทำผิดร้ายแรง ไม่ใช่การทุจริต เป็นบรรทัดฐานที่ไม่ถูกต้อง และยอมรับไม่ได้ แต่จากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ถือว่าการกระทำอันต้องห้าม ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 267 เข้าลักษณะผลประโยชน์ทับซ้อน ซึ่งนักวิชาการถือว่าเป็นการทุจริตรูปแบบหนึ่ง

เรื่องนี้จึงไม่ใช่ “แค่ทำกับข้าว” เพราะเป็นการกระทำการอันต้องห้าม ตามรัฐธรรมนูญ ในส่วนที่ว่าด้วย “การกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์” ศาลรัฐธรรมนูญอธิบายว่าเป็นบทบัญญัติที่ป้องกันรัฐมนตรีไม่ให้กระทำ อันจะก่อให้เกิดสถานการณ์ขาดจริยธรรม มีการใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ ในลักษณะที่ประโยชน์ส่วนตัวจะได้มาจากการเสียไปซึ่งประโยชน์สาธารณะ

ในรัฐธรรมนูญส่วนนี้ นอกจากมาตรา 267 แล้ว ยังมีอีกหลายมาตรา มีมาตราหนึ่ง ซึ่งเป็นข่าวบ่อยครั้ง ได้แก่มาตรา 269 ห้ามรัฐมนตรีถือหุ้นในบริษัทเกิน 5% เคยทำให้ รัฐมนตรีหลุดจากตำแหน่งไปแล้วหลายคน เจตนารมณ์ที่สำคัญ คือป้องกันไม่ให้รัฐมนตรีใช้อำนาจหน้าที่ เอื้อประโยชน์ให้แก่ธุรกิจของครอบครัว แต่บางคนก็เลี่ยงกฎหมายด้วยการโอนหุ้นให้บุตร หรือคนใช้

ใครก็ตาม ไม่ควรโทษรัฐธรรมนูญ 2550 เป็นอันขาด โทษว่าเป็นกับดักที่มุ่งเล่นงานนักการเมืองบางพรรค เป็นการเฉพาะเจาะจง เพราะความจริงบทบัญญัติที่ห้ามรัฐมนตรีมีตำแหน่งในบริษัทเอกชน หรือเป็นลูกจ้างเอกชน มีอยู่แล้วในรัฐธรรมนูญ 2540 เพียงแต่ว่านักการเมืองไม่ได้ใส่ใจ เพราะในอดีตไม่มีใคร เอาเรื่องเอาราว เนื่องจากองค์กรตรวจสอบถูกแทรกแซงจนเป็นอัมพาต

จะกลายเป็นเรื่องที่น่าเศร้าอย่างยิ่ง ถ้าพรรคพลังประชาชนและพรรคร่วมรัฐบาลอื่นๆ เลือกนายสมัครกลับไปเป็นนายกฯอีก เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญได้ทำคุณูปการแก่ บ้านเมือง ด้วยการแปรวิกฤติให้เป็นโอกาส ให้นายสมัครพ้นจากนายกรัฐมนตรี โดยไม่เสีย หน้ามากเหมือนการลาออก และเปิดโอกาสให้แก้ไขความขัดแย้งทางการเมืองโดยสันติ จึงไม่ควรปิดประตูรับโอกาส

พรรคการเมืองจึงควรใช้โอกาสนี้ ร่วมกันแสวงหานายกรัฐมนตรีคนใหม่ ซึ่งเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย อย่าได้คิดตอบโต้ศาลรัฐธรรมนูญ ด้วยการเลือกคนเดิมกลับไปอีก เพราะจะซ้ำเติมวิกฤตการณ์ให้ทรุดหนัก จนยากที่จะแก้ไขได้โดยสันติ ถ้ายังมีความรับผิดชอบต่อบ้านเมืองโปรดฟังคำเตือนของสภาอุตสาห-กรรมฯ ที่ว่า ถ้าปล่อยให้วิกฤติยืดเยื้อ เศรษฐกิจจะเสียหายไม่ต่ำกว่า 6 แสนล้านบาท.

ร่วมคิด

อย่างที่ผู้เขียนได้เขียนมานั้นจะเห็นได้ว่า อดีตนายกสมัครไม่ควรมานั่นเก้าอี้นายกรัฐมนตรีอีก เนื่องจากมีความผิด จริง แล้ว พรรคการเมืองจึงควรใช้โอกาสนี้ ร่วมกันแสวงหานายกรัฐมนตรีคนใหม่ ซึ่งอาจจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด ในการสร้างความสามัคคีในชาติได้ ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องยากก็ตาม

ที่มา http://www.thairath.co.th/news.php?section=politics01&content=103804


สร้างสรรค์โดย

Mr.Nuttachai Nalampang ID 5131601061
Mr.Nattapon Pintasan ID 5131601065

School of Law

Section 1


เบื้องหลัง ทำไมนายกฯ ต้องเป็นสมัคร



แม้ ความคิดเห็นของ ส.ส.พรรคพลังประชาชน จะแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ในการสนับสนุน "สมัคร สุนทรเวช" หัวหน้าพรรคให้กลับเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง

โดยกลุ่มเหนือ-กลาง-อีสานเหนือ กว่า 100 คน แสดงจุดยืนไม่สนับสนุน "สมัคร" กลับมาเป็น "นายกรัฐมนตรี" หนที่ 2 โดยยกเหตุผลเรื่องกระแสต่อต้านจากสังคม พรรคร่วมรัฐบาล และกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย รวมทั้งเรื่องใหญ่อย่างคดีหมิ่นประมาท นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ ที่ศาลชั้นต้น พิพากษาลงโทษจำคุกเป็นเวลา 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา และศาลอุทธรณ์นัดอ่านคำร้องขอเลื่อนฟังคำ พิพากษาในวันที่ 25 กันยายน

แต่อีกกลุ่มที่ประกอบด้วย กลุ่มเพื่อนเนวิน ที่ใกล้ชิดกับ นายเนวิน ชิดชอบ ซึ่งมี ส.ส.ในมือกว่า 80 คน

และ กลุ่มเพชรบูรณ์ ของ "สันติ พร้อมพัฒน์" รมว.คมนาคม อีกกว่า 30 คนนั้น เดินเครื่องเต็มที่ที่จะผลักดัน "สมัคร" กลับมานั่ง "เก้าอี้นายกรัฐมนตรี" อีกครั้ง แม้จะรู้ว่านั่นเป็นการ "ราดน้ำมันลงบนกองไฟแห่งความขัดแย้ง" ก็ตาม ดูเหมือนว่าแนวคิดที่จะเข็น "สมัคร" กลับไปเป็น "นายกรัฐมนตรี" อีกครั้ง จะได้รับการสนับสนุนจากส่วนต่าง "10 กว่าเสียง" ของบรรดาแกนนำพรรคอย่าง "สมพงษ์ อมรวิวัฒน์, สมชาย วงศ์สวัสดิ์" รองหัวหน้าพรรค หรือ "นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี" เลขาธิการพรรคพลังประชาชน ซึ่งมีชื่อเป็นแคนดิเดตเก้าอี้นายกรัฐมนตรีอยู่ด้วย

ด้วยเหตุผลที่ไม่ต่างกัน คือ ในสถานการณ์การเมืองเช่นนี้ ไม่มีแกนนำพรรคพลังประชาชนคนไหนหาญกล้าเข้ามาถือ "เผือกร้อน"

และ ใน "สถานการณ์ร้อน" จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ "คนแก่พรรษาการเมือง" อย่าง "สมัคร" ที่มีคุณสมบัติพิเศษเฉพาะตัว เข้ามารักษาการไปอีกระยะหนึ่ง เพื่ออาศัยความอึดให้ผ่านพ้นช่วงโยกย้าย "ข้าราชการระดับสูง" และได้เริ่มใช้ "พ.ร.บ.งบประมาณปี 2552" สำหรับการเตรียมความพร้อมรับมือกับอุบัติเหตุทางการเมืองอื่นๆ ไปให้ได้อีกระยะ

แน่นอนว่าสามารถ ใช้ตรงนี้เป็นข้อต่อรองกับ "พรรคร่วมรัฐบาล" อื่นๆ ได้อีกจุด เพราะในภาวะเช่นนี้ไม่มีนักการเมืองค่ายไหนอยากให้เกิดการ "ยุบสภา" และเลือกตั้งใหม่

แต่จุดที่สำคัญที่สุดน่าจะมีเป้าหมายอยู่ที่ "ตุลาการภิวัตน์" ซึ่ง "บิ๊กพลังประชาชน" คิดว่าเป็นอุปสรรคกับความอยู่รอดของพรรค

หาก ย้อนไปตั้งแต่เริ่มก่อตั้งพรรคพลังประชาชน ก็มีทั้งคดีใบเหลือง-ใบแดง หลายพื้นที่ ส่งผลมาถึง "คดียุบพรรคพลังประชาชน" จาก "ใบแดง" ของ ยงยุทธ ติยะไพรัช อดีตรองหัวหน้าพรรค ไล่มาจนคุณสมบัติรัฐมนตรี ที่ต้องกระเด็นออกจากตำแหน่งไป อย่าง "ไชยา สะสมทรัพย์" และ "วิรุฬ เตชะไพบูลย์" แม้กระทั่งคดีความต่างๆ ของ "ทักษิณ ชินวัตร" ที่ล่าสุด ถึงกับยืนเหยียบอยู่บนผืนแผ่นดินไทยไม่ได้


สร้าง ความเจ็บปวดให้กับ "พลพรรค พปช." ไม่น้อย ดังนั้น ที่ผ่านมากิจกรรมหลายอย่างและคำพูดของแกนนำแต่ละคน จึงออกมาแบบที่มีกลิ่นของความท้าทาย "ตุลาการภิวัตน์"

