เชียร์ 51

ข่าวเด็ด

วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2551

สนธิ"ย้อนอัปยศการเมืองเก่านัดแฉปปช.ดองคดี"แม้ว"วันนี้

"สนธิ"ย้อนอดีตชี้ให้เห็นการเมืองเก่าสุดเน่าเฟะ รุมทึ้งทรัพย์สมบัติของชาติอย่างน่าอัปยศ ขณะเดียวกันถึงเวลาการเมืองใหม่เพื่อเข้ามาล้างความชั่วทุกวงการให้โปร่งใส พร้อมนัดเปิดโปง ปปช.บางคนดองคดี "แม้ว" ทุจริตวันนี้(24 ก.ย.)

เมื่อเวลาประมาณ 21.50 น. วันที่ 23 ก.ย. นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ขึ้นกล่าวปราศรัยที่ทำเนียบรัฐบาลว่า ตนไม่พูดเรื่องการเมืองใหม่มากนัก สาเหตุเป็นเพราะต้องการให้ทุกคนได้ไปคิดกันเอาเอง แต่ทุกคนก็รู้อยู่แล้วว่าสาเหตุที่ต้องมาชุมนุมเพราะไม่เอาการเมืองเก่า

นายสนธิ ยังเกล่าย้อนอดีตสมัยเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ประชาธิปไตยได้เห็นการเมือง มามากหลายยุคสมัย มีนักหนังสือพิมพ์หลายคนพัฒนากาวหน้ามาไกล แต่บางคนก็ตรงกันข้าม พร้อมทั้งยกตัวอย่างหนังสือพิมพ์มติชน ที่คนคิดว่าเป็นหัวก้าวหน้า แต่ไม่ใช่ วันนี้เห็นภาพที่ นายขันธ์ชัย บุนปาน ผู้บริหารมติชนนำกระเช้าดอกไม้ไปแสดงความยินดีกับ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อย่างไรก็ดีจะได้เห็นกันชัดขึ้น เพราะเป็นอีแอบมานานแล้ว

นอกจากนี้ นาสนธิ ยังย้อนอดีตให้เห็นถึงสมัยที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เป็นไม้เบื่อไม่เมากับหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เนื่องจาก ร.ต.อ.เฉลิม ได้รับคำสั่งจากอดีตนายกฯให้ไปปิดผับเดอะพาเลซเนื่องจากไม่พอใจที่แฉเรื่อง คู่ขาของตัวเอง สมัยที่เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯและตั้งหน่วยเฉพาะกิจขึ้นมาปราบปราม อบายมุขบังหน้า

นายสนธิ ยังกล่าวอีกว่า ในสมัยก่อนเคยถูกทาบทามให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เพียงแค่ให้ช่วยบริจาคเงินเข้าพรรคการเมืองเพียง 50 ล้านบาท แต่ได้ปฏิเสธไป โดยขอเป็นรัฐมนโทข้างนอกดีกว่า

นายสนธิ ยังได้ย้อนอดีตของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร สมัยที่หิ้วก๋วยเตี๋ยวไปตามตื้อ ร.ต.อ.เฉลิม สมัยที่เป็นรัฐมตรีประจำสำนักนายกฯเพื่อขอสัมปทานเคเบิ้ลทีวีกับอสมท.แต่ต่อ มาเมื่อ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรีขณะนั้นสั่งให้ ร.ต.อ.เฉลิม อนุมัติเคเบิ้ลทีวีให้กับกลุ่มกาญจนพาสในนามของไทยสกายทีวีทำให้ความ สัมพันธ์ของทั้งคู่บาดหมางกันช่วงหนึ่ง

นายสนธิ กล่าวว่า ยุคการเมืองน้ำเน่าอย่างแท้จริงได้เริ่มขึ้นในยุคโทรคมนาคม ในยุคที่ นายมนตรี พงษ์พานชิ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และคนๆนี้เป็นต้นแบบทุกอย่างทางการเมืองของ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน ในปัจจุบัน และยุคนี้เป็นยุคที่ถูกเรียกว่าเป็นยุคบุพเฟร์คาบิเนต

นายสนธิ กล่าวอีกว่า เป็นยุคที่มีการนำสัมปทานของชาติมาแบ่งขายกันเองในหมู่นักธุรกิจกับนักการ เมือง ซึ่งยุคนี้มี พ.ต.ท.ทักษิณ เข้าไปเกี่ยวข้องอย่างสำคัญในเรื่องของการวิ่งเต้นขอสัมปทานโทรศัพท์มือถือ และว่าทุกอย่างต้องแลกกันด้วยผลประโยชน์ ทั้งที่ทางที่ถูกต้องมีการเปิดประมูลให้บ้านเมืองได้ประโยชน์สูงสุด

"สิ่งเหล่านี้คือการเมืองเก่า ที่ไม่มีการตรวจสอบ อย่างข้าราชการบางคนถ้าอยากได้เป็นอธิบดี ก็จะมีพ่อค้าลงขันกันซื้อเก้าอี้ให้ เมื่อข้าราชการคนนั้ยได้เป็นอธิบดี ก็จะตอบแทนโครงการให้กับพ่อค้าเหล่านั้น ซึ่งเป็นแบบนี้มานานจนเน่าเฟะมาเรื่อย จะหาข้ราชการที่ทำเพื่อชาติบ้านเมืองสมเป็นข้าราชการของพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวยากมาก และเป็นการเมืองที่อัปยศที่สุด" นายสนธิ ระบุ

อย่างไรก็ดีแกนนำพันธมิตรฯผู้นี้กล่าวอีกว่าการทุจริตแบบนี้จะไม่ เกิดขึ้นในสมัย พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี โดยยกตัวอย่างอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมคนหนึ่งที่พยายามทุจริตใน โครงการไทยเดินเรือทะลมูลค่าในสมัยนั้นประมาณถึง 2 พันล้านบาท แต่ พล.อ.เปรมรู้และขัดขวาง และต่อมาเมื่อปรับคณะรัฐมนตรีรัฐมนตรีคนนั้นจึงหลุดจากตำแหน่ง และนี่คือสาเหตุที่อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมคนนั้นที่บัดนี้ กำลังชะตาขาดโกรธ พล.อ.เปรมจนถึงบัดนี้ ซึ่งมันคิดว่าไม่มีใครรู้เบื้องหน้าเบื้องหลังเรื่องพวกนี้

ขณะเดียวกันนายสนธิ กล่าวเปรียบเทียบว่า การเมืองใหม่คือการล้างความชั่วในทุกวงการให้โปร่งใส ใครจะทำอะไรก็มองเห็นหมด และยังตีกรอบให้ข้าราชการต้องซื่อสัตย์ต่อแผ่นดินให้สมกับเป็นข้าราชการของ พระเจ้าอยู่หัว เพราะถ้าปล่อยให้การเมืองเก่าเป็นอย่างนี้ต่อไปบ้านเมืองก็จะสูญสิ้น เวลานี้มีตุลาการบางคน ตำรวจบางคน และอัยการบางคนไม่ซื่อสัตย์ ถ้าเราพึ่งคนพวกนี้ไม่ได้แล้วจะไปพึ่งใคร

อย่างไรก็ตามในตอนท้าย นายสนธิ ยังได้เปิดโปง ปปช.คนหนึ่งที่สนิทชิดเชื้อกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ดองทุกคดีทุจริตในสนามบินสุวรรณภูมิที่ส่งไปจาก คตส.ซึ่งปปช.คนนี้รับผิดชอบ แต่ดองเอาไว้ทุกคดี ซึ่งพรุ่งนี้จะแฉว่าเป็นใคร รวมทั้งเบื้องหลังของ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตเลขาธิการพรรคไทยรักไทย ที่ถูกดำเนินคดีซีทีเอ็กซ์ด้วย

http://manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9510000113033

โพสโดย กฤตย์ อิสสระพันธุ์ รหัส 5131601231

วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2551

พผ.ยังวุ่น ส.ส.ป่วน โผ ครม.ไม่ลงตัว “สุวิทย์” ถอนตัว

ส.ส.พรรคเพื่อแผ่นดินไม่พอใจโผ ครม.ของพรรค ที่ ส.ส.ในกลุ่มของตัวเองไม่ได้รับตำแหน่งใน ครม.สมชาย 1 เผยเตรียมเคลื่อนไหวต่อรองวันนี้ ฉุน “สุวิทย์” ไม่เคยขอความคิดเห็นของ ส.ส.ในพรรค โฆษกพรรคแจง “สุวิทย์” ไม่รับตำแหน่ง อ้างอยากให้มีการปรับเปลี่ยนตัวบุคลากรบ้าง ยันได้ รมต.4 ตำแหน่งเท่าเดิม วันนี้ (23 ก.ย.) นายปุระพัฒน์ วิเศษจินดาวัฒนา ส.ส.สัดส่วนพรรคเพื่อแผ่นดิน กล่าวว่า ส.ส.ในกลุ่มเตรียมเคลื่อนไหว หากรายชื่อ ครม.ในส่วนของพรรคไม่เป็นที่น่าพอใจ โดยทางกลุ่มได้เสนอ นายสุรเดช ยะสวัสดิ์ และนายพิเชษฐ์ ตันเจริญ ให้เป็นรัฐมนตรีใน ครม.สมชาย 1 ด้วย ซึ่งที่ผ่านมานายสุวิทย์ คุณกิตติ หัวหน้าพรรคไม่เคยขอความคิดเห็นจากพวกตน อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ว่าจะเคลื่อนไหวในรูปแบบใด ซึ่งได้มีการหารือนายสุชาติ ลายน้ำเงิน ส.ส.ลพบุรี พรรคเพื่อแผ่นดินบ้างแล้ว ทั้งนี้ นายสุชาติ ยืนยันว่า บัญชีรายชื่อ รมต.ในส่วนของพรรคเพื่อแผ่นดินยังไม่ลงตัว และเตรียมแถลงข่าวเพื่อต่อรองตำแหน่งกับหัวหน้าพรรคในวันนี้ด้วย ด้าน นายปาน พึ่งสุจริต รองหัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน เปิดเผยถึงความเคลื่อนไหวล่าสุดของการจัดคณะรัฐมนตรีในสัดส่วนของพรรคว่า ล่าสุดมีการเปลี่ยนแปลงเพียงแค่ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ที่เข้ามาแทน นายสุวิทย์ คุณกิตติ เท่านั้น นายไชยยศ จิรเมธากร โฆษกพรรคเพื่อแผ่นดิน กล่าวว่า แต่เดิมพรรคเพื่อแผ่นดินมีมติให้นายสุวิทย์ คุณกิตติ หัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่อ แต่เมื่อ 22 ก.ย.ที่ผ่าน เมื่อถึงกำหนดส่งรายชื่อให้พรรคพลังประชาชน นายสุวิทย์ตัดสินใจไม่รับตำแหน่งเพราะอยากให้มีการปรับเปลี่ยนตัวบุคลากรบ้าง โดยพรรคเพื่อแผ่นดินได้รัฐมนตรี 4 ตำแหน่ง ขณะที่ พ.ต.ท.กานต์ เทียนแก้ว รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ในฐานะแกนนำกลุ่มเพื่อนยงยุทธ กล่าวถึงบัญชีรายชื่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) รัฐบาลสมชาย 1 ว่า กลุ่มเพื่อนเนวินได้โควต้า 4 ตำแหน่งเท่าเดิม แต่อาจเปลี่ยนตัวบุคคล เช่น นายสุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม ได้เป็นรัฐมนตรีช่วย ส่วนโควตาพรรคร่วมรัฐบาลนั้น ตนคาดว่าน่าจะเหมือนเดิม ส่วน นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ผู้สื่อข่าวรายงานว่ายังคงพักผ่อนภายในบ้านย่านแจ้งวัฒนะ โดยยังไม่มีบุคคลใดเข้าพบ อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ดูแลรักษาความปลอดภัยบ้านอย่างเข้มงวด
สรุปข่าว
จากข่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่าพรรคเพื่อแผ่นดินไม่พอใจในโผครม.ใหม่ซึ่งสส.ของพรรคที่ไม่ได้รับตำแหน่งตามที่พรรคพผ.ต้องการ
โดย นายรวมเลิศ สุภานันท์ 5131601165

วันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2551

โพลชี้ 'โอบามา' พลิกนำ 'แมคเคน' อีก

สองผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ
เอเอฟพี - ผลสำรวจคะแนนนิยมหลายสำนักระบุเมื่อวันพุธ (17) ว่าผู้สมัครชิงเก้าอี้ผู้นำสหรัฐฯ ของทั้งสองพรรค ยังมีคะแนนสูสีกันใน 5 มลรัฐสำคัญที่จะชี้ขาดชัยชนะในการเลือกตั้งเดือนพฤศจิกายนนี้ ส่วนคะแนนในระดับทั่วประเทศนั้น บารัค โอบามานำหน้าจอห์น แมคเคน อยู่ที่ 48 ต่อ 43 เปอร์เซ็นต์ ผลสำรวจคะแนนนิยมของซีบีเอสนิวส์/นิวยอร์กไทมส์ที่จัดทำล่าสุดเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ระบุว่า ในระดับประเทศนั้น โอบามามีคะแนนตีตื้นกลับขึ้นมานำแมคเคนได้อีกครั้ง ภายหลังจากที่แมคเคนทำคะแนนแซงโอบามาไปราว 2 แต้ม (เปอร์เซ็นต์) ในช่วงการประชุมใหญ่พรรครีพับลิกันที่ผ่านมา ซีบีเอสระบุถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในการสำรวจล่าสุดว่า โอบามากลับมาทำคะแนนนำหน้าแมคเคนอยู่ 5 แต้มก็เพราะได้เสียงสนับสนุนจากผู้ลงคะแนนกลุ่มอิสระและกลุ่มผู้หญิงนั่นเอง โดยกลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งอิสระนั้นเคยเทคะแนนให้โอบามาก่อนที่จะเปลี่ยนไปสนับสนุนแมคเคนในช่วงหลังการประชุมใหญ่พรรครีพับลิกัน แต่แล้วก็กลับมาเลือกโอบามาอีกครั้งในช่วงสัปดาห์ก่อน และล่าสุดกลุ่มนี้ได้ลงคะแนนให้โอบามา 46 เปอร์เซ็นต์ และให้แมคเคน 41 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนั้น ซีบีเอสยังพบด้วยว่า กลุ่มผู้หญิงเองก็หันมาสนับสนุนโอบามาเพิ่มขึ้นหลังจากที่เมื่อสองสัปดาห์ก่อนได้เปลี่ยนใจไปเทคะแนนให้แมคเคนมากขึ้น 5 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ขณะนี้โอบามามีคะแนนนิยมนำหน้าแมคเคนอยู่ที่ 54 เปอร์เซ็นต์ ต่อ 38 เปอร์เซ็นต์ในกลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เป็นผู้หญิงทั้งหมด ทว่าในกลุ่มผู้หญิงผิวขาว โอบามามีคะแนนนำแมคเคนอยู่ 2 แต้ม ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคะแนนนิยมของโอบามามีการเหวี่ยงตัวกลับมาสูงถึง 21 เปอร์เซ็นต์ภายในระยะเวลา 7 วัน การสำรวจคะแนนนิยมของซีบีเอส/นิวยอร์กดังกล่าวจัดทำขึ้นระหว่างวันที่ 12-16 กันยายน โดยใช้ตัวอย่าง 1,133 ตัวอย่าง ขณะเดียวกัน ก็มีผลสำรวจอีกชุดหนึ่งจัดทำในระหว่างวันที่ 14-16 กันยายน โดยซีเอ็นเอ็น/นิตยสารไทม์ ระบุว่า โอบามาและแมคเคนนั้นจะต้องสู้ศึกหนักในฟลอริดาซึ่งเป็นมลรัฐที่จำเป็นต้องชนะเลือกตั้งให้ได้ แต่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในฟลอริดา 48 เปอร์เซ็นต์ให้คะแนนผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของทั้งสองพรรคพอๆ กัน ส่วนที่โอไฮโอ โอบามาแซงหน้าแมคเคนอยู่เพียง 2 แต้มเท่านั้น ทั้งนี้ สนามเลือกตั้งหลักอย่างฟลอริดาและโอไฮโอนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อชัยชนะของผู้สมัครจากทั้งสองพรรคในวันที่ 4 พฤศจิกายนนี้ เพราะในการเลือกตั้งสหรัฐฯ เมื่อปี 2000 ชาวฟลอริดาลงคะแนนให้ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุชมากกว่าคู่แข่งเพียงเล็กน้อย และในการเลือกตั้งครั้งถัดมาในปี 2004 บุชก็มีชัยชนะได้อีกครั้งด้วยคะแนนนำเพียงฉิวเฉียดจากรัฐโอไฮโอ ผลสำรวจของซีเอ็นเอ็น/ไทม์ ระบุว่า แมคเคนมีคะแนนนำโอบามาอยู่ 6 แต้มในอินดีแอนา ส่วนในแอริโซนาแมคเคนก็นำหน้าเช่นกันโดยได้คะแนนสนับสนุนอยู่ที่ 51 เปอร์เซ็นต์ ทว่า ที่นอร์ทแคโรไลนานั้น แม้แมคเคนจะนำหน้าโอบามาอยู่ 1 แต้ม แต่ในรัฐนี้บุชเคยทำคะแนนทิ้งห่างคู่แข่งได้ในการเลือกตั้งทั้ง 2 ครั้ง ดังนั้นการที่คะแนนนิยมของทั้งสองพรรคมาอยู่ในระดับสูสีกันจึงเป็นฝีมือของทีมหาเสียงของโอบามาที่ทุ่มเทในรัฐดังกล่าวนับตั้งแต่ที่เดโมแครตมีชัยชนะในการเลือกตั้งขั้นต้น (ไพรมารี) เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมานั่นเอง ส่วนที่วิสคอนซินโอบามานำแมคเคนอยู่ 3 แต้ม โดยมีคะแนนสนับสนุนที่ 50 เปอร์เซ็นต์ อัล กอร์ และจอห์น เคอรีเคยทำคะแนนนำบุชเล็กน้อยในการเลือกตั้งปี 2000 และ 2004 ที่รัฐนี้ เมื่อนับจากผลการสำรวจคะแนนนิยมในครั้งหลังๆ รวมทั้งครั้งล่าสุดนี้ ซีเอ็นเอ็น คาดการณ์ว่า หากสมมุติสถานการณ์ว่ามีการเลือกตั้งประธานาธิบดีวันนี้ โอบามาก็จะเป็นฝ่ายชนะโดยมีคะแนนคณะผู้เลือกตั้ง 233 คะแนน ส่วนแมคเคนมีอยู่ 189 คะแนน
วิเคราะห์ข่าว
สถานการณ์การเลือกตั้งในอเมริกาตอนนี้ก็เป็นไปอย่างดุเดือดเช่นเดียวกับเมื่อตอนปี2004เมื่อบุชต้องชิงตำแหน่งของตัวเองอีกครั้งซึ่งโพลก็ระบุออกมาว่าคะแนนสูสีแต่ในท้ายที่สุดบุชก็ชนะมาได้ดังนั้นในครั้งนี้ตัวแปรสำคัญจึงเป็นทีมหาเสียงของแต่ละฝ่ายที่จะเรียกเก็บคะแนนมาได้มากแค่ไหนถึงกระนั้นก็เป็นที่น่าสนใจว่าถ้าโอบามาชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีเค้าจะเป็นประธานาธิบดีผิวสีคนแรกของสหรัฐอเมริกาซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์
วิเคราะห์ข่าวโดย นายรวมเลิศ สุภานันท์ 5131601165 ตอนเรียน1

โสมแดงปัดข่าวลือ “คิม” ป่วยหนัก-เผยเตรียมเปิด รง.นิวเคลียร์อีก

ภาพถ่ายภายนอกโรงงานนิวเคลียร์ที่ยงบยอน ของเกาหลีเหนือ
เอเอฟพี – เจ้าหน้าที่เกาหลีเหนือปฏิเสธข่าวลือ ผู้นำคิมจองอิลป่วยหนัก ชี้เป็นความตั้งใจที่จะทำลายความสัมพันธ์กับเกาหลีใต้ พร้อมเผยเปียงยางกำลังเตรียมการเพื่อเปิดทำการโรงงานนิวเคลียร์ที่ยงบยอนอีกครั้ง ฮยอน ฮักบอง เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศของเกาหลีเหนือกล่าวกับผู้สื่อข่าวที่ชายแดนหมู่บ้านปานมุนจอม ก่อนมีการเจรจาความช่วยเหลือด้านพลังงานระหว่าง 2 เกาหลีว่า ข่าวลืออาการป่วยของผู้นำคิมเป็นเรื่องที่คนชั่วร้ายกุขึ้น เพื่อต้องการให้เกาหลีทั้งสองประเทศแตกหักกัน ฮยอนยังกล่าวด้วยความไม่พอใจ พร้อมกับชี้นิ้วไปที่นักข่าวของเกาหลีใต้ว่า “หากว่าพวกเขาทำจริง (การแพร่ข่าวลือผิดๆ เกี่ยวกับคิมจองอิล) เราก็ไม่รู้สึกแปลกใจเลย และความสามัคคีของเราจะไม่ถูกทำลาย” หลังจากที่ผู้นำเกาหลีเหนือ วัย 66 ปี ไม่มาปรากฏตัวที่งานแสดงพาเหรด ในวันที่ 9 กันยายนที่ผ่านมา อันเป็นวันฉลองการก่อตั้งประเทศ เจ้าหน้าที่ของโสมขาวได้ระบุว่า เขาเข้ารับการผ่าตัดสมอง และเส้นเลือดสมอง เมื่อประมาณกลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา และอาการยังไม่ดีขึ้น นับแต่นั้น เจ้าหน้าที่ระดับสูงของเกาหลีใต้ก็ไม่กล่าวแสดงความเห็นเกี่ยวกับสุขภาพของผู้นำคิมอีก โดยชี้ว่าอาจทำลายความสัมพันธ์ระหว่างกันได้ ยิ่งไปกว่านั้น ฮยอน ซึ่งเป็นรัฐมนตรีช่วยกระทรวงการต่างประเทศ ด้านกิจการสหรัฐฯ ยังกล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า เกาหลีเหนือกำลังเตรียมเดินเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ยงบยอนใหม่อีกครั้ง โดยระบุว่าเครื่องมือ และอุปกรณ์ต่างๆ ได้ถูกลำเลียงกลับไปยังโรงงานแล้ว และคาดว่าจะเริ่มเดินเครื่องปฏิกรณ์อีกในเร็วๆ นี้ สำหรับการเจรจาความช่วยเหลือด้านพลังงานของทั้งสองเกาหลีในครั้งนี้ยังดำเนินต่อไป แม้ว่าเกาหลีเหนือจะประกาศหยุดการปิดโรงงานผลิตพลูโตเนียมแห่งนี้ และที่อื่นๆ ในเดือนที่ผ่านมา เพื่อประท้วง ที่สหรัฐฯ ปฏิเสธไม่ยอมถอดเกาหลีเหนือออกจากรายชื่อผู้ก่อการร้าย
วิเคราะห์ข่าว
เห็นได้ว่าเกาหลีเหนือมีท่าทีเพิกเฉยต่อมติของนานาชาติในข้อเรียกร้องต่างๆและการที่ผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือป่วยจนไม่สามารถมาร่วมงานแสดงได้แสดงว่ามีความเป็นไปได้สูงว่าป่วยหนักมากซึ่งคิมเองก็อายุมากแล้วหากคิมเสียชีวิตก็อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในเกาหลีเหนือได้
วิเคราะห์ข่าวโดย นายรวมเลิศ สุภานันท์ ตอนเรียน1 5131601165

วันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2551

“สมชาย”เล็งยกหูคุยฮุนเซน แก้ข้อพิพาทไทย-เขมร

ผู้สื่อข่าวรายงานภารกิจแรกวันนี้ (18 ก.ย.) ของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ว่า ที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่ โดยได้เดินทางไปกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อหารือและรับฟังบรรยายสรุปปัญหาเกี่ยวกับข้อพิพาทไทย-กัมพูชา ตามแนวชายแดน โดยเฉพาะปัญหาปราสาทพระวิหาร จังหวัดศรีสะเกษ และปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาควาย จังหวัดสุรินทร์ โดยมีนายวีระศักดิ์ ฟูตระกูล ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ พล.ท.นิพัทธ์ ทองเล็ก เจ้ากรมกิจการชายแดน และ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รักษาการรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เข้าร่วมหารือด้วย

นาย สมชาย กล่าวภายหลังหารือกับกระทรวงการต่างประเทศ โดยยืนยันว่าจะใช้แนวทางการหารือทวิภาคีแก้ปัญหาชายแดนไทย-กัมพูชาต่อไปตาม แนวทางของคณะกรรมการปักปันเขตแดน หรือเจบีซี ซึ่งอาจจะโทรศัพท์หารือกับสมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชาโดยตรง ส่วนผู้จะมาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะต้องเป็นบุคคลที่มีความสามารถด้านการต่างประเทศ เพราะจะต้องเข้าร่วมประชุมใหญ่ประจำปี สมัชชาสหประชาชาติ ครั้งที่ 63 ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 29 กันยายนนี้ จะหารือระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอาเซียนด้วย และจะใช้โอกาสนี้ หารือกับรัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชาเพื่อแก้ปัญหาด้วย ขณะที่ระบุว่าตนเองจะไม่เข้าร่วมการประชุมสหประชาชาติ

ด้าน ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ หรือยูเอ็นเอสซี ได้ยืนยันกับไทยว่า ขณะนี้ปัญหาข้อพิพาทชายแดนไทย-กัมพูชา ยังไม่มีความจำเป็นต้องนำเรื่องเข้าที่ประชุมยูเอ็นเอสซีหรือศาลโลก

ล่า สุด หลังเสร็จภารกิจที่กระทรวงการต่างประเทศ ว่าที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่ ได้เดินทางไปที่กระทรวงการคลัง เพื่อหารือผลกระทบจากวิกฤติสถาบันการเงินสหรัฐฯ มี นพ.สุรพงษ์ ผู้บริหารของกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยให้การต้อนรับ โดยก่อนขึ้นไปร่วมประชุมนายสมชาย ได้ไปสักการะช้างคู่เอราวัณ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำกระทรวงการคลังด้วย




ขอขอบคุณหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

http://www.thairath.co.th/

โดยนางสาวเกษศิณี กรกนก 5131601012

นายชาญภิวัฒน์ คำมะโนชาติ 5131601042

นางสาวงวรรณิศา ธะนะคำ 5131601169

นางสาวกนกวรรณ คงไพศาล 5131601219

Somchai Wongsawat Prime Minister of Thailand

Somchai Wongsawat (Thai: สมชาย วงศ์สวัสดิ์, born August 31, 1947) is the Prime Minister of Thailand and a member of the People Power Party. Somchai had previously served as Minister of Education and Senior Deputy Prime Minister[2] since February 2008. He became acting Prime Minister on 9 September 2008 upon a ruling that Samak Sundaravej must resign for being intermittently employed as a cooking show host while in office. Somchai is the brother-in-law of Thaksin Shinawatra. On 17 September 2008, he was elected as PM by the parliament.
In 1970, Somchai graduated from Thammasat University with a Bachelor of Laws. He became a Barrister-At-Law in 1973, and earned a Master of Public Administration from Thailand's National Institute of Development Administration in 2002. In 1974 he was appointed an assistant judge, and he became a judge in 1975. Somchai was appointed to the position of Chief Justice of Pang-nga Court in 1986. He became a member of the Region II Court of Appeal in 1993, and chief justice of that court in 1997. In 1998, he was appointed to the Cabinet as Deputy Permanent Secretary of the Ministry of Justice; he became Permanent Secretary in November 1999, and served until March 2006. Somchai was then appointed to Permanent Secretary of the Ministry of Labor, and held that post until September 2006. He became a member of the Thai House of Representatives in 2007.
On September 15, 2008, the People Power Party named Somchai Wongsawat as its intended candidate for prime minister. However, this decision was quickly questioned by both the People's Alliance for Democracy (PAD) and factions within the PPP.Somchai was ratified by the National Assembly of Thailand as Prime Minister of Thailand on the 17th September, winning 298 votes against 163 votes for Abhisit Vejjajiva. The Supreme Court was also expected to rule that day in a corruption case against Thaksin and his wife, to be promulgated after the parliament votes for the new prime minister. Somchai won more than 60% parliament vote, and he will assume office upon endorsement by Thai King Bhumibol Adulyadej, which is expected to occur within a few days
Somchai's wife, Yaowapa Wongsawasdi, previously served as an MP in the Thai Rak Thai party, which was led by her older brother, Thaksin Shinawatra. Somchai has held positions on the boards of several state-owned corporations, including Airports of Thailand, the national petroleum company PTT and Krung Thai Bank.

