เชียร์ 51

ข่าวเด็ด

วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ลาออก-ยุบสภาหรือปฎิวัติ?




จากสถานการณ์การเคลื่อนพลเข้าไปในทำเนียบรัฐบาลของ "กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย" ตลอดจนเหตุการณ์การล้อมปราบ ปรามและจับกลุ่มประชาชนที่อยู่บริเวณสะพานมัฆวานและทำเนียบรัฐบาล โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทำให้หลายฝ่ายเป็นกังวลว่าทางรัฐบาลจะใช้ " เครื่องมือของนิติรัฐ" ที่มีอยู่หลายอย่างไม่ว่าจะป็นกฎอัยการศึก หรือพรบ.ความมั่นคงฯ แต่ทางรัฐบาลก็ยังไม่ประกาศออกมาใช้ ซึ่งก็เรื่องดีส่วนวีธีทางในการคลี่คลายปัญหานั้นต้องใช้ "ขันติวิธี " คือต้องอดทนทั้งสองฝ่าย เพราะว่าประชาชนจะไม่ยอมรับถ้าเกิดเหตุการณ์รุนแรง ไม่ ว่าฝ่ายใดก็ตามที่มีการใช้ความรุนแรง ประชาชนส่วนใหญ่จะไม่ยอมรับเด็ดขาด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่มีการบุกเข้ายึดในสถานทีโทรทัศน์ เอ็นบีที ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์กันมาก หรือจะเป็นกรณี ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไปติดหมายศาลภายในทำเนียบแล้วมีการปะทะกับผู้ชุมนุม หรือการปะทะ กันที่หน้าหน้าสนามม้านางเลิ้ง ซึ่งมีการใช้กำลังในการสลายผู้ชุมนุม ทำให้ประชาชนไม่ยอมรับอีกทั้งการปล่อยให้ตำรวจบริหารความขัดแย้งเองเป็นเรื่องที่ไม่สมควร เพราะตำรวจเป็น "นักปฎิบัติ" หรือเป็นผู้ปฎิบัติงานตามคำสั่ง ถ้าไป ปล่อยให้ตำรวจเป็นผู้บริหาร เข้าไปจัดการในสถาการณ์มันก็เหมือนตำรวจถูกลอยแพ ทำให้บางครั้งอาจเกิดการตัดสินใจที่ไม่เหมาะสมได้เมื่อมองดูสถากาณร์แล้วข้อเรียกร้องของ กลุ่มพันธมิตร" ที่ให้ "นายกสมัคร สุนทรเวช" ลาออกนั้นเป็นไปได้ยากลำบากอย่างยิ่ง เพราะนายก สมัครมาจากการเลือกตั้ง ในขณะนี้เดียวจะให้ กลุ่มพันธมิตร" หยุดก็คงยากเช่นกันปัญหาคือทำอย่างไร ให้เปลี่ยนจาการ "เผชิญเดิน" มาเป็น "การเดินหน้า" เดินหน้า ในความหมายว่ามีความคืบหน้าในการเจราจากัน ดังนั้นทางรัฐบาลต้องไม่เปลี่ยนแปลงอะไร หรือเคลื่อนไหวอะไร ด้วยการบุก ยึด ปะทะ อะไรทั้งสิ้น คงต้องรอปล่อยให้คลื่นลมสงบลงบ้างเสียก่อน แล้วถึงค่อยมาเจราจากล่าวถึงตัว "นายกสมัคร" นั้นเป็นคนที่มีประสบการณ์ทางการเมืองสูง เพื่อคงความอยู่รอดของตนเอง และความอยู่รอดของบ้านเมืองแล้ว นายสมัครก็อาจจะต้องตัดสินใจ ซึ่งไม่ใช่ความอยากหรือไม่อยาก แต่เป็นความจำเป็น เพราะขณะนี้ "ความกดดัน" ก็ทวีหรือขยายขึ้นทุกขณะ สถานการณ์ก็ยังไม่น่าไว้วางใจ นายกสมัครคงต้องตัดสินใจบทบาทททางการเมืองอย่างแน่นอน ซึ่งในทางการเมืองแล้ว ในลักษณะแบบนี้ ผู้ นำก็อาจจะมีทางเลือกอยู่ไม่มากนัก โดยลาออก หรือไม่ก็ยุบสภา หรืออีกกรณีคือถูกบังคับในต้องออกด้วยการถูก "ปฎิวัติรัฐประหาร" ซึ่งแน่ นอนว่าสังคมไม่ต้องการ และไม่อยากเห็นการเกิดรัฐประหารอีกแน่นอน!




ท่านผู้ชมหล่ะครับคิดอย่างไรบ้าง ควรจะทำอย่างไรต่อไป หรือ มีความเห็นอื่นต่างจากบทความนี้หรือไม่อย่างไร

หนทางใด ?


โดย "ดร.ปณิธาน วัฒนายากร " รัฐศาสตร์จุฬาฯ






Post by Nuttachai Nalampang ID 5131601061


2 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

สันติภาพเกิดได้ในใจคน
อย่าแบ่งแยกตัวตนสมานฉันท์
ทุกผิวเผ่าเป็นคนเหมือนๆ กัน
อย่าฟาดฟันทำล้างกันอีกเลย

ถอยออกมาคนละก้าว แล้วมองไปยังจุดที่เป็นปัญหาเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหา อย่าใช้กำลัง อย่าปล่อยให้ปัญหามันไปไกลกว่านี้ ไกลจนเกินที่จะกลับมาร่วมแก้ไขด้วยปัญญาได้ เพราะเมื่อใช้กำลัง แน่นอนย่อมต้องสูญเสียกันทั้งสองฝ่าย

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ลาออกครับ เหตุการณ์จะได้ทุเลาลง หากเลือกตั้งคราหน้าอีกทีก็คงจะเกิด ความไร้กังวลถ้าไม่ใช่พลังประชาชนที่เป็นรัฐบาล


ท่านคิดยังไรกับการเมืองในปัจจุบันนี้

ป้ายกำกับ