แม้ กระทั่ง "สมัคร สุนทรเวช" ยังเคยตำหนิอย่างรุนแรงถึง "คดีบางคดีไม่อยู่ในรัฐธรรมนูญก็ยังเอาไปตัดสินกันได้" ในระหว่างการประชุมพรรคพลังประชาชน เพื่อเคลียร์ใจกับ ส.ส. กับข้อกล่าวหาเรื่อง "เอาใจออกห่าง" ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ช่วงกลางเดือนสิงหาคม จนล่าสุด "คดีชิมไปบ่นไป" ก็ทำให้ "สมัคร" ต้องพ้นจากเก้าอี้นายกรัฐมนตรี ไปอย่างง่ายดาย ซึ่งได้ความสร้างความเจ็บช้ำน้ำใจให้กับ "สมัคร" และ "พลังประชาชน" อย่างมาก

บรรดาแกนนำ "สายเหยี่ยว" จึงได้เตรียมการที่จะทำให้สังคม เห็นในสิ่งที่ "พรรคพลังประชาชน" อุปโลกน์ขึ้นมาว่าไม่เป็นธรรม

การ ดัน "สมัคร" ขึ้นมาเป็น "นายกรัฐมนตรี" อีกครั้ง ใน 3 วันให้หลังจาก "ศาลรัฐธรรมนูญ" วินิจฉัยให้ขาดคุณสมบัติ แล้วในขณะเดียวกัน วันที่ 25 กันยายน ศาลอุทธรณ์นัดอ่านคำร้องขอเลื่อนฟังคำพิพากษาคดี "สมัคร" หรือไม่

จึงเป็นการเสี่ยงดวง บนความท้าทาย "ตุลาการภิวัตน์" อย่างยิ่ง

ซึ่ง "สมัคร" เองก็รู้ตัวดี เพราะในวงประชุมระหว่างแกนนำพรรคพลังประชาชนที่เข้าไปพบที่บ้านพักหมู่บ้าน โอฬาร ซอย นวมินทร์ 81 เพื่อให้ "สมัคร" ได้ตัดสินใจว่าจะกลับมารับตำแหน่ง "นายกรัฐมนตรี" อีกครั้งหรือไม่

จึง ไม่แปลกที่มีคำพูดของ "สมัคร" เกี่ยวกับอนาคตของตัวเองที่แขวนไว้กับ "ตุลาการภิวัตน์" หลุดออกมาว่า "ขณะนี้สังคมจับตาดูอยู่ หากใครคิดที่จะกลั่นแกล้งก็คงอยู่ไม่ได้เหมือน
กัน"


ขอขอบคุณ http://tnews.teenee.com/politic/26748.html และหนังสือพิมพ์ มติชน
โดย นางสาวเกษศิณี กรกนก ID 5131601012
นายชาญภิวัฒน์ คำมะโนชาติ ID 5131601042

ลือ “หอกหัก” แพ้ภัยตัวเอง! เตรียมไขก๊อกทิ้งเก้าอี้ หน.พรรค



“ราษฎรอาวุโส” เตือนกลุ่มหนุน “หมัก” นั่งเก้าอี้นายกฯ รอบสอง หวังก่อให้เกิดความรุนแรงในบ้านเมือง ชี้คุณสมบัติผู้นำคนใหม่ต้องไม่ก้าวร้าวแต่เชื่อปัญหาจะไม่จบสิ้นเพราะแกนนำพปช.ล้วนเป็นนอมินี ล่าสุดรายงานข่าวแจ้งว่า “หอกหัก” ถอดใจแล้ว เตรียมลาออกจากหัวหน้าพรรคเปิดทางเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีคนใหม่
วันนี้ (12 ก.ย.) ศ.นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส กล่าวว่า หากทางพรรคพลังประชาชนยังดึงดันสนับสนุนให้ นายสมัคร สุนทรเวช กลับเป็นนายกรัฐมนตรี เชื่อจะเกิดความรุนแรงขึ้นอย่างแน่นอน เพราะที่ผ่านมาคนที่สนับสนุนให้นายสมัครเป็นนายกรัฐมนตรีจงใจที่จะทำให้เกิดความรุนแรงในบ้านเมืองแต่ต้น เนื่องจากนายสมัครเป็นคนที่มีบุคคลิกพิเศษ ซึ่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่จะต้องไม่ก้าวร้าว รุนแรง และต้องพร้อมที่จะประนีประนอมให้มาก แต่ถึงแม้ทางพรรคพลังประชาชนจะไม่เสนอนายสมัคร และเสนอชื่อบุคคลอื่นแทนแต่ยังคงเป็นนอมินีของคนที่เคยสนับสนุนนายสมัครอยู่เดิม เชื่อว่าปัญหาจะยังคงอยู่
นอกจากนี้ ศ.นพ.ประเวศ ยังกล่าวอีกว่า หากต้องการให้ประเทศเกิดความสงบ ทุกคนจะต้องมีจินตนาการใหม่ร่วมกันเพื่อให้เกิดพลังในการแก้ไขปัญหา ทำให้ประชาธิปไตยเป็นอารยะประชาธิปไตย ก้าวไปสู่สังคมใหม่ที่ดีไปอีก 5 ปีข้างหน้า
ล่าสุด มีรายงานว่า นายสมัคร สุนทรเวช อาจตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคพลังประชาชน เพื่อให้พรรคมีอิสระในการตัดสินใจทางการเมือง และคัดสรรบุคคลที่เสนอให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่

วิเคราะห์
ถ้านายสมัคร สุนทรเวช ยอมถอยออกมาตั้งแต่ต้นเรื่องมันคงไม่บานปลายถึงจุดนี้แต่นายกคนใหม่ก็คงเป็นตัวแทนจากพรรคพลังประชาชนอยู่ดีดังนั้นสถานการณ์ก็จะยังไม่สงบง่ายๆแต่อย่างน้อยก็คงพอลดความรุนแรงลงได้บ้าง

ขอขอบคุณแหล่งข่าวจากhttp://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9510000108368

โดย นายรวมเลิศ สุภานันท์ 5131601165

"ปลาไหล"ขยาดยุบพรรค หั่นทิ้งกก.บห.เหลือหนึ่งโหล

ที่ประชุมกรรมการบริหารพรรคชาติไทย ตัดสินใจยุบกรรมการบริหารพรรคจาก 34 คนเหลือเพียง 12 คน รองรับคำสั่งยุบพรรค ขณะที่"น้องแบม"ทิ้งหน้าที่โฆษก เติ้งรับบทประชาสัมพันธ์จำเป็น
วันนี้ (12 ก.ย.) ในการประชุมใหญ่พรรคชาติไทยประจำปี 2551 ที่ห้องฟีนิกซ์ เมืองทองธานี เพื่อรับรองรายงานการประชุมพรรคชาติไทยและเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชาติไทยชุดใหม่ โดยที่ประชุมกรรมการบริหารชุดใหม่จากเดิม 34 ตำแหน่งเหลือเพียง 12 ตำแหน่ง ประกอบด้วย นายบรรหาร ศิลปอาชาเป็นหัวหน้าพรรคชาติไทย นายประภัตร โพธสุธน เป็นเลขาธิการพรรค นายจองชัย เที่ยงธรรม และนายนิกร จำนง เป็นรองหัวหน้าพรรค นายเกษม สรศักดิ์เกษม รองเลขาธิการพรรคและเป็นนายทะเบียนสมาชิกพรรค นายธรรมา ปิ่นสุกาญจนะ เป็นเหรัญญิก นางสาวปอรรัชม์ ยอดเณร เป็นโฆษกพรรค ส่วนกรรมการบริหารพรรคมีแค่ 4 คน คือ นายธีรวัฒน์ ศิริวัณสาณฑ์ นางสุจิตรา ผาลีพัฒน์ นายมงคล โคว้วัฒนะวงษ์รักษ์ นายไพศาล ชโนวรรณ ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าการแต่งตั้งกรรมการบริหารในครั้งนี้ผู้ที่ได้รับคัดเลือกเป็นนั้นส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นส.ส.พร้อมทั้งตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคก็ได้มีการลดจากเดิม 6 คนเหลือเพียง 2 คนโดยได้ถอดนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล นายอนุรักษ์ จุรีมาศ นางสาวกัญจนา ศิลปอาชา นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ออกจากตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคชาติไทยด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในการประชุมใหญ่ของพรรคชาติไทย เป็นที่น่าสังเกตว่านางสาวจณิสตา ลิ่วเฉลิมวงศ์ อดีตโฆษกพรรคชาติไทยไม่ได้มาร่วมการประชุมครั้งนี้ซึ่งทำให้สมาชิกพรรคหลายคนต่างสอบถามกันว่านางสาวจณิสตาหายไปไหนและได้ลาออกจากสมาชิกพรรคแล้วหรือ และในการประชุมพรรคก็ได้มีมติแต่งตั้งโฆษกพรรคชาติไทยคนใหม่คือนางสาวปอรรัชม์ อย่างไรก็ตามนางสาวจณิสตาก็ยังเป็นสมาชิกพรรค ยังไม่ได้มีการลาออกแต่อย่างใด
วิเคราะห์
จากข่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่านายบรรหารคาดแล้วแล้วว่ารัฐบาลจะมีการยุบสภาดังนั้นจึงต้องแก้เกมด้วยวิธีนี้
ขอขอบคุณแหล่งข่าวจากhttp://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9510000108348
โดย นายรวมเลิศ สุภานันท์ 5131601165

วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2551

โหวตเลือกนายกฯ! ล่ม ส.ส.เข้าไม่ครบ เลื่อนเป็น 17 ก.ย.