ที่มา : http://en.wikipedia.org/wiki/Somchai_Wongsawat

โพสต์โดย นางสาวชลินันท์ จันทะนาม ID : 5131601037 ตอนเรียน 1

ประชุมผู้นำอเมริกาใต้เน้นการทูตแก้วิกฤติโบลิเวีย


ผู้นำประเทศกลุ่มอเมริกาใต้ ประกอบด้วยอาร์เจนตินา บราซิล ชิลี โคลอมเบีย เอกวาดอร์ อุรุกวัย เวเนซุเอลา และโบลิเวีย เข้าร่วมการประชุมเฉพาะกิจเมื่อ 15 ก.ย. ที่กรุงซันติอาโก เมืองหลวงของชิลี เพื่อหารือแนวทางแก้วิกฤติทางการเมืองในโบลิเวีย หลังเกิดการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่จากส่วนกลางและผู้ชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาลในแคว้นแพนโดและแคว้นทาริฮา ภาคเหนือของโบลิเวีย ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 30 ศพ และมีผู้สูญหายอย่างน้อย 50 คน โดยผู้ชุมนุมประท้วงได้ยึดถนนสายหลัก 35 เส้นทางที่เชื่อมต่อระหว่างส่วนกลางกับท้องถิ่น ทำให้เกิดผลกระทบไปยังแคว้นซานตาครูซ ทางภาคตะวันออก รวมถึงชายแดนที่ติดกับบราซิลซึ่งถูกตัดขาดจากโลกภายนอกไปด้วย

ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติให้ประธานาธิบดี อีโว โมราเลส แห่งโบลิเวีย เจรจาทางการทูตเพื่อแก้ไขความขัดแย้งภายในประเทศ และเรียกร้องให้ประธานาธิบดี ฮูโก ชาเวซ แห่งเวเนซุเอลา ยุติการแทรกแซงกองทัพโบลิเวีย หลังนายชาเวซโจมตีนายทหารระดับสูงของโบลิเวียว่าไม่ให้การสนับสนุนรัฐบาลเมื่อ 11 ก.ย. ขณะที่นักวิเคราะห์การเมืองอเมริกาใต้ระบุว่าการประชุมครั้งนี้คือการรวมตัวของ “สหภาพกลุ่มประเทศอเมริกาใต้” (Unasur) ซึ่งต้องการแยกตัวจาก “องค์กรประเทศแถบทวีปอเมริกา” (โอเอเอส) ที่สหรัฐฯหนุนหลังอยู่ แต่ผู้นำประเทศอเมริกาใต้หลายคนมิได้เห็นด้วยกับการประกาศจุดยืนต่อต้านสหรัฐฯของผู้นำเวเนซุเอลาและผู้นำโบลิเวีย หลังทั้ง 2 คนไล่ตัวแทนทางการทูตสหรัฐฯประจำประเทศตนออกจากตำแหน่งเมื่อสัปดาห์ก่อน โดยอ้างว่าตัวแทนการทูตของสหรัฐฯ มีส่วนยุยงให้ประชาชนในโบลิเวียรวมตัวต่อต้านรัฐบาล

ขณะเดียวกัน รัฐบาลสหรัฐฯส่งตัวทูตเวเนซุเอลาและโบลิเวียกลับประเทศเช่นกัน โดยอ้างว่าตัวแทนการทูตของทั้ง 2 ประเทศ ให้ความช่วยเหลือกลุ่มกบฏในโคลอมเบีย (ฟาร์ก) ลักลอบขนยาเสพติดเข้าสหรัฐฯ ซึ่งทำเป็นขบวนการใหญ่ นอกจากนี้ นักวิเคราะห์ยังระบุด้วยว่าหากเกิดสงครามกลางเมืองขึ้นในโบลิเวียจะส่งผลกระทบเสียหายไปทั้งกลุ่มประเทศแอนเดียน อันได้แก่ โบลิเวีย โคลอมเบีย เปรู เอกวาดอร์ เวเนซุเอลา รวมถึงบราซิลซึ่งต้องนำเข้าพลังงานจากโบลิเวียเป็นหลัก
ส่วนนายมาริโอ คอสซิโอ ผู้ว่าการแคว้นทาริฮา ประกาศเมื่อ 15 ก.ย. ว่าผู้ชุมนุมพร้อมเจรจาต่อรองกับรัฐบาลโบลิเวีย โดยเรียกร้องให้มีการยกเลิกกฎอัยการศึกในแคว้นทาริฮาและแพนโด ขณะที่ประธานาธิบดีโมราเลสต้องให้คำมั่นสัญญาว่าจะไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อเปลี่ยนรูปแบบการปกครองจากการกระจายอำนาจไปสู่การรวมศูนย์อำนาจโดยรัฐบาลกลาง รวมถึงยกเลิกการแก้ไขกฎหมายการถือครองที่ดินเพื่อเอื้อประโยชน์ให้ชาวพื้นเมืองโบลิเวียซึ่งมีมากกว่า 60% ของประชากรทั่วประเทศ และเป็นข้อเสนอที่นายโมราเลสพยายามผลักดันเมื่อเดือน ธ.ค.ปีที่แล้ว แต่ประชาชนทางภาคเหนือของประเทศคัดค้าน ซึ่งถ้าหากรัฐบาลยอมรับข้อตกลงผู้ชุมนุมยินยอมยุติการยึดถนนทั้ง 35 สาย และเปิดเส้นทางการจราจร.
ร่วมคิด
จะเห็นได้ว่าวิกฤตการณ์ทางการเมืองของแต่ละประเทศไม่ใช่แค่ส่งผลกระทบต่อประเทศนั้นเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อประเทศอื่นๆอีกมากมาย
ที่มา หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ http://www.thairath.co.th/news.php?section=international&content=104328
Post by
Mr. Nuttachai Nalampang ID 5131601061
section 1

ออกหมายจับ ทักษิณ คดีเงินกู้ [17 ก.ย. 51]



เมื่อเวลา 10.00 น. วานนี้ (16 ก.ย.) ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง นายปัญญา สุทธิบดี รองประธานศาลฎีกา ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน พร้อมองค์คณะได้ออกนั่งบัลลังก์พิจารณาคดีครั้งแรก ในคดีหมายเลขดำที่ อม.3/2551 ที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เป็นโจทก์ฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ เป็นจำเลย ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 152 และ 157 กรณีอนุมัติเงินกู้ ดอกเบี้ยต่ำของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือเอ็กซิมแบงก์ ให้กับรัฐบาลพม่า วงเงิน 4,000 ล้านบาท ตามโครงการปรับปรุงระบบโทรคมนาคมของประเทศพม่า เพื่อเอื้อประโยชน์ในธุรกิจบริษัทในเครือตระกูลชินวัตร โดยศาลพิจารณาแล้วเห็นว่าจำเลยได้รับหมายเรียกแต่ไม่มาศาล โดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง พฤติการณ์จึงมีเจตนาจะหลบหนี ให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความชั่วคราว และให้ออกหมายจับจำเลยมาเพื่อพิจารณาคดีต่อไป หากได้ตัวจำเลยมาจึงจะนำคดีขึ้นมาพิจารณาอีกครั้ง และอนุญาตให้ถอนนายวัชระ สุคนธ์ และคณะรวม 3 คน ออกจากทีมทนายความจำเลยตามที่ร้องขอ
ที่สำนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ ถนนรัชดาภิเษก นายเศกสรรค์ บางสมบุญ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ ได้ นัด สั่งคำสั่งคดีปกปิดโครงสร้างผู้ถือหุ้น บริษัทเอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดยนางเพ็ญโสม ดามาพงศ์ กรรมการบริษัท นางบุษบา ดามาพงศ์ อดีตกรรมการบริษัทฯ, พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา เป็นผู้ต้องหาที่ 1-4 โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาว พ.ต.ท.ทักษิณได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนการสั่งคดีออกไป โดยอ้างว่าจะติดตามตัว พ.ต.ท.ทักษิณและคุณหญิงพจมาน มาฟังการสั่งคดีในนัดหน้า หากทั้งสองไม่มาตามนัดยินดีให้ปรับนายประกัน ด้านนายเศกสรรค์กล่าวว่า พนักงานอัยการยังต้องพิจารณาสำนวนอย่างละเอียดอีกครั้ง หลังได้รับเอกสารหลักฐานการถือครองหุ้นบางส่วนจากต่างประเทศ ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ติดตามมา จึงเห็นสมควรให้เลื่อนการสั่งคดีออกไปเป็นวันที่ 29 ต.ค. เวลา 10.00 น.
หาก พ.ต.ท.ทักษิณและคุณหญิงพจมานไม่มาฟังคำสั่ง จะปรับนายประกันคนละ 1 ล้านบาท และออกหมายจับต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันที่ 17 ก.ย.นี้ เวลา 10.00 น. ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้นัดฟังคำพิพากษาในคดีทุจริตที่ดินรัชดาฯ ที่อัยการสูงสุดเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณและคุณหญิงพจมาน ร่วมกันเป็นจำเลยที่ 1-2 และขอให้ยึดทรัพย์จำนวน 772 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินที่ใช้ในการประมูลซื้อที่ดิน โดยเป็นที่แน่ชัดว่าจำเลยทั้งสองจะไม่มาฟังคำพิพากษา ทางองค์ผู้พิพากษาจะพิจารณาออกหมายจับจำเลยมาศาลภายใน 30 วัน หากยังไม่ได้ตัวจำเลยมา ศาลจะอ่านคำพิพากษาลับหลังจำเลย ตามขั้นตอนของกฎหมาย
วันเดียวกัน นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะกรรมการบริหารสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล และนายชัยวัฒน์ พสกภักดี อดีตผู้อำนวยการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ที่ตกเป็นจำเลยในคดีหวยบนดิน เดินทางมายื่นคำร้องและหลักทรัพย์เพื่อขอประกันตัว โดยใช้เงินสดและบัญชีเงินฝากประกันตัวออกไป โดยศาลตีราคาประกันคนละห้าแสนบาท
โพสต์โดย นางสาวศิริรรัตน์ ลังกาพิน ID 5131601185 section 1

สมชาย ฉลุย! นั่งนายกรัฐมนตรี คนที่ 26


เช้าวันนี้ เวลา 09.30 น. วันนี้ (17 กันยายน) นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฏร เรียกประชุมเพื่อลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ แทนนายสมัคร สุนทรเวช ที่พ้นจากตำแหน่งไป โดยพรรคร่วมรัฐบาล 6 พรรค คือ พรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา พรรคมัชฌิมาฯ และพรรคประชาราช จะเสนอชื่อ "นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์" รักษาการนายกรัฐมนตรี และรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่
ทั้งนี้ บรรยากาศที่สภาฯ นายบัญญัติ บรรทัดฐาน ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ได้เสนอชื่อ "นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เป็นนายกรัฐมนตรี จากนั้นนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และ ส.ส.สัดส่วนพรรคพลังประชาชน ได้เสนอชื่อ "นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์" รักษาการนายกรัฐมนตรีและรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นนายกรัฐมนตรี
ผลคะแนนโหวตปรากฎว่า นายสมชาย ได้ 298 คะแนน นายอภิสิทธิ์ ได้ 163 คะแนน งดออกเสียง 5 คะแนน มีผู้เข้าประชุมทั้งหมด 466 คน โดยนายสมชายได้รับเสียงเกินกึ่งหนึ่ง จึงถือว่านายสมชาย ได้รับความเห็นชอบตามมติของสภาฯ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 26 ของไทย
ทั้งนี้ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ได้ออกมากล่าวขอบคุณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคพลังประชาชนและพรรคร่วมรัฐบาลที่ลงคะแนนเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรี พร้อมกันนี้นายสมชายได้เดินไปจับมือ นายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และนายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช ท่ามกลางการร่วมยินดีของ ส.ส. ในพรรค
ขณะที่ม็อบหนุนพรรคพลังประชาชนต่างเฮแสดงความดีใจ ทางด้านกลุ่มพันธมิตรฯ เมื่อรู้ข่าวต่างก็แสดงอาการยี้ กับการได้เป็นนายกรัฐมนตรีของ "นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์"
ที่มาข่าว : http://hilight.kapook.com/view/28979
โพสต์โดย นางสาวชลินันท์ จันทะนาม ID : 5131601037 ตอนเรียน 1

วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2551

AIG ดิ้นหนีล้มละลาย ธ.กลางทั่วโลกเร่งอัดฉีดเงินค้ำระบบการเงิน


เอเอฟพี – เอไอจี บริษัทประกันที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ ต้องแก้ไขสถานการณ์ขาดสภาพคล่องอย่างเร่งด่วนหลังโดนลดระดับความน่าเชื่อถือ นักเศรษฐศาสตร์ชี้เศรษฐกิจสหรัฐฯ เข้าสู่ยุคถดถอยจริง ชี้ปัญหาตามมาอีกบาน ด้านธนาคารกลางทั่วโลกอัดฉีดเงินกว่า 160,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อค้ำจุนระบบการเงินเอาไว้ คนวงในชี้เอไอจีต้องหาเงินมาโปะให้ได้ภายในวันนี้ ไม่งั้นล้มแน่ นักลงทุนผิดหวังเฟดไม่ลดดอกเบี้ย หลังจากเมื่อวันจันทร์ (15) ที่ผ่านมา กลุ่มบริษัท เลห์แมน บราเธอร์ส จำกัด ประกาศขอเข้าฟื้นฟูกิจการภายใต้ มาตรา 11 ของกฎหมายการเงินสหรัฐอเมริกา สถานการณ์ของบริษัท อเมริกัน อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป หรือเอไอจี กลุ่มบริษัทประกันภัยและผู้ให้บริการทางการเงินชั้นนำของโลกสัญชาติอเมริกัน ก็อยู่ในภาวะย่ำแย่ไม่แพ้กัน แม้จะได้รับการอนุมัติให้กู้ยืมเงินจำนวน 20,000 ล้านดอลลาร์ได้ และทางธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ก็ได้ขอให้ธนาคาร 2 แห่งเข้ามาปล่อยเงินเพิ่มสภาพคล่องให้ด้วยเงินจำนวน 70,000-75,000 ล้านดอลลาร์ก็ตามที วันจันทร์ที่ผ่านมาตลาด นักลงทุน และผู้ออมเงินทั่วโลกต่างจับตามองอย่างใจจดใจจ่อว่า เอไอจีจะเป็นหายนะของตลาดวอลล์สตรีทหรือไม่ หลังจากที่ธนาคารเพื่อการลงทุนยักษ์ใหญ่อีกแห่งอย่าง เมอร์ริล ลินช์ ได้พ้นจากวิกฤตจากการโอบอุ้มของแบงก์ออฟอเมริกาไปแล้ว ด้าน เจฟฟรีย์ แซคส์ นักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบียได้กล่าวเตือนว่า “จะมีปัญหาตามมาอีกเยอะ และเศรษฐกิจสหรัฐฯ เข้าสู่ยุคถดถอยแล้วจริงๆ...ต่อไปจะมีความยุ่งเหยิงทางการเงินตามมาอีก” ดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงเป็นวันที่ 2 ติดต่อกันแล้ว หลังจากที่มียอมรับกันแล้วว่า วิกฤตการณ์ทางการเงินครั้งนี้เป็นครั้งที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่ปี ค.ศ.1929 (พ.ศ.2472) แม้ว่าวันอังคารดัชนีตลาดหุ้นในยุโรปจะปรับตัวลดลงน้อยกว่าวันจันทร์ ทว่าดัชนีตลาดหุ้นในเอเชียต่างตกต่ำไปตามๆ กัน ขณะที่ราคาหุ้นกลุ่มธนาคารก็ปรับตัวลดลงอย่างมาก สำหรับปัญหาของเอไอจีนั้น อยู่ในการจับตามองของธนาคารกลางยุโรป อังกฤษ และญี่ปุ่น โดยธนาคารกลางของประเทศเหล่านี้ได้อัดฉีดเงินเพิ่มเข้าไปกว่า 160,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อเพิ่มสภาพคล่องในการกู้ยืมระหว่างกัน ด้านกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ ก็ออกมายืนยันเรื่องการยื่นมือเข้าแก้ไขสถานการณ์ว่า จะไม่มีการใช้เงินภาษีของประชาชนเข้ามาอุ้มเอไอจีแน่นอนเช่นเดียวกับที่ทำกับเลห์แมน บราเธอร์ส ขณะที่หนังสือพิมพ์วอลล์สตรีท เจอร์นัล ได้อ้างอิงแหล่งข่าวระบุว่า เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาเฟดได้ขอให้กลุ่มโกลด์แมน แซคส์ และเจพี มอร์แกน เชส เข้าช่วยเหลือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นโดยให้ปล่อยเงินกู้จำนวน 70,000-75,000 ล้านดอลลาร์ให้กับเอไอจี ส่วนเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาทางรัฐนิวยอร์กก็ได้ประกาศช่วยเหลือเอไอจีว่า บริษัทสามารถกู้ยืมเงินจำนวน 20,000 ล้านดอลลาร์ได้ ด้วยการนำทรัพย์สินของบริษัทมาค้ำประกัน ทว่า การยื่นมือเข้าช่วยเหลือของหลายภาคส่วนก็ไม่ได้ช่วยให้ฉุดให้สถานการณ์ดีขึ้นเท่าใดนัก เมื่อในช่วงเย็นของวันจันทร์ สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือสำคัญ 3 แห่ง ได้แก่ สแตนดาร์ดแอนด์พัวร์ มูดี้ส์ และฟิทช์เรทติ้ง ลดระดับความน่าเชื่อถือของเอไอจีลง โดยเหตุผลที่สถาบันจัดอันดับทั้งสามลดความน่าเชื่อถือของเอไอจีนั้น ตรงกันคือ วิกฤตปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐฯ ที่เอไอจีได้รับผลกระทบมาก และการดิ่งลงเหวของราคาหุ้นของบริษัท สำหรับผลกระทบที่จะตามมาจากปัญหาของบริษัทประกันที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ ก็คือ ปัญหาจะลามไปยังภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก ทั้งนี้เอไอจีจะต้องระดมเงินทุนเพื่อทำให้บริษัทพ้นจากภาวะล้มละลาย แม้ว่าบริษัทจะพยายามหาเงินหลายพันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อแก้ไขสถานการณ์แล้วก็ตาม โดยวอลล์สตรีท เจอร์นัล ระบุเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาว่า คนวงในชี้ว่าเอไอจีอาจจะต้องล้มละลายหากระดมเงินทุนไม่ได้ภายในวันพุธ (17) “สถานการณ์วิกฤตเป็นอย่างยิ่ง” แหล่งข่าวใกล้ชิดกับเอไอจีที่ไม่เปิดเผยชื่อ กล่าวกับวอลล์สตรีท เจอร์นัล วันจันทร์ที่ผ่านมาราคาหุ้นของเอไอจีดิ่งลงกว่าร้อยละ 61 เหลือเพียง 4.76 ดอลลาร์ โดยในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาราคาหุ้นตกลงกว่าร้อยละ 93 “การลดความน่าเชื่อถือของฟิทช์สะท้อนให้เห็นว่า ความยืดหยุ่นทางด้านการเงินของเอไอจี และความสามารถในการระดมเงินสดจากบริษัทในเครือนั้นอยู่ในระดับที่จำกัดมาก” ฟิทช์กล่าวในแถลงการณ์ โดย เอสแอนด์พี ได้ประกาศลดเครดิตเรตติ้งระยะยาวลงจาก “AA-” เป็น “A-” ส่วนเครดิตในระยะสั้นก็ปรับลดลงจาก “A-1+” เหลือ “A-2” ส่วนมูดี้ส์ก็ปรับลดเครดิตเรดติ้งของเอไอจีลงจาก “AA3” เป็น “A2” ขณะที่ฟิทช์นั้นปรับลดจาก “AA” เหลือ “A” มากกว่านั้น เอไอจียังถือเป็นผู้เล่นคนสำคัญในตลาดอนุพันธ์อันซับซ้อนที่เรียกว่า สัญญาสวอปความเสี่ยงผิดนัดชำระสินเชื่อ (Credit Default Swaps หรือ CDS) ทั้งนี้เครื่องมือทางการเงินเหล่านี้นี่เองที่เชื่อมโยงไปถึงตลาดอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นหัวใจของวิกฤตในภาคการเงินและการธนาคารในปัจจุบัน ปัจจุบันเอไอจีมีลูกค้าอยู่ทั่วทุกมุมโลก จำนวนกว่า 74 ล้านคน โดยส่วนใหญ่นั้นเป็นชาวอเมริกันที่จะไร้หลักประกันใดๆ ทั้งสิ้นหากบริษัทล้มละลายไป นอกจากนี้จากสถิติในช่วงปลายปี 2550 เอไอจียังมีพนักงานในสังกัดอีกกว่า 116,000 คนใน 130 ประเทศทั่วโลก จากรายงานข่าวของสื่ออเมริกัน ระบุว่า สินทรัพย์ที่ทางเอไอจีหวังว่าจะขายได้นั้นก็คือ ธุรกิจการปล่อยเช่าเครื่องบินและธุรกิจสินเชื่อ ที่มีเครื่องบินรวมทั้งสิ้นกว่า 1,000 ลำ ขณะที่สถานการณ์ด้านดัชนีราคาหุ้นของเอไอจีในช่วงบ่ายของวันอังคารตามเวลาในสหรัฐฯ ราคาหุ้นของเอไอจีในตลาดหุ้นนิวยอร์ก มีความผันผวนสูง โดยปรับตัวลดลงกว่าร้อยละ 37 โดยไปยืนอยู่ที่ราว 3.00 ดอลลาร์ หลังจากที่เคยร่วงลงไปอยู่ที่ระดับ 1.25 ดอลลาร์มาแล้ว โดยนับจากวันจันทร์ที่ผ่านมาราคาหุ้นเอไอจีได้ตกลงไปมากกว่าร้อยละ 60 ขณะที่ในภาพรวมนักลงทุนส่วนมากก็แสดงท่าทีที่ผิดหวังที่หลังการประชุม เฟดประกาศว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ดังเดิม
โพสต์โดย นายรวมเลิศ สุภานันท์ ตอนเรียน1 ID.5131601165

มหาเธร์เตรียมร่วมพรรคอัมโนอีกครั้ง หลังลาออกเพื่อบีบอับดุลเลาะห์

อดีตนายกรัฐมนตรีมหาเธร์ โมฮัมหมัด

เอเจนซี – ลูกชายอดีตนายกรัฐมนตรีมหาเธร์ โมฮัมหมัดเผย พ่อของเขาจะเข้าร่วมพรรคอัมโน แกนนำรัฐบาลมาเลเซียอีกครั้ง หลังจากประกาศลาออกไปเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เพื่อกดดันให้นายกรัฐมนตรีอับดุลเลาะห์ อาหมัด บาดาวีลงจากตำแหน่ง มหาเธร์ นักการเมืองฝีปากกล้า ที่มักวิจารณ์การทำงานของนายกรัฐมนตรีอับดุลเลาะห์เสมอ จะเข้าร่วมพรรคอัมโนอีกครั้ง เมื่อรัฐบาลแห่งชาติ ซึ่งมีพรรคอัมโนเป็นแกนนำ ถูกกดดันอย่างหนักจากอดีตรองนายกรัฐมนตรีอันวาร์ อิบรอฮิม ผู้นำพรรคฝ่ายค้าน มุครีซ มหาเธร์กล่าวในการแถลงข่าว ซึ่งสำนักข่าวเบอร์นามารายงานว่า มหาเธร์ตัดสินใจกลับมาร่วมพรรคอัมโนอีกครั้งด้วยตัวเอง และความต้องการของพระเจ้า โดยเขาจะยื่นใบสมัครเป็นสมาชิกก่อนเทศกาลเอดิลฟิทรี งานฉลองหลังเดือนรอมฎอน ทั้งนี้ มหาเธร์ได้แถลงการลาออกเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคมที่ผ่านมา โดยยังชักชวนสมาชิกพรรคอัมโนคนอื่นๆ เดินตามรอยเขา เพื่อกดดันให้นายกรัฐมนตรีอับดุลเลาะห์ อาหมัด บาดาวี ต้องลาออกจากตำแหน่ง ภายหลังนำพรรคพ่ายแพ้การเลือกตั้งครั้งใหญ่เป็นประวัติการณ์ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ก่อนหน้านี้ อันวาร์ประกาศในวันอังคาร (16) ที่ผ่านมาว่าได้ระดมเสียงสนับสนุนของส.ส.ในรัฐสภาเป็นจำนวนมากเพียงพอ ที่จะขับไล่รัฐบาลแล้ว และเสนอเจรจากับนายกรัฐมนตรีเรื่องการส่งมอบอำนาจ นอกจากนี้ เขายังได้ขอพระบรมราชานุญาตจากสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซีย ซึ่งทรงมีพระราชอำนาจในการปลดตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเสนอให้มีการเลือกตั้งรัฐสภา เพื่อแต่งตั้งผู้นำคนใหม่ ขณะที่พรรคร่วมฝ่ายค้านของอันวาร์ทั้ง 3 พรรคครองเก้าอี้ในสภา 82 ที่นั่ง ขาดอีกเพียง 30 ที่นั่ง เพื่อที่จะได้ครองเสียงข้างมากในสภา ที่มีทั้งหมด 222 ที่นั่ง

ที่มาข่าวhttp://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9510000110171

วิเคราะห์ข่าว

ถ้าการเปลี่ยนแปลงในรัฐบาลมาเลเซียเกิดขึ้นจริงก็คงเหมือนกรณีในประเทศไทยที่ต้องมีผู้นำใหม่มาแทนที่ซึ่งในกรณีของมาเลเซียคงจะเป็นนายอันวาห์เป็นแน่ ปัญหาที่เกิดขึ้นก่อให้เกิดความแตกแยกในหมู่นักการเมืองซึ่งบทสรุปที่ออกมาจะเป็นเช่นไรคงต้องติดตามกันต่อไป

วิเคราะห์ข่าวโดย นายรวมเลิศ สุภานันท์ 5131601165 ตอนเรียน 1



คดีบึม จ.สงขลาคืบหน้า ผบ.ตร.เผยจับแล้ว 6ผู้ต้องหา

พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ แถลงข่าววันนี้ (16 ก.ย.) ที่ห้องประชุม สภ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ถึงความคืบหน้าเหตุลอบวางระเบิด 7 จุด ใน อ.เมือง และ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เมื่อวันที่ 2 ส.ค.ที่ผ่านมาว่า คดีมีความคืบหน้ามาก โดยเจ้าหน้าที่สามารถรวบรวมพยานหลักฐานจนออกหมายจับผู้ก่อเหตุแล้ว 11 ราย จับกุมได้แล้ว 6 ราย คือ นายอับดุลเล๊าะ หมะหลี อายุ 29 ปี นายมูฮัมหมัดนูร มูสอ อายุ 25 ปี นายอิสเฮาะ สาแมบากอ อายุ 25 ปี นายฮารีล สะมะแอ อายุ 25 ปี นายมูฮัมมัด สิดดิก มอลอ อายุ 25 ปี และนายมัคสุด เสะและ อายุ 31 ปี เบื้องต้นแจ้งข้อหาทั้งหมดร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ร่วมกันกระทำให้เกิดระเบิดจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่โรงเรือนและมีผู้ได้ รับบาดเจ็บ ร่วมกันทำ มี ใช้วัตถุระเบิด ที่นายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตให้ได้ และร่วมกันขนย้ายวัตถุระเบิดโดยไม่ได้รับอนุญาต ส่วนอีก 5 ราย อยู่ระหว่างหลบหนีหมายจับและกำลังจะออกหมายจับเพิ่มอีกราย

ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวต่อว่า จากการตรวจสอบประวัติของผู้ต้องหาทั้งหมดพบว่า เคยก่อเหตุระเบิดในพื้นที่สงขลามาแล้ว 3 ครั้ง คือ ที่ท่าอากาศยานหาดใหญ่เมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2548 ที่ศูนย์การค้าใน อ.หาดใหญ่ 6 จุด เมื่อวันที่ 16 ก.ย.2549 และย่านการค้าสถานบันเทิงในเมืองหาดใหญ่ 7 จุด เมื่อวันที่ 27 พ.ค. 2550 ซึ่งการออกหมายจับนั้นรวบรวมพยานหลักฐานอย่างละเอียดและชัดเจน

ขอขอบคุณหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

http://www.thairath.co.th/

โดย

นางสาวเกษศิณี กรกรก 5131601012

นายชาญภิวัฒน์ คำมะโนชาติ 5131601042

นางสาววรรณิศา ธะนะคำ 5131601169

นางสาวกนกวรรณ คงไพศาล 5131601219


แกนนำ6พรรคร่วมกินข้าว ก่อนแถลงจัดตั้งรัฐบาลใหม่

ผู้ สื่อข่าวรายงาน วันนี้ (16 ก.ย.) ว่า ที่โรงแรม เจดับบิวมาริออท กรุงเทพฯ สถานที่กำหนดการแถลงข่าวร่วมจัดตั้งรัฐบาลแกนนำของทั้ง 6 พรรคการเมือง คือ พลังประชาชน ชาติไทย เพื่อแผ่นดิน รวมใจไทยชาติพัฒนา มัชฌิมาธิปไตยและประชาราช เช่น นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย พล.อ.เชษฐา ฐานะจาโร หัวหน้าพรรครวมใจไทยฯ และนางอุไรวรรณ เทียนทอง แกนนำพรรคประชาราช ได้เดินทางมาถึงแล้ว และรับประทานอาหารร่วมกันที่ห้องเพลินจิต

ทั้งนี้ มีรายงานว่า แกนนำของทั้ง 6 พรรคการเมืองมีกำหนดจะแถลงข่าวร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลและสนับสนุนนายสมชายเป็น นายกฯ ตามมติของพรรคพลังประชาชนในเวลาประมาณ 20.30 น.

