ผู้นำประเทศกลุ่มอเมริกาใต้ ประกอบด้วยอาร์เจนตินา บราซิล ชิลี โคลอมเบีย เอกวาดอร์ อุรุกวัย เวเนซุเอลา และโบลิเวีย เข้าร่วมการประชุมเฉพาะกิจเมื่อ 15 ก.ย. ที่กรุงซันติอาโก เมืองหลวงของชิลี เพื่อหารือแนวทางแก้วิกฤติทางการเมืองในโบลิเวีย หลังเกิดการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่จากส่วนกลางและผู้ชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาลในแคว้นแพนโดและแคว้นทาริฮา ภาคเหนือของโบลิเวีย ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 30 ศพ และมีผู้สูญหายอย่างน้อย 50 คน โดยผู้ชุมนุมประท้วงได้ยึดถนนสายหลัก 35 เส้นทางที่เชื่อมต่อระหว่างส่วนกลางกับท้องถิ่น ทำให้เกิดผลกระทบไปยังแคว้นซานตาครูซ ทางภาคตะวันออก รวมถึงชายแดนที่ติดกับบราซิลซึ่งถูกตัดขาดจากโลกภายนอกไปด้วย
ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติให้ประธานาธิบดี อีโว โมราเลส แห่งโบลิเวีย เจรจาทางการทูตเพื่อแก้ไขความขัดแย้งภายในประเทศ และเรียกร้องให้ประธานาธิบดี ฮูโก ชาเวซ แห่งเวเนซุเอลา ยุติการแทรกแซงกองทัพโบลิเวีย หลังนายชาเวซโจมตีนายทหารระดับสูงของโบลิเวียว่าไม่ให้การสนับสนุนรัฐบาลเมื่อ 11 ก.ย. ขณะที่นักวิเคราะห์การเมืองอเมริกาใต้ระบุว่าการประชุมครั้งนี้คือการรวมตัวของ “สหภาพกลุ่มประเทศอเมริกาใต้” (Unasur) ซึ่งต้องการแยกตัวจาก “องค์กรประเทศแถบทวีปอเมริกา” (โอเอเอส) ที่สหรัฐฯหนุนหลังอยู่ แต่ผู้นำประเทศอเมริกาใต้หลายคนมิได้เห็นด้วยกับการประกาศจุดยืนต่อต้านสหรัฐฯของผู้นำเวเนซุเอลาและผู้นำโบลิเวีย หลังทั้ง 2 คนไล่ตัวแทนทางการทูตสหรัฐฯประจำประเทศตนออกจากตำแหน่งเมื่อสัปดาห์ก่อน โดยอ้างว่าตัวแทนการทูตของสหรัฐฯ มีส่วนยุยงให้ประชาชนในโบลิเวียรวมตัวต่อต้านรัฐบาล
ขณะเดียวกัน รัฐบาลสหรัฐฯส่งตัวทูตเวเนซุเอลาและโบลิเวียกลับประเทศเช่นกัน โดยอ้างว่าตัวแทนการทูตของทั้ง 2 ประเทศ ให้ความช่วยเหลือกลุ่มกบฏในโคลอมเบีย (ฟาร์ก) ลักลอบขนยาเสพติดเข้าสหรัฐฯ ซึ่งทำเป็นขบวนการใหญ่ นอกจากนี้ นักวิเคราะห์ยังระบุด้วยว่าหากเกิดสงครามกลางเมืองขึ้นในโบลิเวียจะส่งผลกระทบเสียหายไปทั้งกลุ่มประเทศแอนเดียน อันได้แก่ โบลิเวีย โคลอมเบีย เปรู เอกวาดอร์ เวเนซุเอลา รวมถึงบราซิลซึ่งต้องนำเข้าพลังงานจากโบลิเวียเป็นหลัก
ส่วนนายมาริโอ คอสซิโอ ผู้ว่าการแคว้นทาริฮา ประกาศเมื่อ 15 ก.ย. ว่าผู้ชุมนุมพร้อมเจรจาต่อรองกับรัฐบาลโบลิเวีย โดยเรียกร้องให้มีการยกเลิกกฎอัยการศึกในแคว้นทาริฮาและแพนโด ขณะที่ประธานาธิบดีโมราเลสต้องให้คำมั่นสัญญาว่าจะไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อเปลี่ยนรูปแบบการปกครองจากการกระจายอำนาจไปสู่การรวมศูนย์อำนาจโดยรัฐบาลกลาง รวมถึงยกเลิกการแก้ไขกฎหมายการถือครองที่ดินเพื่อเอื้อประโยชน์ให้ชาวพื้นเมืองโบลิเวียซึ่งมีมากกว่า 60% ของประชากรทั่วประเทศ และเป็นข้อเสนอที่นายโมราเลสพยายามผลักดันเมื่อเดือน ธ.ค.ปีที่แล้ว แต่ประชาชนทางภาคเหนือของประเทศคัดค้าน ซึ่งถ้าหากรัฐบาลยอมรับข้อตกลงผู้ชุมนุมยินยอมยุติการยึดถนนทั้ง 35 สาย และเปิดเส้นทางการจราจร.
ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติให้ประธานาธิบดี อีโว โมราเลส แห่งโบลิเวีย เจรจาทางการทูตเพื่อแก้ไขความขัดแย้งภายในประเทศ และเรียกร้องให้ประธานาธิบดี ฮูโก ชาเวซ แห่งเวเนซุเอลา ยุติการแทรกแซงกองทัพโบลิเวีย หลังนายชาเวซโจมตีนายทหารระดับสูงของโบลิเวียว่าไม่ให้การสนับสนุนรัฐบาลเมื่อ 11 ก.ย. ขณะที่นักวิเคราะห์การเมืองอเมริกาใต้ระบุว่าการประชุมครั้งนี้คือการรวมตัวของ “สหภาพกลุ่มประเทศอเมริกาใต้” (Unasur) ซึ่งต้องการแยกตัวจาก “องค์กรประเทศแถบทวีปอเมริกา” (โอเอเอส) ที่สหรัฐฯหนุนหลังอยู่ แต่ผู้นำประเทศอเมริกาใต้หลายคนมิได้เห็นด้วยกับการประกาศจุดยืนต่อต้านสหรัฐฯของผู้นำเวเนซุเอลาและผู้นำโบลิเวีย หลังทั้ง 2 คนไล่ตัวแทนทางการทูตสหรัฐฯประจำประเทศตนออกจากตำแหน่งเมื่อสัปดาห์ก่อน โดยอ้างว่าตัวแทนการทูตของสหรัฐฯ มีส่วนยุยงให้ประชาชนในโบลิเวียรวมตัวต่อต้านรัฐบาล
ขณะเดียวกัน รัฐบาลสหรัฐฯส่งตัวทูตเวเนซุเอลาและโบลิเวียกลับประเทศเช่นกัน โดยอ้างว่าตัวแทนการทูตของทั้ง 2 ประเทศ ให้ความช่วยเหลือกลุ่มกบฏในโคลอมเบีย (ฟาร์ก) ลักลอบขนยาเสพติดเข้าสหรัฐฯ ซึ่งทำเป็นขบวนการใหญ่ นอกจากนี้ นักวิเคราะห์ยังระบุด้วยว่าหากเกิดสงครามกลางเมืองขึ้นในโบลิเวียจะส่งผลกระทบเสียหายไปทั้งกลุ่มประเทศแอนเดียน อันได้แก่ โบลิเวีย โคลอมเบีย เปรู เอกวาดอร์ เวเนซุเอลา รวมถึงบราซิลซึ่งต้องนำเข้าพลังงานจากโบลิเวียเป็นหลัก
ส่วนนายมาริโอ คอสซิโอ ผู้ว่าการแคว้นทาริฮา ประกาศเมื่อ 15 ก.ย. ว่าผู้ชุมนุมพร้อมเจรจาต่อรองกับรัฐบาลโบลิเวีย โดยเรียกร้องให้มีการยกเลิกกฎอัยการศึกในแคว้นทาริฮาและแพนโด ขณะที่ประธานาธิบดีโมราเลสต้องให้คำมั่นสัญญาว่าจะไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อเปลี่ยนรูปแบบการปกครองจากการกระจายอำนาจไปสู่การรวมศูนย์อำนาจโดยรัฐบาลกลาง รวมถึงยกเลิกการแก้ไขกฎหมายการถือครองที่ดินเพื่อเอื้อประโยชน์ให้ชาวพื้นเมืองโบลิเวียซึ่งมีมากกว่า 60% ของประชากรทั่วประเทศ และเป็นข้อเสนอที่นายโมราเลสพยายามผลักดันเมื่อเดือน ธ.ค.ปีที่แล้ว แต่ประชาชนทางภาคเหนือของประเทศคัดค้าน ซึ่งถ้าหากรัฐบาลยอมรับข้อตกลงผู้ชุมนุมยินยอมยุติการยึดถนนทั้ง 35 สาย และเปิดเส้นทางการจราจร.
ร่วมคิด
จะเห็นได้ว่าวิกฤตการณ์ทางการเมืองของแต่ละประเทศไม่ใช่แค่ส่งผลกระทบต่อประเทศนั้นเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อประเทศอื่นๆอีกมากมาย
ที่มา หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ http://www.thairath.co.th/news.php?section=international&content=104328
Post by
Mr. Nuttachai Nalampang ID 5131601061
section 1
2 ความคิดเห็น:
คนอื่นเดือดร้อน นี่หรือคือสิ่งที่ดี
โบลิเวียก็เป็นประเทศหนึ่งนะครับ ที่มีการหนุนหลังโดยเวเนซุเอล่า มันก็จะทำให้เกิดปัญหาตามมา
และคราวนี้ ชาติข้างเคียงก็พากันมาป้องกัน
เผื่อว่าจะเกิดความรุนแรง
ผมคิดว่าถ้าเราเจรจากับผู้นำที่มีอิทธิพลต่อประเทศนั้น
ให้ยุติในสิ่งที่ผิดไม่แทรกแซงต่อประเทศอื่น
ก็จะทำให้การป้องกันความรุนแรงนั้นได้ผล
แสดงความคิดเห็น