วันนี้ (12 กันยายน) เวลา 06.50 น. นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข ส.ส.อีสานพัฒนา พรรคพลังประชาน กล่าวถึงการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีที่จะมีขึ้นในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ว่า เชื่อว่า ส.ส.จากกลุ่มต่างๆ ทั้งอีสานพัฒนา ส.ส.กลุ่มเหนือ กลุ่มวาดะห์ ฯลฯ กว่า 70 เสียงขึ้นไป จะไม่มีทางโหวตเลือกนายสมัคร สุนทรเวช กลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง ตามมติของพรรคพลังประชาชนอย่างแน่นอน เนื่องจากทุกคนก็รู้ว่านายสมัครไม่มีความเหมาะสม ดูได้จากนิสัยของนายสมัคร ที่คิดว่าตัวเก่งและถูกตลอดเวลา การไม่รับฟังความคิดเห็นใคร ซึ่งสื่อมวลชนก็ทราบดีว่า นายสมัครนั้นตั้งแง่อย่างไร
"ถ้าหากในที่ประชุมสภาเลือกนายสมัครกลับมาอีกครั้ง ความวุ่นวายก็จะเกิดขึ้นอย่างไม่รู้จบ และมีทีท่าว่าจะเกิดความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ตนอยากจะบอกให้พรรคพลังประชาชนและพรรคร่วมเอาประเทศชาติไว้ก่อนจะดีกว่า ใครจะว่าอย่างไรก็ช่าง ด้วยการเลือกคนที่เหมาะสมมาเป็นนายกรัฐมนตรี การที่ ส.ส.ทั้งเหนือและอีสานหลายๆ คน จะลงคะแนนให้นายสมัคร ก็เพราะว่าอาจต้องมนต์เขมร ที่ปัดเป่าทำให้เกิดอะไรขึ้นกับประเทศไทยถึงได้เป็นอย่างนี้ไปเสียหมด ซึ่งการที่ใครๆ ต่างเลือกนายสมัครเป็นนายกรัฐมนตรี ก็เพราะนายสมัครคงมีของดี มีคนพูดว่ามนต์เขมรขลัง กล่อมใครก็อยู่หมัด" นายปรีชา กล่าว ด้าน นายปรีชา ยืนยันว่าจะไม่มีการโหวตสวน คือ ไปเลือกเอานายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ มานั่งนายกรัฐมนตรีแทนอย่างแน่นอน เนื่องจากโดยมารยาทางการเมืองแล้ว กลุ่มตนก็ต้องให้เกียรตินายสมัครที่เป็นหัวหน้าพรรคอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลา 09.40 น. นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เปิดการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 23 ปีที่ 1 ครั้งที่ 14 (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) เป็นพิเศษ โดยนายบัญญัติ บรรทัดฐาน ส.ส.ระบบสัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ ลุกขึ้นเสนอนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นนายกรัฐมนตรี และมีผู้เข้าร่วมประชุม 145 เสียง มีผู้ให้การรับรอง 144 เสียง งดออกเสียง 1 เสียง จากนั้น นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ รองเลขาธิการพรรคพลังประชาชน ลุกขึ้นถกเถียงถึงระเบียบขั้นตอน รวมทั้งขอให้ประชุมสภาผู้แทนราษฎรนับองค์ประชุม โดยนายชัย ประกาศมีผู้เข้าร่วมประชุม 161 คน ดังนั้น ไม่ครบองค์ประชุมที่ต้องมี ส.ส.เข้าประชุม 233 คน จึงได้นัดประชุมเลือกนายกรัฐมนตรีอีกครั้งในวันพุธที่ 17 กันยายน เวลา 09.30 น. และทำการปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรแล้ว
โดยเป็นที่น่าสังเกตว่าพรรคร่วมรัฐบาลไม่ได้เข้าร่วมประชุมแต่อย่างใด ทั้งนี้ มีรายงานว่าแกนนำแต่ละพรรคร่วมรัฐบาลได้โทรศัพท์แจ้งไปยังแกนนำพรรคพลังประชาชนว่า จะไม่ขอร่วมประชุมเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรี และถ้าพรรคพลังประชาชนยังดึงดันจะเสนอนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป พรรคร่วมทั้งหมดก็จะถอนตัวออกจากพรรคร่วมรัฐบาล
ขณะที่ นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล พรรคชาติไทย กล่าวว่า ที่ไม่ร่วมประชุมไม่ใช่อริยะขัดขืน แต่พรรคพลังประชาชนไม่ให้ความชัดเจน จึงต้องรอดูสถานการณ์ไปก่อน ไม่ใช่เรื่องสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนนายสมัคร สุนทรเวช คงต้องรอดูวันพุธที่ 17 กันยายน ในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีครั้งต่อไป
โดย น.ส. ชลินันท์ จันทะนาม ID: 5131601037

ส.ว.จี้ต่อมสำนึกสภา แนะยึดคำตัดสินศาล รธน.โหวตเลือกนายกฯ



ส.ว.ยื่นข้อเสนอสภาผู้แทนราษฎร หยิบยก 7 ข้อเสนอคุณสมบัตินายกรัฐมนตรีเข้าสู่การพิจารณาในวันพรุ่งนี้ เตือนให้เคารพคำตัดสินศาล รธน.เป็นหลักการคัดสรรตัวบุคคล ค้านจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ เพราะไม่มีฝ่ายตรวจสอบ

วันนี้ (11 ก.ย.) น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการตรวจสอบการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล พร้อมด้วยนายประสาร มฤคพิทักษ์ ส.ว.สรรหา น.ส.สุมล สุตะวิริยะกุล ส.ว.เพชรบุรี นายสาย กังกเวคิน ส.ว.ระยอง ร่วมแถลงข่าวเสนอคุณสมบัติ 7 ประการ ของผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี
โดย น.ส.รสนา กล่าวว่า บุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งสำคัญนี้จะต้องมีคุณสมบัติ 7 ประการ คือ 1.ต้องมีความอดทน ตั้งใจในการแก้ไขปัญหาของประเทศ โดยยึดหลักสันติวิธี 2.มีจิตสำนึก ซื่อสัตย์ และบริหารงานอย่างมีธรรมาภิบาล ประชาชนสามารถตรวจสอบได้ 3.จะต้องเป็นผู้ที่ทำประชาชนเกิดความไว้วางใจ และมีเสถียรภาพ 4.ไม่เป็นผู้สร้างเงื่อนไขในการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายจนนำไปสู่ความแตกแยก 5.จะต้องมาจากระบบรัฐสภา 6.มีวิสัยทัศน์ในการปฏิรูปการเมือง ใจกว้าง และพร้อมรับฟังความคิดเห็น และ 7.เปิดโอกาสให้ประชาชน สื่อมวลชน และองค์กรต่างๆ สามารถแสดงความคิดเห็นทางการเมืองได้โดยไม่ถูกครอบงำ ทั้งนี้ขอให้ทางสภาผู้แทนราษฎรหยิบยกข้อเสนอทั้ง 7 ประการเข้าสู่การพิจารณาเพื่อให้เกิดการปฏิรูปการเมือง ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน และประเทศชาติ
เมื่อถามว่า มติของพรรคพลังประชาชนยังคงยืนยันส่งนายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชนขึ้นดำรงตำแหน่งนายกฯ อีกครั้ง น.ส.รสนา กล่าวว่า สาเหตุที่ทางกรรมาธิการเสนอแนะคุณสมบัติเพราะต้องการเตือนสติให้สภาฯ ได้คำนึงถึงสภาวการณ์ที่ไม่ปกติในขณะนี้ รวมทั้งสภานิติบัญญัติต้องช่วยกันแก้ปัญหาและตั้งสติในเรื่องนี้ เมื่อถามว่า หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เข้าข่ายกับคุณสมบัติทั้ง 7 ประการหรือไม่ นายประสาร กล่าวว่า เราไม่ได้เน้นที่ตัวบุคคล ซึ่งหากเอ่ยชื่อไปจะเป็นการชี้นำ ซึ่งไม่เหมาะสม แต่ทั้งนี้ตนเห็นว่าเป็นใครก็ได้ แต่ต้องไม่ทำให้เกิดปัญหา ทั้งนี้ เชื่อว่าหนทางยังมีอยู่ ซึ่งบางทีไม่จำเป็นต้องมองเฉพาะตัวหัวหน้าพรรคเสมอไป เพราะอาจมีข้อจำกัดต่างๆ
นอกจากนี้ตนเห็นว่าสภาฯ ควรเป็นผู้ใช้วิจารณญาณกลั่นกรองเอง เมื่อถามว่า ส.ว.เห็นด้วยกับแนวคิดจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติหรือไม่ น.ส.รสนา กล่าวว่า ขณะนี้ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ ประเทศจำเป็นต้องมีฝ่ายตรวจสอบ จึงเห็นว่าควรยึดแนวทางตามระบอบรัฐสภาเหมือนเดิม ด้าน น.ส.สุมล กล่าวว่า โดยส่วนตัวสภาวการณ์เช่นนี้ หากประเทศไม่มีทางออกจริงๆ ตนเห็นว่าการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติชั่วคราวก็เป็นสิ่งที่ทำได้ และยอมรับได้ นอกจากนี้อยากเสนอแนะให้ทุกฝ่ายว่าอย่าพยายามเอาชนะกัน ควรเคารพคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะส่งผลให้สถานการณ์บ้านเมืองคลี่คลาย
นางสาวศิริรัตน์ ลังกาพิน 5131601185
นางสาววิชญ์สุภา ชลสวัสดิ์ 5131601175

ข้อคิดดีๆทางการเมืองจาก "พ่อ"


"เพราะว่าเป็นประเทศของเรา
ไม่ใช่ประเทศของหนึ่งคนสองคน เป็นประเทศของคนทุกคน
เพราะปัญหามีอยู่ที่เวลาเกิดจะใช้คำว่า บ้าเลือด
เวลาคนมีการปฎิบัติรุนแรงมันลืมตัว
ลงท้ายเขาไม่รู้ว่าตีกันเพราะอะไรแล้วก็จะแก้ปัญหาอะไร
เพียงแต่ว่าจะต้องเอาชนะแล้วใครจะชนะ ไม่มีทางอันตรายทั้งนั้น
มีแต่แพ้คือต่างคนต่างแพ้ผู้ที่เผชิญหน้าก็แพ้แล้วที่แพ้ที่สุดก็คือประเทศชาติ
ประชาชนจะเป็นประชาชนทั้งประเทศไม่ใช่ประชาชนเฉพาะในกรุงเทพมหานคร
ถ้าสมมติว่าเฉพาะในกรุงเทพมหานครเสียหายไปประเทศก็เสียหายไปทั้งหมด
แล้วก็จะมีประโยชน์อะไรที่จะทะนงตัวว่าชนะเวลาอยู่บนกองซากปรักหักพัง"

"พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว"

พวกเราลูกๆ เป็นข้าของแผ่นดินก็คิดกันดูเถอะ ขนาด " พ่อ " ยังตรัสแบบนี้แล้วเราที่เป็นลูกยังสำนึกไม่ได้แล้วอนาคตบ้านเมืองจะเป็นไปยังไงต่อไป