ด้านนายสมชาย กล่าวก่อนการรับประทานอาหารร่วมกับแกนนำ 6 พรรคการเมืองว่า พร้อมทำหน้าที่นายกฯ อย่างบริสุทธิ์ใจเพื่อส่วนรวมมากแม้ต้องรับภาระมากขึ้น ซึ่งการทำงานทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันและจะกล้าตัดสินใจผลักดันในสิ่งที่ถูก ต้องอย่างไรก็ตาม ขอย้ำว่า ไม่ใช่นอมินี โดยจะให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์

“เรารู้จักกับใคร หรือ เราเป็นญาติใคร เราใกล้ชิดใครเป็นสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ แต่อยู่ที่ตัวเราว่า จะว่างตัวอย่างไร วางตัวให้คนเห็นหรือไม่ว่า เราขึ้นมาแล้วเอื้อประโยชน์ให้พรรคพวก ให้คนใกล้ชิด หรือ เครือญาติหรือเปล่า อันนี้ ตนคิดว่า ควรคำนึงถึง ดังนั้น ควรต้องให้มีการตรวจเช็ค หรือ จับตามอง” รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน กล่าว

นายสมชาย กล่าวถึงกรณีที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ชุมนุมในทำเนียบรัฐบาล ว่า เห็นว่า ทำเนียบฯ เป็นสมบัติของชาติไม่อยากให้นำไปใช้ในทางเสียหาย และถึงเวลาก็ควรจะทวงคืน

ขอขอบคุณหนังสือพืมพ์ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/
โดยนางสาวเกษศิณี กรกนก 5131601012
นายชาญภิวััฒน์ คำมะโนชาติ 5131601042
นางสาววรรณิศา ธะนะคำ 5131601169
นางสาวกนกวรรณ คงไพศาล 5131601219

นายกฯ มาเลย์ปัดเจรจามอบอำนาจให้อันวาร์ตั้งรัฐบาลใหม่

อันวาร์ อิบรอฮิม ผู้นำฝ่ายค้านของมาเลเซียกล่าวปราศรัยในการชุมนุม

เอเอฟพี – นายกรัฐมนตรีอับดุลเลาะห์ อาหมัด บาดาวีแห่งมาเลเซียไม่ยอมรับคำกล่าวอ้างของอันวาร์ อิบรอฮิม ที่ว่าพรรคฝ่ายค้านได้รับแรงสนับสนุนมากเพียงพอที่จะยึดอำนาจของรัฐบาลได้แล้ว พร้อมทั้งปฏิเสธว่าเขาไม่ได้กำลังถูกกดดันให้ลาออก ผู้นำพรรคฝ่ายค้านออกมาประกาศตั้งรัฐบาลใหม่ โดยมีวุฒิสมาชิกของรัฐบาลที่แปรพักตร์ร่วมด้วย และยังระบุว่า เขามีผู้สนับสนุนกว่า 10,000 คน ซึ่งเป็นจำนวนที่สามารถเอาชนะรัฐบาลแห่งชาติ ในปัจจุบันได้แล้ว ยิ่งไปกว่านั้น อันวาร์ยังแสดงความต้องการที่จะเจรจากับนายกรัฐมนตรีในเรื่องการส่งมอบอำนาจ โดยเผยว่าผู้แทนพรรคฝ่ายค้านได้ยื่นหนังสือถึงอับดุลเลาะห์ เรียกร้องให้มีการเจรจาหารืออนาคตทางการเมืองด้วย อับดุลเลาะห์กล่าว เมื่อถูกถามว่าเขาถูกบีบให้ลาออกหรือไม่ว่า “ทำไมผมต้องรู้สึกกดดัน มันเป็นเพียงแค่ความฝัน หากมันเป็นจริง เขาจะต้องประกาศออกมาแต่ตอนนี้ โลกทั้งโลกจะต้องได้รับรู้” “คุณคิดว่าเขาจะขอให้มีการประชุมหารือการส่งมอบอำนาจกับผมอย่างนั้นหรือ เขาจะต้องระดมพลหลายร้อยคนที่อยู่เบื้องหลังเขาเข้ามาในห้องของผม แล้วประกาศชัยชนะ นี่คือแบบของอันวาร์” นายกรัฐมนตรีแดนเสือเหลืองกล่าวในการแถลงข่าว หลังจากชัยชนะครั้งใหญ่ของพรรคฝ่ายค้าน ในการเลือกตั้ง ที่ทำให้มีที่นั่งในรัฐสภามากขึ้น เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา อันวาร์ได้กำหนดเส้นตายวันที่ 16 กันยายน ซึ่งเป็นวันชาติของมาเลเซีย เพื่อที่จะโค่นล้มพรรครัฐบาลบาริซัน เนชันนัล โดยการชักชวนวุฒิสมาชิกอย่างน้อย 30 คนให้ย้ายพรรค

วิเคราะห์ข่าว

การเมืองของมาเลเซียตอนนี้ก็เข้าขั้นวิกฤตณ์เช่นเดียวกันดูเหมือนว่ามีท่าทีที่มาเลเซียจะมีรัฐบาลใหม่ในเร็วๆนี้เป็นแน่หากอันวาร์ไม่พลาดท่าเสียก่อน

วิเคราะห์ข่าวโดย นายรวมเลิศ สุภานันท์ ตอนเรียน1 5131601165

ที่มาข่าว http://news.adintrend.com/?group=world

"ซิมบับเว" ลงนามตั้ง รบ.แห่งชาติสำเร็จ

ผู้นำซิมบับเวเห็นพ้องในข้อตกลงแบ่งปันอำนาจ
เอเจนซี - เหล่าพรรคการเมืองที่เป็นปรปักษ์มาเป็นเวลานานในซิมบับเวร่วมลงนามในข้อตกลงแบ่งปันอำนาจครั้งสำคัญในวันจันทร์ (15) โดยประธานาธิบดีโรเบิร์ต มูกาเบ ยอมยกอำนาจบางส่วนของตนให้กับฝ่ายค้านเป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปี หวังสร้างภาพความร่วมมือเพื่อดึงเงินสนับสนุนฟื้นฟูเศรษฐกิจประเทศที่จวนเจียนล้มละลาย เงินเฟ้อสูงกว่า 11 ล้านเปอร์เซ็นต์ หลังจากการต่อรองกันอย่างเคร่งเครียดมาเป็นเวลาหลายสัปดาห์ ในที่สุด มูกาเบ และพวกฝ่ายค้านหลักคือ มอร์แกน สวานกิไร ผู้นำขบวนการเพื่อการเปลี่ยนแปลงประชาธิปไตย (เอ็มดีซี) และอาร์เธอร์ มูตัมบารา ผู้นำกลุ่มที่แยกตัวจากเอ็มดีซีไป ก็ได้ร่วมลงนามในข้อตกลงที่โรงแรมแห่งหนึ่งในกรุงฮาราเร ท่ามกลางเสียงโห่ร้องยินดีของสักขีพยาน ซึ่งรวมทั้งจากายา กิกเวเต ผู้นำแทนซาเนีย ซึ่งเป็นประธานสหภาพแอฟริกา และประธานาธิบดีทาโบ เอ็มเบกิแห่งแอฟริกาใต้ สองผู้นำคนสำคัญที่ช่วยผลักดันการเจรจาต่อรองจนบรรลุผลสำเร็จ โดยก่อนหน้านี้ มูกาเบ และสวานกิไรได้ร่วมลงนามในข้อตกลงยุติวิกฤตการณ์ทางการเมืองอันเกิดจากความขัดแย้งกันในเรื่องการเลือกตั้งใหม่เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาแล้วด้วย ทั้งนี้ ข้อตกลงดังกล่าวจะแบ่งแยกอำนาจการควบคุมกองกำลังรักษาความมั่นคงที่มีอำนาจสูงสุด และเคยเป็นกำลังสนับสนุนหลักของมูกาเบด้วย โดยที่มูกาเบคงจะคงอำนาจการสั่งการกองทัพของซิมบับเวไว้ในมือ แต่กลุ่มเอ็มดีซีต้องการควบคุมกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ ชาวซิมบับเวนั้นหวังว่าข้อตกลงดังกล่าวจะเป็นการกรุยทางไปสู่การฟื้นฟูประเทศที่เคยมั่งคั่งร่ำรวยมาก่อน ให้พ้นจากสภาพล้มละลายทางเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อได้พุ่งทะยานขึ้นไปกว่า 11 ล้านเปอร์เซ็นต์ จนประชาชนหลายล้านคนต้องอพยพหนีไปอาศัยอยู่ในประเทศแอฟริกันเพื่อนบ้านทางใต้ ตามข้อตกลงดังกล่าว สวานกิไรจะได้รับผิดชอบในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและเป็นประธานของสภาคณะรัฐมนตรีซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแลคณะรัฐมนตรี โดยพรรคซานู-พีเอฟของมูกาเบจะได้ที่นั่งในคณะรัฐมนตรี 15 ที่นั่ง พรรคเอ็มดีซีของสวานกิไรได้ 13 ที่นั่ง และกลุ่มที่แยกตัวออกไปจากเอ็มดีซีจะได้ 3 ที่นั่ง ส่วนมูกาเบซึ่งปัจจุบันอายุ 84 ปี และเป็นผู้นำของซิมบับเวมาตั้งแต่ได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อปี 1980 จะยังคงดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีต่อไป รวมทั้งเป็นหัวหน้าคณะรัฐมนตรีอีกด้วย นักวิเคราะห์ กล่าวว่า ข้อตกลงแบ่งปันอำนาจครั้งนี้ยังอยู่ในสภาพง่อนแง่นและจำเป็นที่บรรดาอดีตปรปักษ์ระดับไม้เบื่อไม้เมาเหล่านี้ จะต้องพักเรื่องความคิดเห็นที่แตกต่างกันเอาไว้ก่อน แล้วหันมาร่วมมือกันทำงานอย่างใกล้ชิดเพื่อเอาชนะข้อสงสัยต่างๆ นานา โดยเฉพาะส่วนที่มาจากมหาอำนาจตะวันตกผู้ให้การสนับสนุนทางการเงินเพื่อฟื้นฟูประเทศ ทั้งนี้เมื่อวันเสาร์ (13) พรรคการเมืองคู่อริหลักทั้งสองได้พบปะกันและตกลงเงื่อนไขเกี่ยวกับตำแหน่งต่างๆ คณะรัฐมนตรี โดยได้มีการยกเลิกตำแหน่งรัฐมนตรีความมั่นคงของรัฐซึ่งเป็นตำแหน่งทรงอิทธิพลไป ส่วนกิจการด้านกระบวนการยุติธรรมก็ถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน และยังมีการจัดตั้งหน่วยงานใหม่ทางด้านเรือนจำเพิ่มขึ้นด้วย เอ็มดีซีต้องการควบคุมกระทรวงด้านกิจการภายใน โดยดูแลงานตำรวจ รัฐบาลท้องถิ่น กระทรวงด้านกระบวนการยุติธรรมหนึ่งกระทรวง กระทรวงข้อมูลและกระทรวงการคลัง เพื่อที่จะดูแลรับผิดชอบเรื่องการฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยที่เอ็มดีซียอมยกกระทรวงสำคัญอื่นๆ รวมทั้งกระทรวงกลาโหมให้อยู่ในมือของพรรคซานู-พีเอฟของมูกาเบ รัฐบาลซิมบับเวระบุว่า ตัวแทนของพรรคซานู-พีเอฟและเอ็มดีซีได้ประชุมกันในช่วงเช้าของวันจันทร์เพื่อจัดสรรกระทรวงทั้ง 31 กระทรวง ส่วนรายชื่อรัฐมนตรรีนั้นจะเปิดเผยภายในสัปดาห์นี้ นอกจากนั้น อาจมีการจัดตั้งสภาความมั่นคงแห่งชาติมาทดแทนกองบัญชาการปฏิบัติการร่วมด้านความมั่นคง ซึ่งฝ่ายค้านเห็นว่าเคยเป็นเครื่องมือในการวางแผนใช้ความรุนแรงซึ่งข่มขู่ให้ฝ่ายค้านถอนตัวจากการเลือกประธานาธิบดีรอบที่สอง เพื่อเปิดทางให้มูกาเบหวนคืนสู่อำนาจอีกครั้ง
วิเคราะห์ข่าว
ในที่สุดประเทศซิบบับเวก็มีประชาธิปไตยที่เริ่มมีการพัฒนาบ้างแล้วโดยฝ่ายบริหารมีพรรคฝ่ายค้านเข้าไปดูแลบริหารในบางกระทรวงและยุบบางกระทรวงที่ไม่จำเป็นและเป็นไปในแนวเผด็จการทิ้งไปเช่นกระทรวงความมั่นคง
วิเคราะห์ข่าวโดย นายรวมเลิศ สุภานันท์ 5131601165 ตอนเรียน1
ที่มาข่าวhttp://news.adintrend.com/?group=world

วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2551

“โมเช่” ไม่หวั่นสภาล่ม! ตีปี๊บเรียกโหวตนายกฯ 17 ก.ย.นี้

ชัย ชิดชอบ

“ปธ.สภาฯ” ไม่หวั่นสภาล่มลงมติโหวตนายกฯ รอบสอง มีคำสั่งเรียกสมาชิกประชุมตามสัญญา 17 ก.ย.นี้ พร้อมบรรจุวาระร่าง พ.ร.บ.ปปง.ชงเข้าสู่สภาเป็นของแถม