นางสาวศิริรัตน์ ลังกาพิน 5131601185

" คิดให้ดี "



การเมืองไทยตกหลุมอากาศทันที หลังศาลรัฐธรรมนูญชี้ว่า “สมัคร สุนทรเวช” ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจากคดีชิมไปบ่นไป

รัฐบาลผสม 6 พรรคที่ดิ้นสู้ฟัดมา 7 เดือน กลายเป็นรัฐบาลมีแต่ตัวหัวไม่มีเพราะ “สมัคร สุนทรเวช” พ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเฉพาะตัว

ส่วนคณะรัฐมนตรีที่เหลือทั้งหมดยังอยู่รักษาการต่อไป จนกว่าจะมีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่เข้ามาเสียบแทน
ก็หมายความว่า...“สมชาย วงศ์สวัสดิ์” รองนายกฯคนที่ 1 จะเป็นผู้รักษาการนายกรัฐมนตรีชั่วคราว
เท่ากับการบริหารประเทศต้องหยุดชะงักครบวงจร

โอ้อุแม่เจ้า วุ่นวายขายปลาช่อนซะนี่กระไร

อนึ่ง มีเสียงวิจารณ์ว่าการที่ “สมัคร” ตกเก้าอี้เพราะการเป็นพิธีกรรายการทีวี เป็นความผิดที่ไม่เจตนา
แต่ “แม่ลูกจันทร์” เห็นว่าเรื่องนี้ “สมัคร” ต้องโทษตัวเอง!!ในเมื่อรู้อยู่แล้วว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้วางกับดักเอาไว้หลายแง่หลายมุมรู้อยู่เต็มอกเต็มใจว่ามีคนจ้องจะเจาะยาง“สมัคร” จึงต้องระวังไม่สร้างเงื่อนไขให้เข้าง่ามที่จะโดนเช็กบิล

ข้อสำคัญ เมื่อมีสถานะเป็นนายกรัฐมนตรี ก็ไม่ควรไปรับจ๊อบพิธีกรทีวีให้เป็นที่ครหานินทา
แต่ความดื้อด้านขวานถากของคุณน้าแกที่เรียนจบกฎหมายเหมือนกัน จึงมั่นใจว่าการเป็นพิธีกรทีวีไม่ขาดคุณสมบัติรัฐมนตรีตามมาตรา 267 ของรัฐธรรมนูญ
เพราะเป็นการ “รับจ้าง” ไม่ใช่เป็น “ลูกจ้าง” ตามคำจำกัดความคำว่า “ลูกจ้าง” ใน ก.ม.แพ่ง และ ก.ม.แรงงาน


แต่เมื่อศาลรัฐธรรมนูญลงมติเอกฉันท์ ว่า “รับจ้าง” หรือ “ลูกจ้าง” ก็ถือว่าได้รับผลประโยชน์จากบริษัทเอกชนเหมือนกัน“สมัคร” จึงต้องกระเด็นตกเก้าอี้เพราะขาดคุณสมบัติรัฐมนตรี เอวังก็มีประการฉะนี้แล


สรุปว่าพิษของชิมไปบ่นไป ทำให้ต้องเรียกประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อโหวตเลือก ส.ส.คนใดคนหนึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ให้เสร็จภายใน 30 วันถือเป็นช่องว่างที่จะมีการสลายขั้วการเมือง

แต่ถ้า 6 พรรคร่วมรัฐบาลเดิมยังล็อกกันแน่นเหมือนเดิม ก็จะได้นายกฯคนใหม่ (หน้าเก่า) กลับมาอย่างแน่นอนและก็จะได้คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ (หน้าเดิม) กลับมาด้วยยกทีม!!

เพราะในสถานการณ์ร้อนๆอย่างนี้ไม่มีใครอยากเป็นหนังหน้าไฟ นอกจาก อดีตพิธีกรชิมไปบ่นไปผู้มีความทนทานอึ้ดทึ่ด สามารถรับแรงกระแทกจากทุกทิศทางเป็นนักการเมืองมือเก๋าที่ผ่านการเคี่ยวกรำมา 40 ปี
แถมมีคุณสมบัติพิเศษ คือหนังเหนียวเคี้ยวยาก และมีสัมพันธ์ที่ดีกับทหารทุกระดับประทับใจแต่อย่าลืม...ว่า “สมัคร” ยังมีวิบาก กรรมซ้ำซ้อนรอคิวอีก 3 คดี


คือคดีที่ กกต.ส่งเรื่องยุบพรรคพลังประ-ชาชนให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา
คดีทุจริตซื้อรถ เรือดับเพลิงที่ ป.ป.ช.จะยื่นฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญานักการเมือง
และคดีที่นายกฯสมัครถูกฟ้องเป็นจำเลยคดีหมิ่นประมาท ศาลชั้นต้นตัดสินจำคุก 2 ปี ไม่รอลงอาญา
วันที่ 25 เดือนนี้ ศาลอุทธรณ์จะนัดอ่านคำพิพากษาคดีนี้ในวันที่ 25 กันยายน หรืออีก 2 สัปดาห์จากนี้ไป
สรุปว่า ในเมื่ออนาคตการเมืองของ “สมัคร” ยังลูกผีลูกคน ถ้าใส่ตะกร้าล้างน้ำ กลับมาเป็นอีกครั้งจะอยู่ได้สั้น? หรือยาว?

ถ้าไม่เปลี่ยนตัวนายกฯ การเมืองจะยิ่งตึงเครียด? หรือจะคลี่คลาย?
โปรดใช้สะดือตรองก่อนที่จะตัดสินใจ.
ข้อความโดย แม่ลูกจันทร์ หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ

http://www.thairath.com/news.php?section=hotnews03&content=103698
ภาพจาก www.innnews.co.th
อาจจะเป็นอีกเรื่องนึงนะครับที่ยังต้องมา Discuss กันต่อเรื่องอนาคตของการเมืองไทยจะเป็นอย่างไรต่อไปครับบบบบบบบ

Post By

Mr.Nuttachai Nalampang ID 5131601061
Mr.Nattapon Pintasan ID 5131601065

วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2551

@ สาไถย @ โดย "เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์"

@ผิดฉกรรจ์ขั้นอุกฤษฎ์ คือความผิดสามประการ หนึ่งคือรัฐบาล ทำหน้าที่ดั่งตัวแทน
@เร่งแก้รัฐธรรมนูญ เพื่อเกื้อกูลแก่แก่นแกน พรรคเก่าที่ถูกแขวน ถูกยุบทว่า ยังยุบยับ
@สองคือเสียเขตเขา พระวิหารถึงตาอับ อาณาคณานับ อธิปไตยอธิปตาย
@สามคืออำนาจโฉด อันฉ้อฉลให้ฉิบหายน์ โครงการล้านล้านร้าย ล้วนต้มโคล้งเพื่อโกงกิน
@หุ่นเชิดและขายชาติ อำนาจโฉดอันโหดหิน คืออันธพาลภิน- ทนาเภท ประเทศไทย
@โล่งโจ้งจนล่อนจ้อน อนิจจา ยังสาไถย อ้างประชาธิปไตย แท้ผีเปรตเผด็จการ!

ที่มา http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9510000105567

โดย นายรวมเลิศ สุภานันท์ 5131601165

จับตาแคนดิเดตนายกฯ รองโฆษก พปช.รับมีสายตรงจากลอนดอน!

สมชาย วงศ์สวัสดิ์ หนึ่งในแคนดิเดตนายกฯคนใหม่
บรรยากาศการประชุมพรรค พปช.เพื่อลงมติเสนอชื่อบุคคลเป็นนายกฯ คนใหม่ เป็นไปอย่างคึกคัก ส.ส.พปช.ทยอยเข้าประชุม แต่ยังไร้เงา “หมัก” - “รองโฆษกฯ” ยันเสียงส่วนใหญ่ยังหนุน “หมัก” รับมีสายตรงจาก “แม้ว” แต่ปัดไม่ใช่เสียงชี้ขาดเลือกนายกฯ ใหม่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศการประชุมพรรคพลังประชาชนเพื่อลงมติเสนอชื่อบุคคลเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ในวันนี้ (11 ก.ย.) เป็นไปอย่างคึกคัก โดย ส.ส.และแกนนำต่างทยอยเดินทางมาร่วมประชุมแล้ว อย่างไรก็ตาม ยังไม่พบนายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคฯ เดินทางมาร่วมประชุมแต่อย่างใด นายสุทิน คลังแสง รองโฆษกพรรคพลังประชาชน เปิดเผยก่อนการประชุมว่า เชื่อว่าในวันนี้จะได้มติชัดเจนในการประชุม ว่าจะเสนอชื่อใครเป็นนายกรัฐมนตรี แต่คงไม่เป็นเอกฉันท์ เพราะเห็นว่าจะมีการเสนอชื่อทั้งนายสมัคร นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รองหัวหน้าพรรค เพราะต่างมีความเห็นที่ต่างกัน แต่ยืนยันว่าเสียงส่วนใหญ่จะยังสนับสนุนนายสมัครเป็นส่วนมาก และแม้มติจะไม่เป็นเอกฉันท์สมาชิกก็ต้องเคารพ นอกจากนี้ รองโฆษกพรรคพลังประชาชน ยังระบุด้วยว่าจะต้องรับฟังความคิดเห็นของอดีตพรรคร่วมรัฐบาลนำมาประกอบในการตัดสินใจก่อนแถลงข่าวร่วมกันในช่วงบ่ายวันนี้ ทั้งนี้ ยอมรับว่ามีสายตรงจากลอนดอนในฐานะเสียงหนึ่งของคนไทยที่หวังดีต่อบ้านเมือง ไม่ใช่เสียงชี้ขาด และยอมรับว่าไม่ว่าจะเป็นบุคคลใดได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี การบริหารบ้านเมืองคงไม่ราบรื่นนัก เนื่องจากพันธมิตรฯ ไม่ยอมรับ ส่วนความเคลื่อนไหวที่พรรคชาติไทย นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรค ได้เรียกประชุมสมาชิกพรรคตั้งแต่เวลา 09.00 น.เพื่อสอบถามท่าทีสมาชิกพรรค รวมทั้งขอความเห็นจากที่ประชุมว่า หากจะต้องสนับสนุนพรรคพลังประชาชน จะรอฟังว่าพรรคพลังประชาชนจะเสนอใครเป็นนายกรัฐมนตรี และเวลา 11.30 น. 5 พรรคการเมืองร่วมรัฐบาลประกอบด้วย พรรคชาติไทย พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรคมัชฌิมาธิปไตย พรรคประชาราช และพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา จะมีการประชุมกันที่โรงแรมพลาซ่า แอทธินี

วิเคราะห์
จากข่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่าแม้แต่ในพรรคพลังประชาชนเองก็เริ่มมีเสียงแตกแยกแล้วเกี่ยวกับนายกคนใหม่แต่หากมีนายกคนใหม่ที่ไม่ใช่นายสมัคร ก็คงจะทำให้พรรคพปช.อาจจะได้รับเสียงสนับสนุนน้อยลงเพราะลุงหมักเป็นหน้าตาของพรรคและเป็นตัวแทนของคุณทักษิณด้วย

ขอขอบคุณแหล่งข่าวจาก http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9510000107622

โดย นายรวมเลิศ สุภานันท์ 5131601165

วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551

พปช.หวั่นพรรคร่วมเปลี่ยนขั้ว มัดมือ ส.ส.โหวต “นายกฯ” ศุกร์นี้


หลังจากที่ศาล รธน.มีมติชี้ “หมัก” ขาดคุณสมบัติ คดีชิมไปฯ ปธ.สภา และวิป รบ.เร่งหารือเป็นการด่วน มีมติเรียกประชุมสภา โหวตเลือกนายกฯศุกร์นี้ “ชัย” ปัดไม่หวั่นพรรคร่วม รบ.อาจเปลี่ยนขั้ว

วันนี้ (9 ก.ย.) ที่รัฐสภา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 18.00 น.นายวิทยา บุรณศิริ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล หรือ วิปรัฐบาล เดินทางเข้าพบ นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภาผู้แทนราษฎร เพื่อหารือขอเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรพิเศษ เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรี โดยใช้เวลาหารือประมาณ 10 นาที จนกระทั่งเวลา 18.15 น.ด้าน นายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาได้นำแฟกซ์คำวินิจฉัยกลางของศาลรัฐธรรมนูญไปมอบให้กับ นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ในห้องทำงาน จากนั้น นายชัย ให้สัมภาษณ์ว่า ตนได้นัดประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อโหวตเลือกนายกฯในวันศุกร์ที่ 12 ก.ย. เวลา 09.30 น.โดยค่ำวันเดียวกันจะส่งหนังสือเชิญ ส.ส.นัดประชุมตามระเบียบวาระภายใน 3 วัน บ้านเมืองเราจะขาดประมุข 3 สถาบันไม่ได้ ฝ่ายนิติบัญญัติจะต้องมีประธานสภา ฝ่ายบริหารจะต้องมีนายกฯ ฝ่ายตุลาการต้องมีประธานศาลฎีกา ซึ่งจะต้องมีครบทั้ง 3 องค์ประกอบ ส่วนใครจะเป็นนายกฯก็ต้องแล้วแต่สภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้เลือก ผู้สื่อข่าวถามว่า ที่บรรจุวาระเร่งด่วนกลัวพรรคร่วมรัฐบาลเปลี่ยนขั้วใช่หรือไม่ นายชัย กล่าวว่า ไม่กลัวการเปลี่ยนขั้ว และคงไม่เกี่ยวกัน ตนทำหน้าที่ให้พ้นภาระประธานเท่านั้น นายวิทยา เปิดเผยภายหลังการเข้าพบ ว่า ขณะนี้ต้องรอหนังสือคำวินิจฉัยกลางของศาลรัฐธรรมนูญก่อน ทั้งนี้ ยังตอบไม่ได้ว่าจะเปิดประชุมเลือกนายกฯได้วันใด แต่ยืนยันว่า พรรคพลังประชาชน ยังสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกฯ ผู้สื่อข่าวถามว่า ที่ประชุมลงมติเลือก นายสมัคร เป็นนายกฯ ไม่กลัวพันธมิตรฯต่อต้าน นายวิทยา กล่าวว่า พันธมิตรฯเป็นอย่างไรก็รู้อยู่ แต่เราอยู่ในกฎกติกาและระบอบประชาธิปไตย แต่พันธมิตรฯอยู่นอกกฎกติกา อย่างไรก็ตาม นายสมัคร สามารถกลับมาเป็นนายกฯได้ เพราะต้องดูว่าเขาพ้นตำแหน่งในเรื่องใด เป็นเรื่องส่วนตัว แต่ไม่ใช่การกระทำความผิดในการปฏิบัติหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดิน ผู้สื่อข่าวถามว่า เรื่องการสร้างหลักฐานเท็จ ไม่เพียงพอต่อจริธรรมที่จะรับตำแหน่งนายกฯหรือไม่ นายวิทยา กล่าวว่า ตนฟังคำวินิจฉัยของศาลอยู่ การสิ้นสุดจากตำแหน่งเป็นเรื่องของส่วนตัว อย่าตีความไปมากกว่านี้ เมื่อถามต่อว่า มั่นใจในเสียงของพรรคร่วมรัฐบาลในการโหวตให้นายสมัครเป็นนายกฯหรือไม่ นายวิทยา กล่าวว่า เป็นหน้าที่ของกรรมมาธิการบริหารพรรคที่จะดำเนินการ

ร่วมคิด
ข่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่าลุงหมักยังไม่ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเสียทีเดียวดังนั้นถ้ามีการโหวตก็ยังเป็นนายกได้อยู่แต่ก็ไร้ความน่าเชื่อถือและหมดความศักดิ์สิทธิ์ไปแล้ว

สร้างสรรค์โดย
น.ส.เกษศิณี กรกนก 5131601012
นายณัฐชัย ณ ลำปาง 5131601061
นายชาญภิวัฒน์ คำมะโนชาติ 5131601042
นายรวมเลิศ สุภานันท์ 5131601165
น.ส. วรรณิศา ธะนาคำ 5131601169

อะไรจะเกิดขึ้น หลังจากนี้ !



และแล้ว นายสมัคร สุนทรเวช ก็ต้องลงจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพราะคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญ คดี ชิมไปบ่นไปของ พี่แกนั่นแหล่ะครับ














ฝ่ายพลังประชาชนก็ลงความเห็นเอาลุงหมักกลับเข้ามาเป็นนายกเหมือนเดิม เพราะมีหนทางที่จะทำได้อยู่





แต่ฝ่าย PAD หรือ พันธมิตรที่ว่าก็ไม่ยอมครับ หลังดีใจกับคำพิพากษาของศาลได้ไม่นาน ก็ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 21/2551(ดูได้ตามบทความด้านล่าง) และชุมนุมต่อไป

อย่างนี้ คนเดินดินอย่างเราๆ จะคิดยังไงหล่ะครับ มันก็ต้องกลับไปเป็นเหมือนเดิม หรือว่าจะเกิดอะไรซักอย่างขึ้นในประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของเมืองไทยนี่

น่าคิดตามนะคับ ท่านคิดยังไงกันก็มาประมวลกันตามประสาคนไทยสไตล์ ST @ Politicssssssss นะครับ

รูปภาพดีๆจาก

http://www.manager.co.th/

http://www.thairath.co.th/
http://www.innnews.co.th/


สร้างสรรค์โดย

น.ส.เกษศิณี กรกนก 5131601012

นายณัฐชัย ณ ลำปาง 5131601061

นายชาญภิวัฒน์ คำมะโนชาติ 5131601042

นายรวมเลิศ สุภานันท์ 5131601165

น.ส. วรรณิศา ธะนาคำ 5131601169

พันธมิตรฯ แถลงชุมนุมต่อหลัง"หมัก"สิ้นสภาพนายกฯ

เมื่อเวลา 21.30 น. วันที่ 9 ก.ย. นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้อ่านแถลงการณ์พันธมิตรฯ ต่อกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้นายสมัคร สุนทรเวช พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ฐานกระทำผิดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 267 กรณีเป็นพิธีกรรายการ"ชิมไปบ่นไป" และ "ยกโขยงหกโมงเช้า" ดังนี้