วันนี้ (15 ก.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้มีคำสั่งนัดประชุมสภาผู้แทนราษฎร เป็นพิเศษ ในวันพุธที่ 17 กันยายนนี้ เวลา 09.30 น. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลที่สมวรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 172 ซึ่งเป็นเรื่องที่ค้างพิจารณาจากการประชุมเมื่อวันที่ 12 กันยายนที่ผ่านมา จากเหตุการณ์องค์ประชุมล่ม มีสมาชิกอยู่ในห้องประชุมไม่ครบองค์ประชุม ทำให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรสั่งเลื่อนการประชุมมาเป็นวันดังกล่าวแทน

นอกจากนี้ยังมีวาระการประชุมที่สำคัญภายหลังการลงมติโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีแล้ว เช่น ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. .... ซึ่งคณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว และเรื่องด่วน ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ฉบับที่...) พ.ศ. .... ที่ ป.ป.ช.เป็นผู้เสนอ รวมถึงร่าง พ.ร.บ.ทำนองเดียวกันที่สมาชิกเสนอ และยังมีร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ที่คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอด้วย และรับทราบรายงานผลการดำเนินงานกองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2550 โดยสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้เสนอ

วิเคราะห์ข่าว
ถ้าคราวนี้พรรคพปช.ยังไม่เข้าร่วมอีกก็คงเกิดปัญหาใหญ่ตามมาในเรื่องการแก้ปัญหาและอาจถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากนักวิชาการและประชาชนทั่วไปอีกด้วยทำให้เกิดศรัทธาด้านลบต่อพรรคพลังประชาชนในหมู่ผู้สนับสนุน

วิเคราะห์ข่าวโดย นายรวมเลิศ สุภานันท์ ตอนเรียน1 รหัสนศ.5131601165

ดวงเมืองในช่วงวันที่ 15 -21 ก.ย.2551

เหตุการณ์เกี่ยวกับเศรษฐกิจ การเมือง และเรื่องทั่วไป

เศรษฐกิจ จะยังมีข่าวในทางลบต่อภาวะเศรษฐกิจต่อไป ถึงแม้จะมีข่าวดี เช่น ราคาน้ำมันดิบโลกลดลง เป็นต้น แต่ข่าวการเมืองและภาวะเศรษฐกิจอเมริกาถดถอย ก็จะมีอิทธิพลดึงให้เศรษฐกิจโลก รวมถึงประเทศไทยชะลอตัวลดลง
ดังนั้น ตลาดหุ้นในบ้านเรา จะยังคงปรับตัวลดลงต่อไปจนถึง 29 ต.ค.2551 และก่อนที่จะถึงวันดังกล่าว อาจมีการปรับขึ้น แต่น้อย โดยเฉลี่ยแล้วปรับลดลง

การเมือง จะยังคงอึมครึมต่อไป จนถึงวันที่ 24 ก.ย.2551 และต่อจากนี้จะดีขึ้น แต่ก็ยังอยู่ในความวิตกกังวลของผู้คนในสังคมไทยอยู่บ้าง ในเรื่องกองทัพที่เข้าแทรกการเมือง

เรื่องทั่วไป ดาวเสาร์เกาะพยางค์พุธในเรือนปุตตะ จะยังคงมีความเสี่ยงเกี่ยวกับภัยธรรมชาติ ทั้งในส่วนของฝนแล้งและฝนตกมาก ทำให้น้ำท่วมไปพร้อมๆกับความแห้งแล้ง เพียงแต่ต่างสถานที่กัน

วิเคราะห์
โดยส่วนตัวแล้วผมคิดว่าดวงการเมืองแบบนี้สามารถคาดคะเนได้โดยไม่ต้องอาศัยหมอดูหรอกครับแต่ก็เป็นการคาดคะเนที่น่าจะลองอ่านดูนะครับ
ที่มา www.newswit.net/tag/ดวงเมือง/
โดย นายรวมเลิศ สุภานันท์ ตอนเรียน1 รหัสนักศึกษา5131601165

พันธมิตรฯ ปรับสมรภูมิ ยันไม่เสร็จศึกไม่กลับ


วันนี้ (15 ก.ย.) บรรยากาศการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ตั้งแต่ช่วงเข้ายังคงดำเนินไปอย่างปกติ มีแกนนำและแนวร่วมพันธมิตรฯ สลับกันขึ้นเวทีปราศรัย และการแสดงดนตรี ส่วนผู้ชุมนุมต่างแยกย้ายกันไปทำกิจวัตรประจำวันเช่นทุกเช้า และในช่วงสายพันธมิตรฯ ได้มีการปรับปรุงพื้นที่ด้านหน้าตึกไทยคู่ฟ้า โดยผู้ชุมนุมต่างช่วยกันยกพาเลตไม้ที่ใช้เป็นทางเดินและที่นั่งออก จากนั้นโรยปูนขาว เพื่อฆ่าเชื้อโรคเสร็จ แล้วนำรถกำจัดน้ำเสียมาดูดน้ำที่ท่วมขังออก จากนั้นได้นำทรายประมาณ 100 ถุง มาเทกลบดินโคลน พร้อมกับตั้งเต็นท์บังแดด บังฝน เตรียมรับมือขับไล่ตัวแทนนอมินี

ขณะที่ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง และ นายสมศักดิ์ โกศัยสุข แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ย้ำว่า ไม่ยอมรับ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และบุคคลจากพรรคพลังประชาชนเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ แม้ว่าพรรคประชาธิปัตย์จะเห็นด้วยก็ตาม เพราะเห็นว่า นายสมชาย มีความใกล้ชิดกับครอบครัวชินวัตร และจะเป็นยิ่งกว่าตัวแทน หรือนอมินี
วิเคราะห์
จากข่าวข้างต้นผมคาดคะเนได้ว่ากลุ่มพันธมิตรจะทำสงครามยืดเยื้อเพื่อทำให้สถานการณ์ยังคงเป็นแบบเดิมจนกว่าจะได้ผู้นำรัฐบาลที่เป็นที่ยอมรับได้ดังนั้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวคงจะได้รับผลกระทบต่อไปอีกยาวนานแน่นอนซึ่งอาจจะมีผลต่อไปในช่วงปีใหม่ด้วย
วิเคราะห์โดย นายรวมเลิศ สุภานันท์ 5131601165
ที่มาข่าว http://news.adintrend.com/?group=politics

วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2551

หาเสียงผู้ว่าฯ กทม. คึกคัก 'ประภัสร์' จ๊ะเอ๋ 'อภิรักษ์'

เราอ่านแต่ข่าวพันธมิตรฯ มาเยอะแล้ว วันนี้ ผู้เขียน นำข่าวเกี่ยวกับ การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. มาเสนอครับ

ผู้ สื่อข่าวรายงาน วันนี้ (14 ก.ย.) ถึงบรรยากาศการหาเสียงการเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานคร (กทม.) ที่กำหนดจัดการเลือกตั้งขึ้นในวันที่ 5 ต.ค.นี้ ว่า ผู้สมัครหลายคนได้ออกรณรงค์หาเสียงตลอดทั้งวัน อย่างไรก็ตาม ที่ย่านตลาดน้ำตลิ่งชัน นายเกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ผู้สมัครหมายเลข 2 ได้พบกับคณะหาเสียงของนายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ผู้สมัครหมายเลข 8 โดยบังเอิญ หลังจากนั้น ผู้สมัครทั้ง 2 คน ได้โอบกอดและอวยพรให้กันก่อนจะแยกย้ายกันหาเสียงต่อไป

ส่วนที่ย่าน ถ.พหลโยธิน ร.อ.เมตตา เต็มชำนาญ ผู้สมัครหมายเลข 3 ได้ออกหาเสียง โดย ร.อ.เมตตาว่า ออกหาเสียงมาตั้ง แต่วันที่ 1 ก. ย.ที่ผ่านมา แต่ไม่ค่อยมีสื่อมวลชนทราบจึงไม่เป็นข่าว อย่างไรก็ตาม ตนเห็นสภาพปัญหาของกรุงเทพฯ ในวันนี้ คือ ปัญหาน้ำท่วมจึงเสนอตัวว่า หากได้เข้ามาเป็นผู้ว่าฯ ปัญหาน้ำท่วม กทม. จะหมดไป เพราะจะใช้วิธีสนธิกำลังทุกหมู่เหล่า ทหาร ตำรวจและลูกเสือชาวบ้าน รวมทั้งจะไปขอความร่วมมือกรมราชทัณฑ์นำผู้ต้องขังที่ใกล้พ้นโทษมาช่วยกัน บรรเทาปัญหาน้ำท่วม

ผู้ สื่อข่าวรายงานต่อว่า ที่ย่านบางซื่อนายประภัสร์ จงสงวน ผู้สมัครหมายเลข 10 และครอบครัวได้เดินรณรงค์หาเสียงกับบรรดาพ่อค้าแม่ค้าบริเวณตลาดสดบางซ่อน หลังจากนั้น นายประภัสร์ได้ไปหาเสียงต่อที่ตลาดและชุมชนประชานิเวศน์ ทำให้พบกับคณะของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้สมัครหมายเลข 5 ที่กำลังรณรงค์หาเสียงเช่นเดียวกัน โดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) พรรคประชาธิปัตย์ในพื้นที่ดังกล่าว มาช่วยหาเสียง

ขอบขอบคุณหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ มากๆครับผม
โดย นางสาวเกษศิณี กรกนก ID5131601012
นางสาวกนกวรรณ คงไพศาล ID5131601219
นายชาญภิวัฒน์ คำมะโนชาติ ID5131601042

วันเสาร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2551

การปกครองประเทศต่างๆ

วันนี้ทางผู้เขียน จะนำการปกครองของประเทศต่างๆมาให้ท่านผู้ชบรับทราบกันนะครับ มีหลากหลายแนวนะครับ





เริ่มแรกที่ประเทศทางตะวันออกกลางเลยนะครับ คือ ประเทศอิหร่าน




สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน






ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ซึ่งประกาศใช้เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) และแก้ไขเพิ่มเติมเมื่อปี พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) กำหนดให้อิหร่านเป็นสาธารณรัฐอิสลาม โดยมีโครงสร้างดังนี้ครับ


ประมุขสูงสุด (Rahbar)


ประมุขสูงสุดของอิหร่านคนปัจจุบันคือ อาลี คาเมเนอี Ayatollah Seyed Ali Khamenei (เกิดเมื่อ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2482) เป็นผู้นำสูงสุดทั้งฝ่ายศาสนาจักรและอาณาจักร ได้รับเลือกโดยสภาผู้ชำนาญการ(Assembly of Expert ประกอบด้วยสมาชิก 360 คน ซึ่งได้รับเลือกโดยตรงจากประชาชนและจากนักบวชอาวุโสในศาสนาอิสลามทั่วประเทศ)

ประธานาธิบดี (Ra'is-e Jomhoor)
เป็นตำแหน่งที่ได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนทุก ๆ 4 ปี และจะได้รับเลือกตั้งได้ไม่เกิน 2 สมัย ทำหน้าที่หัวหน้าฝ่ายบริหาร ถึงแม้ประธานาธิบดีจะได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนก็ตาม แต่อาจถูกถอดถอนจากตำแหน่งโดยประมุขสูงสุดได้ นั่นก็คือ Rahbar สามารถถอดถอน ประธานาธิบดีได้ครับ


โดยประธานาธิบดี อิหร่านคนปัจจุบันก็คือ Mahmoud Ahmadinejad ครับ

รองประธานาธิบดี
มีตำแหน่งรองประธานาธิบดี 6 คน และคณะรัฐมนตรี 20 คน ที่ได้รับความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (Majlis)
ประกอบด้วยสมาชิกที่ได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนทุก ๆ 4 ปี จำนวน 290 คน ทำหน้าที่ออกกฎหมายและควบคุมฝ่ายบริหาร


เมื่อก่อนหน้าที่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของอิหร่านจะมี Upper House คล้ายๆ สว บ้านเราหล่ะครับ แต่เปลี่ยนใหม่เป็น สภาผู้พิทักษ์ (Guardian Council) ประกอบด้วยสมาชิก 12 คน โดยประมุข สูงสุดจะแต่งตั้งจากนักบวชผู้เชี่ยวชาญทางศาสนาอิสลาม 6 คน และจากสภา Majlis 6 คน สภานี้ทำหน้าที่กลั่นกรองและให้ความเห็นชอบร่างกฎหมายที่ผ่านสภา Majlis แล้ว รวมทั้งพิจารณาว่า กฎหมายฉบับใดขัดต่อรัฐธรรมนูญและ/หรือหลักศาสนาอิสลามหรือไม่ รวมทั้งมีอำนาจตรวจสอบคุณสมบัติและให้ความเห็นชอบผู้ที่จะสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีและสมาชิกสภา Majlis ด้วย


ส่วนในฝ่ายตุลาการก็จะมี สภาตุลาการสูงสุด (Supreme Judicial Council) ทำหน้าที่ฝ่ายตุลาการตัดสินคดีต่างๆครับ


การแบ่งเขตการปกครองของอิหร่าน ประเทศอิหร่านแบ่งออกเป็น 30 จังหวัด (provinces - ostanha) แต่ละจังหวัดปกครองโดยผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งมาจากการแต่งตั้ง (استاندار: ostāndār)


ก็ผ่านไปสำหรับเรื่องของการปกครองของอิหร่านนะครับซึ่งถือได้ว่า เป็นรัฐศาสนา ครับ



ประเทศต่อไปนะครับ คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นชาติมหาอำนาจชาติหนึ่งของโลกเลย






ชื่อประเทศ ชื่อเต็ม United States of America เรียกว่า สหรัฐอเมริกา
ชื่อย่อ United States เรียกว่า สหรัฐฯ อักษรย่อ US หรือ USA
ระบอบการปกครอง สหพันธรัฐ (Federal Republic); แบบประชาธิปไตย โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขและเป็นหัวหน้ารัฐบาล (Chief Executive) ภายใต้รัฐธรรมนูญ
เมืองหลวง กรุงวอชิงตัน (Washington,D.C.)
ประทศสหรัฐก็จะมีการแบ่งการปกครอง ประกอบด้วย 50 มลรัฐและ 1 District (District of Columbia ซึ่งเป็นที่ตั้งของ กรุงวอชิงตัน) ได้แก่ Alabama, Alaska (เป็นมลรัฐที่ใหญ่ที่สุด), Arizona, Arkansas, California, Colorado, Connecticut, Delaware, District of Columbia, Florida, Georgia, Hawaii, Idaho, Illinois, Indiana, Iowa, Kansas, Kentucky, Louisiana, Maine, Maryland, Massachusetts, Michigan, Minnesota, Mississippi, Missouri, Montana, Nebraska, Nevada, New Hamshire, New Jersey, New Mexico, New York, North Carolina, North Dakota, Ohio, Oklahoma, Oregon, Pennsylvania, Rhode Island (เป็นมลรัฐที่เล็กที่สุด), South Carolina, South Dakota, Tennessee, Texas, Utah, Vermont, Virginia, Washington, West Virginia, Wisconsin, Wyoming