แถลงการณ์ฉบับที่ 21/2551
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
เรื่อง
ชุมนุมต่อเนื่องหลังนายสมัคร สุนทรเวชสิ้นสุดการเป็นนายกรัฐมนตรี
ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยเมื่อเวลา 15.30 น. วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551 ว่านายสมัคร สุนทรเวช สิ้นสุดการเป็นนายกรัฐมนตรี เพราะฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กรณีการจัดรายการทางสถานีโทรทัศน์และรับผลตอบแทนในการจัดรายการชิมไปบ่นไป และรายการยกโขยง 6 โมงเช้า โดยได้รับผลตอบแทน คำนึงแต่ผลประโยชน์ส่วนตนไม่ใช่เพื่อประโยชน์สาธารณะ เป็นผลให้นายสมัคร สุนทรเวช ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยทันที พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจึงประชุมและแถลงจุดยืนดังต่อไปนี้
1. พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยถือว่า นายสมัคร สุนทรเวช ได้สิ้นสุดการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ถือเป็นหลักฐานการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยซ้ำซาก ภายหลังจากที่ได้กระทำผิดรัฐธรรมนูญในกรณีมติคณะรัฐมนตรีในการลงนามแถลงการณ์ร่วมระหว่างไทยกับกัมพูชาเพื่อยกปราสาทพระวิหารให้กัมพูชาขี้นทะเบียนมรดกโลกแต่เพียงฝ่ายเดียวโดยไม่มีอำนาจตามคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 การกระทำผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของชาติที่ได้ผ่านประชามติของคนส่วนใหญ่ในประเทศกว่า 14 ล้าน 7 แสนคน จึงย่อมเป็นเครื่องยืนยันของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยอีกครั้งหนึ่งว่า นายสมัคร สุนทรเวช และคณะรัฐบาลหุ่นเชิดไม่เคารพต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญ และหมดความชอบธรรมในการบริหารประเทศไปนานแล้ว
2. พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยยังคงธำรงความมุ่งหมายเดิมในภารกิจศักดิ์สิทธิ์ เพื่อปกป้องพิทักษ์รัฐธรรมนูญเพื่อมิให้นำมาแก้ไขใช้เป็นเครื่องมือในการฟอกความผิดของตัวเองและพวกพ้องทั้งในการทุจริตคอร์รัปชั่นและการโกงการเลือกตั้ง โค่นล้มระบอบทักษิณ ขับไล่รัฐบาลหุ่นเชิด ตลอดจนสร้างการเมืองใหม่ให้เป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขอย่างแท้จริง บัดนี้ ศาลรัฐธรรมนูญได้พิพากษาให้นายสมัคร สุนทรเวช สิ้นสุดการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้ว พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจึงถือว่าคำพิพากษาดังกล่าว เป็นส่วนสำคัญที่พิสูจน์ความชอบธรรมในการชุมนุมเพื่อต่อต้านรัฐบาลที่กระทำผิดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ ดังนั้นภารกิจศักดิ์สิทธิ์ต่อการใช้สิทธิชุมนุมตามรัฐธรรมนูญในทำเนียบรัฐบาลยังไม่สิ้นสุด และต้องดำเนินการต่อไป
3. เพื่อคลี่คลายวิกฤติที่สุดในโลก และมิให้ประเทศชาติล่มจมต่อไป พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจึงขอเตือนต่อสภาผู้แทนราษฎรให้สนับสนุนคนดีให้มีอำนาจ และปกป้องมิให้คนไม่ดีมีอำนาจ อย่าได้นำเสนอชื่อบุคคลใดก็ตามที่มีประวัติด่างพร้อย กระทำผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ ตระบัดสัตย์ต่อมวลมหาชน แสดงพฤติกรรมเป็นหุ่นเชิดเพื่อช่วยเหลือหรือปกป้องผู้กระทำความผิดต่อกฎหมายในระบอบทักษิณมาเป็นนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีอีกเป็นอันขาด
4. พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยขอประณามการมีมติของพรรคพลังประชาชนที่จะสนับสนุนนายสมัคร สุนทรเวช ให้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ทั้งๆที่ได้กระทำความผิดต่อรัฐธรรมนูญ ว่าเป็นกลุ่มนักการเมืองที่ไร้ซึ่งจริยธรรมและหมดความชอบธรรมในการที่จะปกครองประเทศต่อไป และถือว่านักการเมืองเหล่านี้คือผู้ที่จงใจเลือกที่จะสร้างเงื่อนไขให้วิกฤติในบ้านเมืองยังดำรงอยู่ต่อไป นอกจากนั้นเราถือว่าบุคคลที่อยู่ในพรรคพลังประชาชนหมดความชอบธรรมที่จะบริหารประเทศต่อไป เพราะกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ได้ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยให้ยุบพรรคอยู่ในขณะนี้
5. พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ขอสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงอำนาจทางการเมืองของผู้ที่ปรารถนาดีต่อประเทศชาติจากทุกฝ่าย ให้เข้ามาคลี่คลายวิกฤติของชาติ ดังนี้
ดูข้อ 5 ต่อ ที่
ด้วยจิตคารวะ
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551
ณ ทำเนียบรัฐบาล
จากข่าวข้างต้นเห็นได้ว่ากลุ่มพันธมิตรยังชุมนุมกันต่อไปเพื่อให้แน่ใจว่าพรรคพลังประชาชนจะไม่ได้เป็นแกนนำรัฐบาลอีกต่อไปดังนั้นผลของการเลือกตั้งที่จะมีคิดคงเป็นตัวตัดสินที่แน่นอน
สร้างสรรค์โดย
น.ส.เกษศิณี กรกนก 5131601012
นายณัฐชัย ณ ลำปาง 5131601061
นายชาญภิวัฒน์ คำมะโนชาติ 5131601042
นายรวมเลิศ สุภานันท์ 5131601165
น.ส. วรรณิศา ธะนาคำ 5131601169

ด้านสุดบรรยาย! มติ พปช.หนุน “หมัก” กลับมาอีกอ้างรักษา ปชต.

มติ พปช.เอกฉันท์ หนุน “หมัก” นั่งนายกฯต่อ ยันมีคุณสมบัติครบถ้วน อ้างพ้นสภาพนายกฯ ถือว่ารับโทษแล้ว ย้ำปฏิบัติถูกต้องตามกรอบ กม. ทำหน้าที่รักษาประชาธิปไตย และทำตามเสียงส่วนใหญ่ เตรียมรวบรัดโหวตในสภาวันศุกร์นี้

วันนี้ (9 ก.ย.) ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญอ่านคำวินิจฉัยคดีชิมไปบ่นไปของ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ร.ท.กุเทพ ใสกระจ่าง โฆษกพรรคพลังประชาชน แถลงว่า พรรคมีจุดยืนเคารพคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งนายกฯ ก็แสดงท่าทีเคารพคำตัดสินของศาลมาตั้งแต่ต้น พรรคเคารพกฎหมายและระบบตุลาการ ซึ่งต่างจากกลุ่มบุคคลบางกลุ่มที่ไม่เคารพคำตัดสินของศาล ร.ท.กุเทพ กล่าวต่อว่า แม้กรณีจะมีผลให้ความเป็นนายกรัฐมนตรีของ นายสมัคร หมดไป แต่พรรคไม่หวั่นวิตก และการเมืองยังเดินหน้าต่อไปได้ กรณีที่นายกฯ ถูกคำวินิจฉัย การพ้นสภาพนายกฯ ก็ถือว่าได้รับโทษไปแล้ว และไม่มีบทบัญญัติใดห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมือง ความเป็น ส.ส.ก็ยังอยู่ ดังนั้นคุณสมบัติการเป็นนายกฯ ก็ยังมีครบถ้วน “ดังนั้น ที่ประชุมพรรคมีมติเป็นเอกฉันท์สนับสนุนให้หัวหน้าพรรคกลับมาเป็นนายกฯ ต่อไป ในการเลือกที่ที่ประชุมสภา ตามที่ประธานสภาจะนัดหมายในไม่กี่วันจากนี้” ร.ท.กุเทพ กล่าว เมื่อถามว่า ในที่ประชุมมีการเสนอหรือไม่ หากยังให้ นายสมัคร กลับมาเป็นนายกฯ จะทำให้เหตุการณ์บานปลายและควรถามความเห็นจากพรรคร่วมรัฐบาลก่อน ร.ท.กุเทพ กล่าวว่า ที่ประชุมไม่มีความเห็นในทำนองดังกล่าว มีความเห็นเพียงทำนองเดียวเท่านั้นว่าจะใช้สิทธิสนับสนุนนายสมัครต่อไป เพราะการกระทำของนายสมัครไม่ได้เป็นเรื่องร้ายแรง และไม่ได้ทำความเสียหายต่อประเทศ เป็นเพียงความเข้าใจข้อกฎหมายคลาดเคลื่อน และการพ้นจากตำแหน่งก็ถือเป็นการลงโทษแล้ว ต่อข้อถามว่า จะให้พรรคร่วมเสนอบุคคลอื่นขึ้นมาหรือไม่ ร.ท.กุเทพ กล่าวว่า เป็นข้อเสนอที่แกนนำแต่ละพรรคจะคุยกันต่อไป เมื่อถามว่า ไม่ได้คิดเผื่อถึงกรณีคดีหมิ่นประมาท ที่ นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตผู้ว่าราชการ กทม.ฟ้อง นายสมัคร ใช่หรือไม่ ร.ท.กุเทพ กล่าวว่า ไม่ได้คิดถึงขั้นนั้น ซึ่งที่ผ่านมาพรรคพลังประชาชนเคยพบกับความยากลำบากมาตลอด และก็พยายามต่อสู้เพื่อหาช่องทางเดินตามกรอบกฎหมาย ส่วนอนาคตจะมีปัญหาอย่างไรก็ต้องหาทางแก้ปัญหาไป เมื่อถามว่า ได้มีการเสนอให้นายกฯ เสียสละ เพื่อผ่าทางตันหรือไม่ ร.ท.กุเทพ กล่าวว่า ไม่จำเป็นเพราะวิกฤตที่เกิดขึ้น เนื่องจากคนจำนวนหนึ่งใช้บรรทัดฐานที่ไม่ถูกต้องกดดันรัฐบาล ซึ่งการกระทำเข้าข่ายกบฏ แต่คนไม่สนใจ อีกทั้งการกดดันให้นายกฯ ลาออก หรือยุบสภาก็ไม่ใช่เป็นการผ่าทางตันแต่อย่างใด ทั้งนี้ การเลือกนายสมัครกลับมาไม่ได้แปลว่าพรรคดื้อด้าน แต่เราถูกกระทำมาโดยตลอด เมื่อศาลมีคำวินิจฉัยมาเช่นนี้ เราก็เดินไปตามกรอบกฎหมาย ซึ่งแม้มีคนส่วนหนึ่งขับไล่รัฐบาล แต่คนส่วนมากอยากให้รัฐบาลอยู่ต่อไป ซึ่งเราต้องต่อสู้ต่อไปเพื่อปกป้องประชาธิปไตย และต่อสู้กับการเมืองใหม่ที่พันธมิตรฯ ซึ่งไม่ใช่ประชาธิปไตยเต็มร้อย ทั้งนี้ ร.ท.กุเทพ กล่าวว่า ส่วนการเลือกนายกฯ จะมีขึ้นทันที ซึ่งทาง นายชัย ชิดชอบ ประธานสภา คงจะนัดหมายในเร็ววันนี้ ส่วนจะเป็นเมื่อไรก็คงแล้วแต่ประธานจะนัด โดยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 177 จะต้องเลือกใหม่ภายใน 30 วัน ด้าน นายศุภชัย โพธิ์สุ รองโฆษกพรรคพลังประชาชน กล่าวว่า ที่ประชุมพรรคพิจารณารอบคอบแล้วที่จะเสนอ นายสมัคร เป็นนายกฯ ต่อไป เพราะไม่ว่าจะมีการลาออก หรือยุบสภา พันธมิตรฯ ก็ประกาศชัดเจนว่าจะไม่หยุดการชุมนุม ซึ่งเป้าหมายของพันธมิตรฯ คือการสถาปนาการเมืองใหม่ 70 : 30 แต่พลังประชาชนยืนยันว่าเราต้องยืนหยัดในระบอบประชาธิปไตย นายศุภชัย กล่าวด้วยว่า หลังจากที่บรรดาสมาชิกพรรคฟังศาลรัฐธรรมนูญอ่านคำวินิจฉัยจบลง นายนิสิต สินธุไพร ได้ลุกขึ้นขอให้พรรคมีมติสนับสนุนนายสมัครเป็นนายกฯ ต่อไป ซึ่งที่ประชุมก็ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ โดยไม่มีความเห็นต่างเลย ขณะที่ นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รองโฆษกพรรคพลังประชาชน กล่าวว่า นับจากนี้ พรรคยืนยันจะดำเนินการตามกติกาโดยกระบวนการเลือกนายกฯ ก็จะรอการเรียกประชุมสภาของประธานสภา “เหตุผลที่พรรคยังสนับสนุนนายหัวหน้าพรรค เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่เรื่องใหญ่ หรือเรียกว่าเป็นคดีหน่อมแน้ม ทำให้ประเทศเกิดสุญญากาศ แต่เราก็จะเดินหน้าตามกติกาและกฎหมายบ้านเมืองต่อไป” นายบุญจง กล่าว ทั้งนี้ มีรายงานข่าวว่า นายวิทยา บุรณศิริ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) เตรียมจะเสนอให้ประธานสภานัดประชุมสภาเพื่อเลือกนายกฯ ในวันศุกร์ที่ 12 ก.ย.นี้ ผู้สื่อรายงานด้วยว่า ก่อนหน้านี้ เวลา 14.00 น.พรรคพลังประชาชนได้จัดประชุม ส.ส.พรรค โดยมี นายสุวัฒน์ วรรณะศิริกุล ส.ส.กทม.เป็นประธานในที่ประชุม ซึ่งมีแกนนำพรรคเข้าร่วมบางตา เนื่องจากส่วนใหญ่ติดประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัญจร ที่ จ.อุดรธานี รายงานข่าวจากพรรคพลังประชาชน ระบุว่า ในช่วงหนึ่งของการประชุมได้มีการหยิบยกเรื่องคดีชิมไปบ่นไปของ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ซึ่งทำให้ขาดคุณสมบัติการเป็นนายกรัฐมนตรี ขึ้นมาหารือ โดย ร.ท.กุเทพ ใสกระจ่าง โฆษกพรรคพลังประชาชน ได้เสนอให้ ส.ส.มีมติสนับสนุนนายสมัครเป็นนายกฯ ต่อไป เพื่อรักษาศักดิ์ศรี เนื่องจากที่ผ่านมาพรรคหาเสียงกับประชาชนด้วยการชูนายสมัครขึ้นมาเป็นนายกฯ อย่างไรก็ตาม พ.ต.ท.สมชาย เพศประเสริฐ ส.ส. นครราชสีมา และ นายไพจิต ศรีวรขาน ส.ส.นครพนม กลุ่มอีสานพัฒนา ได้ลุกขึ้นแย้งว่า ไม่เห็นด้วย ที่ ส.ส.จะสรุปความเห็นในตอนนี้ เพราะยิ่งจะทำให้สถานการณ์ไม่จบ และบานปลายมากขึ้น อีกทั้งต้องฟังพรรคร่วมรัฐบาลด้วย เพื่อไม่ให้เกิดการเปลี่ยนขั้ว ด้าน พ.ต.ท.สมชาย กล่าวว่า ส่วนตัวเห็นว่าอย่าเพิ่งแสดงท่าทีใดๆ ในตอนนี้ ควรรอดูสถานการณ์ก่อน ไม่เช่นนั้นสถานการณ์จะบานปลาย ส่วนการจะเสนอนายสมัครกลับมาเป็นนายกฯ อีกครั้ง ก็ควรฟังพรรคร่วมรัฐบาลก่อน เพราะพรรคร่วมก็มีสิทธิจะเสนอคนมาพิจารณาเป็นนายกฯ คนต่อไป ทั้งนี้ผู้ที่จะมาเป็นนายกฯ คนใหม่ ควรมีความประนีประนอม ซึ่งในฐานะที่ตนเป็นกรรมาธิการทหารเห็นว่าทางที่ดีที่สุดในการแก้ไขบ้านเมือง คือ การเจรจา ขณะที่ นายวัฒนา เซ่งไพเราะ อดีตผู้สมัคร ส.ส.พรรคพลังประชาชน และโฆษกกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า มติของที่ประชุมภาค กทม.สนับสนุนให้ นายสมัคร กลับมาเป็นนายกฯ ซึ่ง นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ก็ได้โทรศัพท์มาแสดงความห่วงใย และเห็นว่า ควรสนับสนุนนายสมัครเป็นนายกฯ ต่อไป
ร่วมคิด
เอาลุงหมักออกนี้ยากกว่าเอาหมากฝรั่งออกจากเสื้ออีกนะครับ แต่ยังไงผลแพ้ชนะก็ออกมาค่อนข้างชัดเจนแล้วครับ
สร้างสรรค์โดย
น.ส.เกษศิณี กรกนก 5131601012
นายณัฐชัย ณ ลำปาง 5131601061
นายชาญภิวัฒน์ คำมะโนชาติ 5131601042
นายรวมเลิศ สุภานันท์ 5131601165
น.ส. วรรณิศา ธะนาคำ 5131601169

มติปชป.ร้องรัฐหาคนสังคมยอมรับนั่งนายก

มติพรรคประชาธิปัตย์ เรียกร้องรัฐบาลสรรหาบุคคลที่จะนั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ ต้องเป็นที่ยอมรับของสังคม และมีสัญญาประชาคมไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญหรือแทรกแซงศาล

นายบัญญัติ จันเสนะ กรรมการประธานที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ แถลงผลประชุมเรียกร้องรัฐบาลและพรรคร่วมสรรหาผู้ที่จะมารับตำแหน่งนายกฯ แทน นายสมัคร สุนทรเวช ต้องมีคุณสมบัติเหมาะสมสังคมยอมรับได้เพื่อลดความรุนแรงและมีสัญญาประชาคมไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญหรือแทรกแซงศาล ส่วนท่าทีของพรรคพลังประชาชนที่เสนอชื่อ นายสมัครกลับมาเป็นนายกฯจะยิ่งทำให้สถานการณ์รุนแรงยิ่งขึ้น อีกทั้งยังมีความกังวลที่จะมีการเร่งรัดสรรหานายกฯคนใหม่ภายในสัปดาห์นี้ ซึ่งเห็นว่าควรเปิดโอกาสให้ ส.ส. ได้ตั้งหลักให้สังคมได้รับความกระจ่างก่อน

ทั้งนี้ นายบัญญัติ กล่าวด้วยว่า การที่พรรคร่วมรัฐบาลจับมือตั้งรัฐบาลต่อไปเป็นสิทธิอันชอบธรรม เพราะพรรคประชาธิปัตย์เป็นเสียงข้างน้อยไม่มีวิสัยที่จะเป็นรัฐบาลได้ ซึ่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ยังคงอยากเห็นการแสวงหาลดความขัดแย้งจากทั้ง 3 ฝ่าย

ข้อมูลจาก http://www.innnews.co.th/politic.php?nid=131784
โดย น.ส. วรรณิศา ธะนาคำ ID 5131601012

ศาลรธน.ลงมติเอกฉันท์ให้สมัครพ้นนายก



ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติชี้ขาดให้การจัดรายการชิมไปบ่นไป ขัดรัฐธรรมนูญ ส่งผลให้นายกฯ และครม.ทั้งคณะ พ้นสภาพแต่ให้รักษาการจนกว่ามีครม.ชุดใหม่
องค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 9 คน ได้ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัยสำนวนคำร้องที่สมาชิกวุฒิสภาและคณะกรรมการการเลือกตั้งยื่นเรื่องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยการจัดรายการชิมไปบ่นไปและรายการยกโขยง 6 โมงเช้า ของ นายสมัคร สุนทรเวช นายกฯ ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งทำให้สิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรีหรือไม่ โดยตุลาการมีมติเอกฉันท์วินิจฉัยให้ความเป็นรัฐมนตรีของ นายสมัครสิ้นสุดลงเฉพาะตัว เนื่องจากพยานและหลักฐานมีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่าผู้ถูกร้องได้ทำหน้าทีเป็นพิธีกร บริษัท เกรสมีเดีย หลังเข้ารับตำแหน่งนายกฯโดยได้รับค่าตอบแทนและพบว่าได้มีพฤติกรรมส่อพิรุจในการแปลงค่าตอบแทนเป็นค่าน้ำมันรถและค่ากับข้าว
ทั้งนี้เนื่องจากการกระทำผิดข้างต้นของ นายสมัคร เป็นความผิดเฉพาะตัวจึงไม่เข้ามาตรา 180 วรรค 1(1) และทำให้รัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรีนายสมัครยังทำหน้าที่รัฐมนตรีรักษาการไปจนกว่าจะมีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่
อย่างไรก็ตามการพิจารณาของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนั้นได้พิจารณาตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
สร้างสรรค์โดย
น.ส.เกษศิณี กรกนก 5131601012
นายณัฐชัย ณ ลำปาง 5131601061
นายชาญภิวัฒน์ คำมะโนชาติ 5131601042
นายรวมเลิศ สุภานันท์ 5131601165
น.ส. วรรณิศา ธะนาคำ 5131601169