เขตการปกครองอื่น ๆ American Samoa, Baker Island, Guam, Howland Island, Jarvis Island, John Atoll, Kingman Reef, Midway Islands, Navassa Island, Northern Mariana Islands, Palmyra Atoll, Puerto Rico, Virgin Islands, Wake Island


ระบบกฎหมาย อยู่บนรากฐานของกฎหมายจารีตประเพณีของอังกฤษ
สิทธิในการเลือกตั้ง อายุ 18 ปีขึ้นไป
ประมุขของประเทศ นาย George Walker Bush เป็นประธานาธิบดี คนที่ 43 และหัวหน้ารัฐบาล เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2548 สังกัดพรรครีพับริกัน และมีนาย Richard B. Cheney เป็นรองประธานาธิบดี
โครงสร้างทางการเมือง


สหรัฐฯ มีพรรคการเมืองใหญ่ 2 พรรค คือ พรรครีพับลิกัน (Republican) และพรรคเดโมเเครต (Democrat)
การปกครองแบบสหพันธรัฐ แบ่งแยกอำนาจออกเป็น 3 ฝ่าย ภายใต้บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ แต่ละฝ่ายได้รับเลือกในลักษณะที่แตกต่างกัน และมีการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน (checks and balances) ดังนี้
ฝ่ายบริหาร มีประธานาธิบดีเป็นประมุข ได้รับเลือกจากการเลือกตั้งทั่วไป ร่วมกับรองประธานาธิบดีทุก 4 ปี ในวันอังคารแรกของเดือนพฤศจิกายน ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งผ่านคณะผู้เลือกตั้ง ( Electoral College ) จำนวน 538 คน ดำรงตำแหน่งไม่เกิน 2 สมัย สมัยละ 4 ปี ประธานาธิบดีจะเป็นผู้ร่างรัฐบัญญัติต่อรัฐสภา และทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้ทำสนธิสัญญาต่างๆ ตลอดจนแต่งตั้งผู้พิพากษา เอกอัครราชทูตและตำแหน่งต่างๆของฝ่ายบริหารตั้งแต่ระดับรองผู้ช่วยรัฐมนตรี (Deputy Assistant Secretary) ขึ้นไป


ฝ่ายนิติบัญญัติ ประกอบด้วย 2 สภา คือ
วุฒิสภา มีสมาชิกจากแต่ละมลรัฐ มลรัฐละ 2 คน รวมเป็น 100 คน ดำรงตำแหน่งสมัยละ 6 ปี โดยสมาชิกจำนวน 1 ใน 3 ครบวาระทุก 2 ปี วุฒิสภามีอำนาจให้ความเห็นชอบหรือปฎิเสธบุคคลที่ประธานาธิบดีแต่งตั้ง รวมทั้งคณะรัฐมนตรี และให้สัตยาบันสนธิสัญญา รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ เป็นผู้ดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภาโดยตำแหน่ง (President of the Senate) คือนาย Richard B. Cheney หัวหน้าฝ่ายเสียงข้างมาก (Majority Leader)ในวุฒิสภา ได้แก่ นาย Bill First (R-Tennessee) หัวหน้าฝ่ายเสียงข้างน้อย (Minority Leader) ได้แก่ นาย Thomas A. Daschle (D-South Dakota)
สภาผู้แทนราษฎร มีสมาชิก 435 คน แบ่งตามสัดส่วนของประชากรในมลรัฐ คือ ประชากร 575,000 คน ต่อ สมาชิก 1 คน ดำรงตำแหน่งสมัยละ 2 ปี ประธานสภา (Speaker of the House) ได้แก่ นาย Dennis Hastert (R-Illinois) ผู้นำเสียงข้างมาก คือ นาย Tom DeLay (R-Texas) ส่วนผู้นำเสียงข้างน้อย คือ นาย Nancy Pelosi (D-California)

ฝ่ายตุลาการ ประกอบด้วย ศาลชั้นต้น (Circuit Court) ศาลอุทธรณ์ (Appeal Court)และศาลฎีกา (Supreme Court) ศาลฏีกามีอำนาจที่จะล้มเลิกกฎหมายใดๆและการปฏิบัติการของฝ่ายบริหารที่ได้วินิจฉัยแล้วว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ ในการแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลฎีกาซึ่งมีทั้งหมด 9 คนนั้น ประธานาธิบดีเป็นผู้เสนอชื่อและวุฒิสภาเป็นผู้ให้การรับรอง และดำรงตำแหน่งได้โดยไม่มีการกำหนดวาระ


นี่ก็เป็นข้อมูลคร่าวๆ ในการปกครองของประเทศสหรัฐเมริกา มหาอำนาจโลก ขั้วหนึ่งครับ



มาดูกันต่อที่ประเทศในเอชียของเราบ้างนะครับ ประเทศญี่ปุ่น นั่นเองครับ








รูปแบบการปกครองของประเทศญี่ปุ่นนะครับ ระบอบเสรีประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมีรัฐสภาเป็นสถาบันสูงสุดของรัฐ และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล นอกจากนี้ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้มีการบัญญัติไว้ว่าสมเด็จพระจักรพรรดิทรงเป็นสัญลักษณ์ของประเทศ มิใช่องค์ประมุขและไม่มีอำนาจในการบริหารประเทศ
รัฐธรรมนูญ ประกาศใช้เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2490 (ค.ศ. 1947) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
ประมุข สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ (His Majesty Emperor Akihito)
นายกรัฐมนตรี นายชินโซ อาเบะ (Shinzo Abe) (หัวหน้าพรรคเสรีประชาธิปไตย - LDP) เข้ารับตำแหน่งเมื่อ 26 กันยายน 2549 (ตอนนี้ได้ประกาศลาออกอย่างเป็นทางการแล้วนะครับ)ST@politicss
รมต. ต่างประเทศ นายทาโร อะโซ (Mr. Taro Aso) เข้ารับตำแหน่งเมื่อ 26 กันยายน 2549 (รับตำแหน่งรมต.
ต่างประเทศครั้งแรกเมื่อ 31 ตุลาคม 2548) คนที่เป็นที่คาดหมายว่าจะได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปครับ
รัฐสภา เรียกชื่อว่า “สภาไดเอท” ประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร (House of Representatives) ซึ่งมีสมาชิก 480 คน
มาจากการเลือกตั้งทั่วประเทศมีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี และวุฒิสภา (House of Councillors) ซึ่งมีสมาชิก 242 คน
มีวาระในการดำรงตำแหน่ง 6 ปี โดยเลือกตั้งจำนวนครึ่งหนึ่งสลับกันไปทุก 3 ปี
-ประธานสภาผู้แทนราษฎร (Speaker of the House of Representatives) นายโยเฮ โคโนะ (Yohei Kono)
- ประธานวุฒิสภา (President of the House of Councillors) นางจิคาเกะ โอกิ (Chikage Oogi)



การปกครองท้องถิ่น ญี่ปุ่นแบ่งเขตการปกครองท้องถิ่นออกเป็น 47 จังหวัด (Prefecture) ซึ่งรวมกรุงโตเกียว (Tokyo Metropolis) ด้วย การปกครองส่วนท้องถิ่นภายในจังหวัดแยกออกเป็น นคร เมือง และหมู่บ้าน ยกเว้นกรุงโตเกียวที่มีเขตการปกครอง เฉพาะในส่วนใจกลาง 23 เขต นอกเหนือไปจากเขตชานกรุง ซึ่งประกอบด้วย 27 นคร 5 เมือง และ 8 หมู่บ้าน รัฐบาลญี่ปุ่นได้พยายามกระจายอำนาจการปกครองไปสู่ท้องถิ่น โดยผู้ว่าราชการจังหวัด นายกเทศมนตรีของนครขนาดใหญ่ ของเมืองและของหมู่บ้านตลอดจนสมาชิกสภาส่วนท้องถิ่นทุกระดับมาจากการเลือกตั้ง
การเลือกตั้ง สภาผู้แทนราษฎรมีการเลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อ 11 กันยายน 2548 วุฒิสภามีการเลือกตั้งครั้งล่าสุด เมื่อ 11 กรกฎาคม 2547 โดยจะมีการเลือกตั้งครั้งต่อไปจำนวนครั้งหนึ่ง (141 คน) สมาชิกครึ่งหนึ่ง ในทุก 3 ปี เเละจะมีการเลือกตั้งใหม่ในช่วงกลางปี 2550


พรรคการเมือง พรรคการเมืองที่สำคัญ ได้แก่


พรรคเสรีประชาธิปไตย ( Liberal Democratic Party : LDP) เป็นพรรคแกนนำรัฐบาล มีที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร
294 ที่นั่ง (สตรี 26 คน) ในวุฒิสภา 111 ที่นั่ง (สตรี 12 คน) หัวหน้าพรรคคือนายชินโซ อาเบะ ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี


พรรคนิว โคเมโต (New Komeito) เป็นพรรคร่วมรัฐบาล มีที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร 31 ที่นั่ง (สตรี 4 คน) ในวุฒิสภา
24 ที่นั่ง (สตรี 5 คน) หัวหน้าพรรคคือนายฮากิฮิโร โอตะ (Akihiro Ota)


พรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่น (Democratic Party of Japan : DPJ : Minshuto) แกนนำฝ่ายค้าน มีที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร 113 ที่นั่ง (สตรี 10 คน) ในวุฒิสภา 82 ที่นั่ง (สตรี 11 คน) หัวหน้าพรรคคือนายอิจิโร โอซาวา (Ichiro Ozawa)


พรรคสังคมประชาธิปไตยญี่ปุ่น (Social Democratic Party of Japan : SDP) เป็นพรรคฝ่ายค้าน มีที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร 7 ที่นั่ง (สตรี 2 คน) ในวุฒิสภา 6 ที่นั่ง (สตรี 1 คน) หัวหน้าพรรคคือนางมิซูโฮะ ฟูคุชิมา (Mizuho Fukushima)


พรรคคอมมิวนิสต์ (Japan Communist Party - JCP) เป็นพรรคฝ่ายค้าน มีที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร 9 ที่นั่ง (สตรี
2 คน) ในวุฒิสภา 9 ที่นั่ง (สตรี 3 คน) หัวหน้าพรรคคือนายคาซึโอะ ชิอิ (Kazuo Shii)