วันจันทร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2551

แมคเคนทำเซอร์ไพรส์! เปิดตัวผู้ว่าฯ โนเนมหญิงเป็นรันนิงเมทชิงเก้าอี้ทำเนียบขาว


เอเอฟพี – จอห์น แมคเคน ว่าที่ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ จากพรรครีพับลิกัน เลือกซาราห์ พาลิน ผู้ว่าการหญิงคนแรกจากรัฐอลาสกา ซึ่งไม่เป็นที่รู้จักมากนัก เป็นคู่หูลงชิงเก้าอี้รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในศึกเลือกตั้งปลายปีนี้
จอห์น แมคเคนได้เปิดตัวซาราห์ พาลิน ในฐานะรันนิงเมทลงสู้ศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ระหว่างการหาเสียงในเมืองเดย์ตัน รัฐโอไฮโอเมื่อวันศุกร์ (29) โดยได้กล่าวถึงพาลินว่า “เป็นรันนิงเมทที่จะช่วยเขาเขย่าเก้าอี้ทำเนียบขาว และทำให้พรรคได้กลับมานั่งเก้าอี้นี้อีกครั้งได้ดีที่สุด” การเลือกพาลิน วัย 44 ปี คุณแม่ลูกห้า ซึ่งไม่มีประสบการณ์ทางการเมืองระดับชาติ เป็นรันนิงเมทครั้งนี้ นับเป็นความเสี่ยงครั้งใหญ่ของแมคเคน และยังเป็นการแสดงถึงความพยายามในการเอาชนะกลุ่มผู้สนับสนุนฮิลลารี คลินตัน อดีตสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่ง ซึ่งพลาดโอกาสในการลงชิงเก้าอี้รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ คู่กับบารัค โอบามา
หลายฝ่ายมองว่า การเลือกเปิดตัวพาลินเป็นรันนิงเมทในช่วงเวลานี้ของแมคเคนก็เพื่อต้องการบดบังข่าวการนั่งรถบัสตระเวนหาเสียงไปตามรัฐสำคัญต่างๆ เป็นเวลา 3 วันของโอบามาและโจเซฟ ไบเดน รันนิงเมทของโอบามา 1 วันหลังจากวุฒิสมาชิกผิวสีจากรัฐอิลลินอยส์ได้รับการเสนอชื่อจากที่ประชุมใหญ่พรรคเดโมแครตให้เป็นตัวแทนพรรคลงสู้ศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในปลายปีนี้ ขณะที่พรรครีพับลิกันเชื่อว่า พาลินน่าที่จะดึงคะแนนเสียงจากกลุ่มรากหญ้าหัวอนุรักษ์นิยมได้เป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นผู้ที่มีนโยบายสนับสนุนการเกิด (โปรไลฟ์) และสนับสนุนสิทธิในการครอบครองอาวุธปืน นอกจากนี้ผู้ว่าการหญิงจากรัฐอลาสกาผู้นี้ยังสามารถช่วยถ่วงดุลในเรื่องอายุของแมคเคน ซึ่งเพิ่งฉลองวันเกิดครบรอบ 72 ปีไปเมื่อวันศุกร์ ที่29 ที่ผ่านมานี้
อย่างไรก็ตามมีผู้มองว่าพาลินมีจุดอ่อนซึ่งแตกต่างกับฮิลลารีอย่างลิบลับ นั่นก็คือ ประสบการณ์ทางการเมืองระดับชาติ เนื่องจากเพิ่งนั่งเก้าอี้ผู้ว่าการรัฐอลาสกาได้เพียง 2 ปี
ด้านพรรครีพับลิกันออกมาโต้แย้งทันทีว่า แม้จะเพิ่งเป็นผู้ว่าการรัฐมา 2 ปี แต่พาลินก็เป็นผู้ที่มีความรู้อย่างลึกซึ้งในเรื่องพลังงาน ท่ามกลางวิกฤติราคาน้ำมันแพงและปัญหาเศรษฐกิจอื่นๆ ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการลงคะแนนของผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง รวมถึงเป็นผู้นำที่มีชื่อเสียงในการต่อสู้กับปัญหาคอร์รัปชันอย่างจริงจัง
“พาลินเป็นผู้ว่าการรัฐที่มีความสำคัญต่อชาวอเมริกันทุกคน เนื่องจากอลาสกาเป็นแหล่งพลังงานสำคัญของประเทศ และพาลินก็ได้ทำหน้าที่เป็นผู้นำในการต่อสู้เพื่อที่จะทำให้อเมริกาสามารถพึ่งพาตัวเองได้ในเรื่องของน้ำมัน” พรรครีพับลิกันระบุ
ทั้งนี้แมคเคนและพาลินมีกำหนดเดินทางไปหาเสียงในรัฐเพนซิลวาเนียและมิสซูรี ก่อนร่วมในการประชุมใหญ่ของพรรครีพับลิกันซึ่งจะเปิดฉากขึ้นที่เมืองเซนต์พอล รัฐมินนิโซตา

ข้อมูลจาก http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9510000102536
โพสโดย น.ส. เกษศิณี กรกนก ID 5131601012
น.ส. วรรณิศา ธะนาคำ ID 5131601169
นายชาญภิวัฒน์ คำมะโนชาติ ID 5131601042

ต้องให้คนไม่พอใจเท่าไหร่ถึงจะฟัง!





การเลือกใช้วิธีการออก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯของนายกฯนั้นไม่ได้ผล และไม่เคยได้ผลมาทั่วโลก เมื่อเกิดวิกฤติของบ้านเมืองนั้นๆ ขณะนี้รัฐบาลกำลังใช้กองทัพเป็นเครื่องมือที่จะรักษาสถานภาพของตนเองต่อไป ซึ่งมองว่าจะ "ล่อแหลมต่อบ้านเมืองมาก" หากกองทัพใช้อำนาจตามกฎหมายที่ พ.ร.ก.นี้ระบุไว้ เข้าสลายการชุมนุม จะเกิดความรุนแรงถึงขั้นกลียุคและถ้ากองทัพไม่ทำ ผู้นำกองทัพก็จะกลายเป็นผู้นำที่ไม่มีประสิทธิภาพ ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย


ดังนั้นการใช้วิธีทางกฎหมาย ซึ่งรัฐบาลก็รู้ดีว่ากฎหมายให้ความคุ้มครองทั้งผู้ร้อง คือ โจทก์ และผู้ถูกร้องคือจำเลย และจะแก้ปัญหาได้อย่างไร ถ้าเลือกทางสลายม็อบ ความเสียหายจะเกินกว่าที่คาดคิด ทำเพียงเพื่อประโยชน์ของนักการเมืองเพียงไม่กี่คน
ขณะนี้ไม่มีทางเลือกอื่น ในทางการเมืองภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญ ทางแก้วิกฤติการเมืองด้วยวิถีทางกการเมืองมีอยู่ 2 ทางคือ นายกฯต้อง "ยุบสภา" หรือ "ลาออก " ส่วนแนวคิดรัฐบาลแห่งชาตินั้น ถ้าเป็นไปในแนวทางกรอบของรัฐธรรมนูญจะเกิดขึ้นไม่ได้ หากคิดว่าจะยกเว้นการบังคับใช้รัฐธรรมนูญบางมาตราก็ต้องมีอำนาจเหนือรัฐธรรมนูญต้องมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองด้วยรัฐาธิปัตย์
ประเทศไทยวันนี้เหมือนถูกจับเป็นตัวประกันระหว่างรัฐบาล กับ พันธมิตรฯ ซึ่งจะนำความสูญเสียให้กับประเทศและระบอบประชาธิปไตย ขณะที่นายกฯไทยเลือกการแก้วิกฤติด้วยวิธีทางกฎหมาย หากหันไปมองประเทศญี่ปุ่น ที่รัฐบาลเพียงมีนโยบายไม่ถูกใจประชาชนเขาไม่ต้องถามประชาชน แต่นายกฯตัดสินใจแถลงลาออกทันที แล้วจะต้องถามนายกฯไทยว่าจะให้คนไม่พอใจมากเท่าไหร่ ถึงจะรับฟัง
ยิ่งมี มติ กกต.ที่ให้ยุบพรรค พลังประชาชนเป็นเอกฉันท์ จะยิ่งทำให้ประชาชนเห็นว่ารัฐบาลขาดความชอบธรรมมากขึ้น เพราะพรรคพลังประชาชนซึ่งเป็นแกนนำรัฐบาลไม่มีความชอบธรรมตามกฎหมาย จึงเป็นเหตุเป็นผลที่จะถูกมองว่าไม่มีความชอบธรรมในการบริหารประเทศต่อไปแล้ว
ทั้งนี้ "สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)" ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 1 ปัญหาการเมืองดับชนวนด้วยกฎหมายไม่ได้ เตือนกองทัพ อย่าเป็นเครื่องมือค้ำบัลลังก์รัฐบาล โดยทีรายละเอียดว่าจากเหตุการณ์ปะทะกันระหว่างกลุ่ม นปช.กับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก และเป็นเหตุให้รัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยมอบหมายให้ ผบ.ทบ.เป็นหัวหน้าผู้รับชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ทางสถาบันขอแสดงความเสียใจและความสูญเสียที่เกิดขึ้นทางสถาบันขอเสนอแนะ 3 ประการ คือ 1. ขอให้ทุกฝ่าย "ยึดมั่นในแนวทางสันติวิธี "อย่างเคร่งครัด ไม่ยั่วยุ ก่อกวนที่จะนำไปสู่การปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุม หรือ ก่อให้เกิดความรุนแรงในประเทศมากยิ่งขึ้น 2. วิกฤติการณ์ครั้งนี้เป็น "วิกฤติการทางการเมือง" การใช้มาตรการทางกฎหมายไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ และอาจเป็นการสร้างเงื่อนไข ที่จะนำไปสู่ความรุนแรงยิ่งขึ้น จนยากที่จะควบคุมได้ อันจะสร้างความเสียหายแก่ประเทศอย่างใหญ่หลวงและ 3.การประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลปัดภาระความรับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง และใช้ทหารเป็นเครื่องมือ ทางสถาบันขอให้ ผบ.ทบ.พิจารณาไตร่ตรองตัดสินใจ และกระทำการใดๆ อย่างรอบคอบ โดยหลีกเลี่ยง การตกเป็นเครื่องมือ ของฝ่ายการเมือง ซึ่งอาจนำความเสียหายมาสู่กองทัพแห่งชาติได้ สถาบันจะติดตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างใกล้ชิด และจะแถลงให้สาธารณะให้ทราบถึงจุดยืนของสถาบันเป็นระยะต่อไป
ความคิดของคนเราต่างกันนะครับ มาแลกแปลี่ยนความคิดกันนะครับ
Mr.Nuttachai Nalampang ID 5131601061

ท่านคิดยังไรกับการเมืองในปัจจุบันนี้

ป้ายกำกับ