สำหรับประเทศใกล้เคียงประเทศไทยอีกประเทศนึงก็คือ ประเทศจีน ครับ




การเมือง
(1) การเมืองการปกครอง
ในระบอบการปกครองของจีนพรรคคอมมิวนิสต์จะเป็นผู้กำหนดนโยบายทุกด้านให้รัฐบาลไปปฏิบัติ (รัฐบาลจึงไม่ใช่องค์กรกำหนดนโยบาย) โดยจีนมีนโยบายภายในที่สำคัญ ดังนี้
1.1 เน้นการปฏิรูปเศรษฐกิจและการเปิดประเทศเพื่อสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ และกำหนดเป้าหมายให้ GDP เพิ่มขึ้นอีก 4 เท่าตัว และทำให้จีนสร้างความกินดีอยู่ดี “เสี่ยวคาง” แก่คนจีนในระดับเดียวกับประเทศที่กำลังพัฒนาในระดับกลาง ภายในปี 2563 (ค.ศ. 2020) ในขณะเดียวกัน ก็ต้องแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำของระดับการพัฒนาระหว่างภาคตะวันออกกับภาคตะวันตก ซึ่งอาจนำมาซึ่งปัญหาการเมือง สังคม ความแตกแยกของชนชาติที่รุนแรง จึงได้กำหนดให้พัฒนาภาคตะวันตกไปในเวลาเดียวกันด้วย
1.2 จีนเน้นการปฏิรูปทางการเมืองอย่างค่อยเป็นค่อยไป ในขณะเดียวกัน เพื่อลดกระแสกดดันการเรียกร้องให้ปฏิรูปการเมือง ซึ่งพรรคคอมมิวนิสต์จีนประเมินแล้วว่าไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ในระยะ 10 ปีข้างหน้า นายเจียง เจ๋อหมิน อดีตประธานาธิบดีจีน จึงได้เสนอหลักการ 3 ตัวแทนขึ้นมาและบรรจุลงไปในธรรมนูญของพรรค หลักการ 3 ตัวแทน จะสามารถลดแรงกดดันของกลุ่มนายทุนใหม่และนักวิชาการเรื่องปฏิรูปการเมืองได้ โดยพรรคคอมมิวนิสต์เปิดกว้างให้คนเหล่านี้เข้าไปมีส่วนร่วมในพรรคและการบริหารประเทศได้ในระดับหนึ่ง ทั้งนี้ จีนได้เริ่มปล่อยให้การปกครองระดับท้องถิ่นในระดับตำบลและเมือง (อำเภอ) มีการเลือกตั้งโดยอิสระแล้วตั้งแต่ปี 2538
หลักการสามตัวแทน ได้กำหนดให้พรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นตัวแทนใน 3 ด้าน คือ
(1) ด้านการผลิต โดยดูแลการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
(2) ด้านวัฒนธรรม โดยดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมอันดีของจีน และนำวัฒนธรรมอื่นที่ดี
มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติ
(3) เปิดให้พรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นตัวแทนของประชาชนทุกชนชั้น
กล่าวคือ ได้เปิดให้กลุ่มนายทุนและนักธุรกิจ ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่
พรรคกำหนดเข้ามาเป็นสมาชิกพรรค และมีส่วนร่วมทางการเมืองเพิ่มขึ้น
ถือเป็นการเปลี่ยนภาพลักษณ์ของพรรคจากตัวแทนเชิงปฏิวัติ หรือตัวแทน
ของชนชั้นแรงงาน เป็นตัวแทนเชิงบริหาร หรือตัวแทนของประชาชนทุกชนชั้น
(2) พรรคคอมมิวนิสต์จีน
สาธารณรัฐประชาชนจีนปกครองในระบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์มีพรรคคอมมิวนิสต์จีนซึ่งมีสมาชิกประมาณ 68 ล้านคน (สถิติปี 2547) เป็นสถาบันทางการเมืองที่มีอำนาจในการกำหนดนโยบายด้านต่างๆ ของประเทศอย่างเบ็ดเสร็จตามแนวทางลัทธิมาร์กซ์-เลนิน ความคิดของอดีตประธานาธิบดีเหมา เจ๋อตง ทฤษฎีการสร้างสรรค์สังคมนิยมที่มีเอกลักษณ์แบบจีนของเติ้ง เสี่ยวผิง รวมถึงทฤษฎีสามตัวแทนที่ได้รับการบรรจุเข้าในธรรมนูญของรัฐเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2545 โดยรัฐบาลและรัฐสภามีหน้าที่คอยปฏิบัติตามมติและนโยบายที่พรรคกำหนดโดยยึดหลักประชาธิปไตยรวมศูนย์ (Democratic Centralism) ตามธรรมนูญพรรค กำหนดให้มีการประชุมสมัชชาพรรคแห่งชาติ (Party Congress) ทุก 5 ปี นับตั้งแต่ได้มีการจัดตั้งพรรคขึ้นในปี 2464 จนถึงปัจจุบัน พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้จัดให้มีการประชุมสมัชชาพรรคคอมมิวนิสต์แล้วรวมทั้งสิ้น 16 ครั้ง โดยได้จัดประชุมสมัชชาพรรคสมัยที่ 16 ไปเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2545 ซึ่งนายหู จิ่นเทา ได้รับเลือกให้เป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ คนปัจจุบัน (วาระ 5 ปี)
การเมืองภายในจีนยังคงมีเสถียรภาพภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์จีน เมื่อวันที่ 8-14พฤศจิกายน 2545 ได้มีการประชุมสมัชชาพรรคสมัยที่ 16 ซึ่งมีการถ่ายโอนอำนาจจากผู้นำรุ่นที่ 3 ซึ่งมีนายเจียง เจ๋อหมิน เป็นแกนนำ ไปยังรุ่นที่ 4 ซึ่งมีนายหู จิ่นเทา เป็นแกนนำ
ที่ประชุมได้แต่งตั้งนายหู จิ่นเทา เป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน สืบแทนนายเจียง เจ๋อหมิน พร้อมทั้งแต่งตั้งสมาชิกถาวรประจำกรมการเมือง (Members of Standing Committee of the Political Bureau of the Central Committee of CPC) อีก 8 คน ถือได้ว่าบุคคลทั้ง 9 คนนี้ เป็นผู้ที่มีความสำคัญทางการเมืองระดับสูงสุดของจีน
ระหว่างวันที่ 5-18 มีนาคม 2546 ได้มีการประชุมสภาประชาชนแห่งชาติสมัยที่ 10 ขึ้น ในการประชุมครั้งนี้ได้มีการสรุปผลการบริหารประเทศในช่วง 5 ปี พร้อมทั้งแต่งตั้งผู้นำรัฐบาลชุดใหม่ โดยได้แต่งตั้งให้ นายหู จิ่นเทา เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน เป็นประธานาธิบดี (สืบแทนนายเจียง เจ๋อหมิน) และนายเวิน เจียเป่า เป็นนายกรัฐมนตรี (สืบแทนนายจู หรงจี) ในขณะที่ นายเจียง เจ๋อหมิน ยังคงดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการทหารพรรคคอมมิวนิสต์จีนต่อไปอีกสมัย
ต่อมา ในการประชุมคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 4 ของสมัชชาพรรคสมัยที่ 6 ระหว่างวันที่ 16-19 กันยายน 2547 ได้อนุมัติให้นายหู จิ่นเทา ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการทหาร (สืบแทนนายเจียง เจ๋อหมิน) โดยจะมีผลเมื่อได้รับความเห็นชอบจากสภาประชาชนในเดือนมีนาคม 2548
ผู้นำจีน
สมัชชาพรรคสมัยที่ 16 ได้คัดเลือกบุคคลเป็นสมาชิกกรมการเมืองจำนวน 25 คน (เพิ่มจากเดิม 3 คน) และสมาชิกกรมการเมือง 25 คนนี้ ได้เลือกตั้งสมาชิกถาวรประจำกรมการเมือง (Standing Committee of the Political Bureau of the Central Committee) จำนวน 9 คน (เพิ่มขึ้นจากเดิม 2 คน) เรียงตามลำดับอาวุโส ได้แก่
(1) นายหู จิ่นเทา (Hu Jintao)
(2) นายอู๋ ปางกั๋ว (Wu Bangguo)
(3) นายเวิน เจียเป่า (Wen Jiabao)
(4) นายเจี่ย ชิ่งหลิน (Jia Qinglin)
(5) นายเจิง ชิ่งหง (Zeng Qinghong)
(6) นายหวง จวี๋ (Huang Ju)
(7) นายอู๋ กวานเจิ้ง (Wu Guanzheng)
(8) นายหลี่ ฉางชุน (Li Changchun)
(9) นายหลัว ก้าน (Luo Gan)


นี่ก็เป็นข้อมูลคร่าวสำหรับประเทศที่พัฒนาขึ้นเป็นมหาอำนาจโลก คู่คี่กับ ประเทศมหาอำนาจอื่นๆ ครับ



ประเทศสุดท้ายในคราวนี้ ก็ไม่ใช่ใครที่ไหนหล่ะครับ บ้านเราเอง ครับ ประเทศไทย

รูปแบบการปกครอง: ปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข
พระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบัน: พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร(พระนามเดิมพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช)

การเมืองการปกครอง
เดิมประเทศไทยมีการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จนกระทั่งวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 คณะราษฎรไ ด้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปัจจุบันประเทศไทยปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยแบ่งอำนาจเป็นสามฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายตุลาการ โดยฝ่ายบริหารจะมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาลซึ่งมากจากการแต่งตั้ง ฝ่ายนิติบัญญัติ ได้แก่ สภานิติบัญญัติแห่งชาติซึ่งมาจากการแต่งตั้ง และฝ่ายตุลาการ คือ ศาลยุติธรรม ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลปกครองซึ่งมาจากการปฏิรูปทางเมืองจึงเกิดศาลปกครองและศาลรัฐธรรมนูญ
เมืองหลวง: กรุงเทพมหานคร (Bangkok)


และเขตการปกครอง 76 จังหวัด ปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา


รัฐธรรมนูญ 18 ฉบับ


ระบบกฎหมาย: อิงระบบกฎหมายแพ่ง ซึ่งได้รับอิทธิพลจากฎหมายจารีตประเพณีของอังกฤษ;
ได้รับสิทธิในการเลือกตั้ง: อายุ 18 ปี; ให้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง แก่พลเมืองทั้งมวล
ฝ่ายบริหาร:

ผู้นำรัฐบาล: นายกรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรี , คณะรัฐมนตรี (Council of Ministers) หมายเหตุ: มีคณะมนตรีที่ปรึกษา (Privy Council) ด้วยเช่นกัน การเลือกตั้ง: ไม่มี, การสืบสันตติวงศ์; นายกรัฐมนตรีได้รับการแต่งตั้งจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร; หลังจากการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรเรียบร้อยแล้ว, หัวหน้าพรรคที่สามารถจัดตั้งรัฐบาลผสมได้มักจะได้เป็นนายกรัฐมนตรี
ฝ่ายนิติบัญญัติ: bicameral National Assembly หรือรัฐสภา ประกอบด้วยวุฒิสภา 150 คน สภาผู้แทนราษฏร 480 คน
ฝ่ายตุลาการ: ศาลฎีกา (ผู้พิพากษาแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์)



และนี่ก็เป็นรูปแบบการปกครองของชาติต่างๆ ที่ทางเรานำมาจัดให้ท่านผู้ชมได้ทราบกันพอสังเขปนะครับ สำหรับท่านผู้ชมคนใดที่ต้องการทราบข้อมูลประเทศอื่นก็สามารถ ส่งคำขอมาได้ที่ บล็อกของเรานะครับ หรือทาง E-mail : Titanic_duty@hotmail.com ครับ


ที่มาของภาพ จาก Google

บทความ ข้อมูล Wikipedia http://www.apecthai.org
Post By
Mr.Nuttachai Nalampang ID 5131601061
Section 1

ทุกอย่างเข้าแผนของพรรคอำมาตยธิปัตย์หมด หนอนที่เขาปล่อยไปฝังตัวตามกลุ่มผู้สนับสนุนทักษิณแต่ละกลุ่มเริ่มแตกแยกกันเอง

พอดีผมเข้าไปเจอบทความบทความนึง ที่น่าคิดนะครับ เลยนำมาให้ท่านผู้ชมดู พอดีแวะเข้าเวปพันทิพย์มาเลยหยิบยกมาฝาก


บทความมีอยู่ว่า

ทุกอย่างเข้าแผนของพรรคอำมาตยธิปัตย์หมด หนอนที่เขาปล่อยไปฝังตัวตามกลุ่มผู้สนับสนุนทักษิณแต่ละกลุ่มเริ่มแตกแยกกันเอง

"มีการปล่อยข่าวลวงข่าวหลอกกันให้มั่วไปหมด สถานีวิทยุออนไลน์ที่สนับสนุทักษิณที่มีหลายเว็บ(แตกกันตั้งแต่ต้นแล้ว)ให้ข้อมูลข่าวสารต่างกัน สับสนกันไปหมด ไม่รู้ข้อมูลข่าวสารไหนจริงไหนเท็จกองเชียร์ที่สนับสนุนทักษิณเริ่มสับสนท้อแท้ เริ่มหันปากมาด่ากันเอง บางเว็บมีการปล่อยข่าวลวงเรื่องหักหลังทักษิณให้คน พปช.ด่ากันเองสุดท้ายพรรค พปช.คงต้องแตกสลาย และทักษิณก็คงต้องเคว้งคว้างอยู่ต่างประเทศไปอีกนานแสนนานพรรคอำมาตยาธิปัตย์ก็จะได้ครองอำนาจรับใช้อำมาตย์อย่างเต็มตัวต่อไปนานเท่านานหนอนที่ฝ่ายอำมาตยาธิปัตย์ปล่อยมาครั้งนี้ทำงานเข้าเป้าได้อย่างดี หลังจากที่ก่อนหน้านี้มีการปล่อยหนอน 2 ตัว(เท่าที่ปรากฏทางสื่อ)
หนอนอย่างเตมูจิน ไทกรที่ปล่อยมานั้นทำงานผิดพลาดไม่ได้ผลเท่าที่ควรผู้ที่สนับสนุนทักษิณจะปล่อยให้ทุกอย่างเสื่อมสลายลงไปๆๆๆอย่างน่าเสียใจอย่างนั้นหรือ?
จะมานั่งชี้หน้าโทษกันเองกันไปกันมาอย่างนี้หรือ?
ไม่น่าจะเป็นทางออกที่ถูกต้องนะครับผมว่ามันไม่ได้ประโยชน์อะไรนะครับ อย่าไปหลงเชื่อหนอนทั้งหลายที่ออกมาก่อการชี้นำก่อน ขอให้หนักแน่นกันเข้าไว้ครับ อย่าให้หนอนหลอก "

อ่านข้อความจากต้นฉบับได้ที่ http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P6995954/P6995954.html

ท่านผู้ชมคิดอย่างไรกับบทความที่ทางเรายกประเด็นมานะครับ ลองมาตีความหาความหมายร่วมกันได้นะครับ

Post by

Mr.Nuttachai Nalampang ID 5131601061 Section 1


อดีต สสร.ตอกหน้า “สามเกลอ” แจงการสอนหนังสือของ “จรัญ” ไม่ผิด รธน.

นายเสรี สุวรรณภานนท์
อดีต สสร. 50 “เสรี สุวรรณภานนท์” แจงข้อกฎหมาย ตอกหน้า “สามเกลอ” ชี้ การสอนหนังสือ ถือเป็นการบริการทางวิชาการ ไม่ใช่การดำเนินธุรกิจเพื่อหวังผลกำไร ดังนั้นการเอากรณีสอนหนังสือของ “จรัญ ภักดีธนากุล” ไปเปรียบเทียบกับ การเป็นพิธีกรรายการของ “หมัก” จึงทำไม่ได้
หลังจากรายการความจริงวันนี้ ทางสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที ที่ดำเนินรายการโดยนายวีระ มุสิกพงษ์ อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ร่วมด้วยนายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วนพรรคพลังประชาชน และ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รองโฆษกสำนักนายกรัฐมนตรี โดยผู้ดำเนินรายการทั้ง 3ได้ตั้งข้อสงสัยว่านายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ อาจมีคุณสมบัติขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 207 และ 209 เนื่องจากไปดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์พิเศษ รับจ้างสอนหนังสือในมหาวิทยาลัยทั้งของรัฐและเอกชน
รวมถึงยังเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทั้งในมหาวิทยาลัยรัฐและเอกชนหลายแห่ง ซึ่งน่าจะมีลักษณะต้องห้ามคล้ายกับกรณีของนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ถูกวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่ง กรณีไปรับจ้างเป็นผู้ดำเนินรายการชิมไปบ่นไปนั้น
วันนี้ (13 ก.ย.) นายเสรี สุวรรณภานนท์ อดีตรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) 50 กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า แม้ทั้ง 2 กรณีจะมีลักษณะคล้ายคลึงกัน แต่ในข้อเท็จจริงแล้วแตกต่างกัน เพราะเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญระบุให้เห็นได้ว่า การสอนหนังสือ ถือเป็นเสรีภาพทางวิชาการ ซึ่งรัฐธรรมนูญมาตรา 50 ให้การรับรองไว้ว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพทางวิชาการ การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ ดังนั้นการสอนหนังสือดังกล่าวจึงเป็นลักษณะ ของอาจารย์พิเศษ ไม่ใช่ลูกจ้าง
ผู้สื่อข่าวถามว่ารัฐธรรมนูญจะครอบคลุมไปถึงการเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเอกชน ที่มีจุดมุ่งหมายทางธุรกิจด้วยหรือไม่ นายเสรี กล่าวว่า ถึงแม้จะเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแต่ก็เป็นสิทธิเสรีภาพทางวิชาการเช่นเดียวกัน ทั้งนี้เพราะการทำหน้าที่สอนหนังสือไม่ได้มีเป้าหมายจะทำเป็นธุรกิจมุ่งหาผลกำไร
วิเคราะห์
ดูเหมือนว่าทางพรรคพวกของท่านผู้มีจมูกอันงดงามและพรรคพวกของอดีตท่านผู้นำจะใช้คดีนี้ในการโจมตีกลับ(counter-strike)ตุลาการศาลแต่ดูเหมือนว่าจะยังหาเหตุผลไม่หนักแน่นพอ
ขอขอบคุณแหล่งข่าวจากhttp://news.adintrend.com/?group=politics
โดย นายรวมเลิศ สุภานันท์ 5131601165

ท่านคิดยังไรกับการเมืองในปัจจุบันนี้

ป้ายกำกับ